ศาลอังกฤษชี้ เจ้าผู้ครองรัฐดูไบสั่งลักพาพระธิดา-ขู่อดีตพระชายา


เพิ่มเพื่อน    

คำตัดสินของศาลอังกฤษที่เผยแพร่เมื่อวันพฤหัสบดีระบุว่า เชค โมฮัมเหม็ด บิน ราชิด อัล-มักตูม เจ้าผู้ครองนครดูไบ ทรงเป็นผู้สั่งการให้ลักพาตัวพระธิดา 2 พระองค์และดำเนินแผนข่มขู่เจ้าหญิงฮายา อดีตพระชายาที่หลบหนีมาอังกฤษพร้อมกับพระโอรสและพระธิดา

แฟ้มภาพ เชค โมฮัมเหม็ด บิน ราชิด อัล-มักตูม และเจ้าหญิงฮายา ขณะเสด็จร่วมเทศกาลเอฟซัมดาร์บีในอังกฤษ เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2560

    รายงานของสำนักข่าวเอเอฟพีเมื่อวันศุกร์ที่ 6 มีนาคม 2563 กล่าวว่า คำตัดสินของผู้พิพากษาแอนดรูว์ แม็กฟาร์เลน ในคดีที่พิจารณาตั้งแต่เดือนธันวาคมปีที่แล้ว ได้รับการเปิดเผยต่อสาธารณะตามคำพิพากษาของศาลฎีกาที่ปฏิเสธคำร้องอุทธรณ์ให้ยับยั้งการเผยแพร่เมื่อเช้าวันพฤหัสบดี

    เจ้าหญิงฮายา บินต์ อัล ฮุสเซน พระชันษา 45 ปี ทรงหลบหนีออกจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) เมื่อเดือนเมษายน 2562 ด้วยความหวาดกลัวพระสวามี ซึ่งทรงดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีแห่งยูเออีด้วย ไม่นานหลังจากนั้น เจ้าผู้ครองรัฐดูไบซึ่งมีพระชนมายุ 70 พรรษา ทรงยื่นคำร้องต่อศาลขอให้พาตัวเจ้าชายซายิด พระชันษา 8 ปี และเจ้าหญิงจาลิลา พระชันษา 12 ปี พระโอรสและพระธิดาของพระองค์ กลับดูไบ ขณะที่เจ้าหญิงฮายาก็ทรงยื่นคำร้องต่อศาลขอให้คุ้มครองพระโอรสพระธิดาและตัวพระองค์เอง ซึ่งกังวลความปลอดภัย ท่ามกลางข้อสงสัยว่าเจ้าหญิงคบชู้กับองครักษ์ชาวอังกฤษ

    ระหว่างการไต่สวนคดี ซึ่งเชคโมฮัมเหม็ดไม่ได้ทรงเข้าร่วมด้วยแม้แต่ครั้งเดียว เจ้าหญิงฮายาทรงกล่าวหาอดีตพระสวามีหลายเรื่อง และขอให้ศาลค้นหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการลักพาตัวและการกักขังหน่วงเหนี่ยวพระธิดาวัยผู้ใหญ่ 2 พระองค์ของเชคโมฮัมหมัดกับอดีตพระชายาองค์หนึ่ง

    ในคำตัดสินค้นหาข้อเท็จจริง ผู้พิพากษาแม็กฟาร์เลนลงความเห็นว่า เชคโมฮัมเหม็ดทรงเป็นผู้บัญชาให้ลักพาตัวเจ้าหญิงชัมซาจากเมืองเคมบริดจ์ประเทศอังกฤษเมื่อเดือนสิงหาคม 2543 ขณะนั้นเจ้าหญิงมีพระชันษา 19 ปี แล้วพากลับดูไบ ที่นั่นเจ้าหญิงถูกพรากเสรีภาพเกือบตลอดเวลา 20 ปีที่ผ่านมา

    เชคโมฮัมเหม็ดยังมีพระบัญชาให้ลักพาตัวเจ้าหญิงลาติฟา พระขนิษฐาพระชันษา 35 ปี ของเจ้าหญิงชัมซา เพื่อพากลับดูไบ ถึง 2 ครั้ง ในปี 2545 และปี 2561 ภายหลังความพยายามหลบหนีครั้งแรก เจ้าหญิงลาติฟาทรงถูกควบคุมตัวไว้ตามพระบัญชาของพระบิดาเป็นเวลานานกว่า 3 ปี ต่อมาเจ้าหญิงทรงพยายามหลบหนีอีกครั้งโดยทางเรือเมื่อเดือนมีนาคม 2561 แต่คราวนี้เป็นข่าวดังไปทั่วโลก เมื่อทรงถูกจับได้นอกชายฝั่งอินเดีย

    ชาร์ลส์ กีกคี ทนายความของเจ้าหญิงฮายา เคยกล่าวไว้ระหว่างการไต่สวนเมื่อเดือนพฤศจิกายนว่า ลูกความของเขาได้รับโน้ตไม่ทราบที่มา ข่มขู่เอาชีวิตพระโอรสและพระธิดา นอกจากนี้เจ้าหญิงยังเผชิญการข่มขู่โดยตรง รวมถึงเหตุการณ์ที่มีเฮลิคอปเตอร์ลำหนึ่งมาจอดด้านนอกพระตำหนัก โดยนักบินเฮลิคอปเตอร์บอกว่าเขามารับผู้โดยสารไปขังคุกในทะเลทราย

    เชื่อกันว่า เจ้าหญิงฮายา ซึ่งเป็นพระราชธิดาของกษัตริย์ฮุสเซนแห่งจอร์แดนที่สวรรคตไปแล้ว และเป็นพระขนิษฐาต่างพระมารดาของกษัตริย์จอร์แดนองค์ปัจจุบัน เป็นพระชายาองค์ที่ 6 ของเชคโมฮัมเหม็ด เชคทรงหย่าจากเจ้าหญิงในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2562 ซึ่งตรงกับวันครบรอบ 20 ปีการสวรรคตของกษัตริย์ฮุสเซน ผู้พิพากษาแม็กฟาร์เลนกล่าวว่าการตัดสินเลือกวันดังกล่าวเป็นความจงใจทำร้ายจิตใจเจ้าหญิง

    ด้านเชคโมฮัมเหม็ด ซึ่งทรงปฏิเสธคำกล่าวหา ทรงออกแถลงการณ์ว่า ด้วยตำแหน่งหน้าที่ประมุขของพระองค์ทำให้ไม่สามารถมาขึ้นศาลได้ กระบวนการนี้เป็นการฟังความข้างเดียว และการขอให้ศาลปกปิดคำตัดสินก็เพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัวของพระโอรสและพระธิดาจากสื่อ.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"