8 มี.ค. 2563 นายมนตรี วิบูลยรัตน์ ที่ปรึกษาด้านข้อมูลธรรมาภิบาล สำนักวิจัยซูเปอร์โพล ร่วมกับนายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง รัฐร่วมราษฎร์ข้ามปัญหาโควิด-19 กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,129 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่าง 5 - 7 มีนาคม พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 89.3 ติดตามข่าวไวรัสโควิด-19 มากถึงมากที่สุด ในขณะที่ร้อยละ 7.1 ติดตามระดับปานกลาง และร้อยละ 3.6 ติดตามข่าวน้อยถึงไม่ติดตามเลย
ที่น่าพิจารณาคือ เมื่อถามถึงเรื่องที่กังวลเกี่ยวกับกลุ่มคนที่ติดเชื้อและกลุ่มเสี่ยงสูง เช่น กลุ่มผีน้อย กลุ่มคนเดินทางจากประเทศเสี่ยงสูง พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 75.2 กังวลผู้ติดเชื้อ ผู้ที่มาจากประเทศเสี่ยงสูงขาดความรับผิดชอบต่อสังคม ร้อยละ 67.9 กังวลผลกระทบต่อสุขภาพและสาธารณสุข ร้อยละ 64.3 กังวลผู้ติดเชื้อปกปิดความจริง ร้อยละ 63.2 กังวลผลกระทบ ธุรกิจ ท่องเที่ยว ร้อยละ 46.4 กังวลธุรกิจขาดทุน คนตกงาน ร้อยละ 44.5 กังวลคนเกิดความกลัวต่อกัน ร้อยละ 42.6 กังวลเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศแย่ลง ร้อยละ 38.9 กังวลคนเกิดความเครียด ปัญหาสุขภาพจิต ร้อยละ 27.9 กังวลคนเกิดความเกลียดต่อกัน และร้อยละ 21.4 กังวลต้องปิดสถานศึกษา ทำให้เรียนไม่ทัน
ที่น่าสนใจคือ เมื่อถามถึง ความเหมาะสมของมาตรการ รัฐร่วมราษฎร์ ข้ามปัญหาโควิด-19 พบว่า อันดับแรก ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 96.4 ระบุ เหมาะสมที่ บริษัท ซีพีฯ ผลิตหน้ากากอนามัยแจกประชาชน เมื่อสถานการณ์ดีขึ้นมอบโรงงานให้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ รองลงมาคือ ร้อยละ 95.3 ระบุ เหมาะสม ต่อมาตรการเอาผิดทั้งจำคุก และ ปรับ ผู้กักตุนหน้ากากอนามัย ร้อยละ 91.7 ระบุ เหมาะสม ต่อ ถ้ามีมาตรการ กักตัวผู้มาจากประเทศแพร่ระบาดสูงจาก 14 วัน เป็น 27 วัน ร้อยละ 90.9 ระบุ เหมาะสม ถ้ามีมาตรการหยุดออกวีซ่า ใบอนุญาตเข้าประเทศ กลุ่มคนมาจากประเทศแพร่ระบาดสูง
นอกจากนี้ ร้อยละ 89.3 ระบุ เหมาะสม ต่อมาตรการ 7-11 ส่งข้าวให้กับผู้ป่วยติดเชื้อที่กักตัวไว้ ร้อยละ 87.5 ระบุ เหมาะสม ถ้ามีมาตรการ อนุญาตให้ลูกจ้างทำงานออนไลน์ ลดความเสี่ยง สำหรับงานที่ไม่ใช้แรงงาน ร้อยละ 85.7 ระบุ เหมาะสม ต่อมาตรการ ผู้ติดเชื้อฝ่าฝืน ปกปิดความจริง ทั้งจำทั้งปรับ ร้อยละ 84.2 ระบุ เหมาะสม ถ้ามีมาตรการ สถานพยาบาล ผู้ประกอบการธุรกิจ โรงแรม รีสอร์ต หอพัก ต้องแจ้งผู้ติดเชื้อ หรือ ผู้สงสัยต่อทางการ ฝ่าฝืนต้องโทษทั้งจำทั้งปรับ อย่างไรก็ตาม ที่น่าห่วงคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 71.2 ระบุ ไม่เหมาะสม ต่อมาตรการรัฐบาลแจกเงินประชาชน 2,000 บาท ช่วงโควิด-19
ที่น่าสนใจคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 57.2 ระบุน่ายกย่องเชิดชูระดับ มาก ถึง มากที่สุดต่อ กลุ่มนักลงทุนที่ออกมาแบ่งปัน สร้างโรงงานแจกหน้ากากอนามัยให้ประชาชนในยามวิกฤตโรคระบาดไวรัสโควิด-19 ร้อยละ 32.1 ระบุน่ายกย่องเชิดชูระดับ ปานกลาง และร้อยละ 10.7 ระบุน่ายกย่องเชิดชูระดับน้อย ถึง ไม่น่ายกย่องเชิดชูอะไร
นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 82.1 ระบุว่า เป็นความจริง ต่อคำกล่าวที่ว่า กรุงศรีอยุธยา ไม่สิ้นคนดี เมื่อประเทศและประชาชนเผชิญหน้าปัญหาวิกฤต จะมีคนกลุ่มหนึ่งออกมาช่วยเหลือกัน ในขณะที่ร้อยละ 17.9 ระบุไม่เป็นความจริง
ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวว่า ผลโพลชิ้นนี้ชี้ให้เห็นว่า ฐานสนับสนุนจากภาคประชาชนของรัฐบาลกำลังเปราะบางโดยคนที่เคยหนุนก็ถอดใจถอยห่างรัฐบาลไปจำนวนมาก จะเห็นได้เช่นกันว่า ขนาดมาตรการแจกเงินนั้น คนส่วนใหญ่ยังยิ้ไม่เอาด้วย ส่วนคนที่เห็นด้วยก็ระวังจะเป็นกลุ่มคนที่ตีหัวเข้าบ้านมาเอาเงินแล้วออกไปไม่ได้อยู่สนับสนุนทำประโยชน์อะไรให้รัฐบาล เพราะในช่วงแรก ๆ ของการก่อตัวตั้งรัฐบาล คนหนุนด้วยใจจริงเขาไม่หวังอะไรแต่ต้องการทำเพื่อชาติบ้านเมือง ผู้นำรัฐบาลเสียเพื่อนแท้ไปเพราะถูกห้อมล้อมด้วยกลุ่มคนที่มาทีหลังเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้องของพวกเขา
“น่าสงสารนายกรัฐมนตรีและผู้ใหญ่ที่อาจจะถูกฝ่ายการเมืองทิ้งได้ในภายหลังเช่นกัน เพราะทำอะไรไปก็จะถูกยี้ถูกส่ายหัวไปเสียหมดปราศจากข้อมูลที่ดี ดังนั้นถ้าจะออกมาตรการใด ๆ ต้องมีข้อมูลตอบโจทย์ตรงเป้าความต้องการของประชาชนที่ดีก่อน จึงเสนอให้รัฐบาลปฏิรูประบบข้อมูลให้มี 3 องค์ประกอบสำคัญ ดังนี้ 1) แม่นยำ (Accuracy) 2) ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย (Coverage) และ 3) ถูกเวลา (Timing) รวมตัวหน้าของสามองค์ประกอบเหล่านี้เรียกว่า ACT เพื่อเรียกกลุ่มเพื่อนแท้และประชาชนคนเคยหนุนกลับคืนมา” นายนพดล กรรณิกา กล่าว
นายมนตรี วิบูลยรัตน์ ที่ปรึกษาด้านข้อมูลธรรมาภิบาล กล่าวว่า จากการสำรวจครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่า การบริหารจัดการข้อมูล (Data Management) เป็นหัวใจสำคัญของข้อมูลธรรมาภิบาลที่ต้องการข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน เป็นปัจจุบัน มั่นคงปลอดภัย เชื่อมโยงกันได้อย่างมีประสิทธิภาพส่งผลทำให้เกิดการตัดสินใจที่ดีมีคนสนับสนุนจนทำให้ภารกิจต่าง ๆ บรรลุเป้าหมายได้สำเร็จอย่างมีประสิทธิผล เพราะจากผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ภาครัฐกับภาคเอกชนน่าจะยังคงมีช่องว่างระหว่างกันเพราะภาครัฐออกมาตรการออกมาแต่เผชิญแรงเสียดทานไม่ได้รับการสนับสนุน ในขณะที่ ภาคเอกชนออกมาตรการที่ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนเกือบทั้งประเทศ น่าจะเพราะมีข้อมูลที่โดนใจตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนมากกว่า
“ดังนั้น ผลจากการสำรวจครั้งนี้รัฐบาลน่าจะเน้นมาตรการทางกฎหมายเพื่อควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของ Covid-19 เพราะความรับผิดชอบต่อสังคมของผีน้อยบางท่านยังไม่มีแต่จะมีคำว่า “รู้เท่าไม่ถึงการณ์” ที่สังคมคงไม่อยากได้ยินคำนี้ เพราะผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อสังคมอาจทำให้เกิดปัญหาวิกฤตเกินที่จะควบคุมสถานการณ์ได้” รศ.ดร.มนตรี กล่าว
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |