แน่นอนแล้วว่า การบำบัดดูแลผู้คนติดเหล้านอกระบบสุขภาพโดยใช้กระบวนการเชิงพุทธขับเคลื่อนโดยพระสงฆ์ผู้นำชุมชนและบุคลากรสุขภาพ นัดมาปฏิบัติธรรมและบำเพ็ญประโยชน์กันในวัดไปเยี่ยมเยือนที่บ้าน ไม่ใช่ในโรงพยาบาลหรือโรงพยาบาลจิตเวชประสบผลสำเร็จทำให้เซียนเหล้าที่ร่วมโครงการสามารถเลิกดื่มได้ในหลายพื้นที่ เหตุนี้สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ร่วมกับภาคีเครือข่ายถอดบทเรียนเจ๋งๆของการดำเนินงานในพื้นที่ผ่านรูปแบบ“สามเหลื่อมชุมชนขยับขับเคลื่อนงานลดเลิกสุรา” ในพื้นที่ชุมชนต้นแบบต.ปอพานอ.นาเชือกจ.มหาสารคามภายใต้โครงการขับเคลื่อนการบำบัดดูแลผู้มีปัญหาการดื่มสุราโดยกระบวนการเชิงพุทธรวมถึงกิจกรรมให้กำลังใจผู้ที่กำลังเผชิญปัญหาการติดสุราที่เดอะฮอล์กรุงเทพฯเมื่อวันก่อน
รุ่งอรุณ ลิ้มฬหะภัณ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก(สสส.) กล่าวว่าไทยมีผู้ที่ติดสุราจำนวน2.7 ล้านคน มีเพียง168,729 คนที่เข้าถึงระบบสุขภาพหรือ6% เท่านั้นแสดงถึงช่องว่างการเข้าถึงบริการสูงมาก ทั้งยังพบว่าหลายคนที่มีปัญหาการดื่มสุราไม่อยากเขาสถานบำบัดเพราะมีชีวิตและหน้าที่การงานโครงการนี้ของสสส. เกิดขึ้นปี2562 เพื่อให้ผู้มีปัญหาการดื่มสุราในชุมชนมีทางเลือกในการลดละเลิกพฤติกรรมดื่มเน้นขับเคลื่อนการบำบัดดูแลผู้มีปัญหาดื่มสุราโดยกระบวนการเชิงพุทธและเพื่อศึกษากลไกการบูรณาการรูปแบบการบำบัดดูแลผู้มีปัญหาการดื่มสุรา โดยกระบวนการเชิงพุทธสู่การบำบัดดูแลผู้มีปัญหาการดื่มสุราในระบบสุขภาพและนอกระบบสุขภาพจะไม่ทิ้งองค์ความรู้ด้านสุขภาพเพราะไม่สามารถหักดิบได้ในกรณีเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง
สำหรับการทำงานนำร่องใน25 ชุมชน25 วัดในภาคเหนือและภาคอีสาน รุ่งอรุณบอกว่าค้นพบผู้มีปัญหาจากการดื่มสุรา411 คนสมัครใจเข้าร่วมโครงการ298 คน เมื่อผ่านกระบวนการต่างๆสามารถเลิกดื่มได้53 คนหรือร้อยละ17.8 และลดระดับการดื่ม227 คนหรือร้อยละ76.2 นับเป็นความสำเร็จที่เป็นรูปธรรมชัดเจนจากการทำงานที่จริงจัง โดยมีสามแกนหลักสำคัญประกอบด้วยพระสงฆ์ผู้นำศาสนา ,บุคลากรทางสุขภาพในพื้นที่รพ.สต. และอสม., ผู้นำชุมชนและชาวบ้านในพื้นที่ ทั้งสามฝ่ายวางเป้าหมายร่วมกันที่ตัวผู้ดื่มซึ่งมีปัญหา ให้เกิดการปรับเปลี่ยนทั้งภายนอกและภายใน จนลดละ และเลิกได้ในที่สุด
“ หลังจากดำเนินโครงการชุมชนเป็นกำลังสำคัญดึงคนที่มีปัญหาสุรากลับมาเป็นคนใหม่กลายเป็นผู้นำต้นแบบเลิกเหล้าขึ้นเป็นวิทยากรให้กำลังใจนำมาสู่การขยายผลในปีที่สองทำงานร่วมกับชุมชนอื่นที่มีปัญหาที่สนใจ จะขยายพื้นที่ต่อเนื่อง แนวทางนี้จะช่วยเหลือผู้มีปัญหาสุราโดยสมัครเดินเข้าหาชุมชนส่วนการเข้ารับบริการของระบบสุขภาพเป็นรองลงมาสำหรับคนติดหนักจริงๆ เวทีนี้ถอดบทเรียนพร้อมวางแผนก้าวต่อไปสสส. พร้อมสนับสนุนการทำงานของเครือข่ายพระคณะทำงานด้านสุขภาพแกนนำชุมชนผู้ที่กำลังก้าวผ่านปัญหาสุราเกิดรูปธรรมการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน นี่เป็นเพียงจุดเริ่มจุดเล็กๆแต่เข้มแข็ง เราเชื่อมั่นว่าทุกคนสามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองในทางที่ดีกว่าได้ด้วยการเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” รุ่งอรุณกล่าว
ภาพรวมการดำเนินงานที่สำคัญ รักชนกจินดาคำ ผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวว่า ในชุมชนเกิดกลไหคณะทำงาน3 ฝ่ายที่เข้มแข็งมีทักษะดูแลผู้มีปัญหาดื่มสุราและสามารถเคลื่อนงานให้เกิดใน2 ภูมิภาคจำนวน25 พื้นที่ได้แก่ภาคเหนือ10 วัดใน6 จังหวัด8 อำเภอภาคอีสาน15 วัดใน7 จังหวัด12 อำเภอนำทักษะความรู้ไปดำเนินการค่ายธรรมยาใจ7 วัน6 คืนติดตาม3 เดือน6 เดือนปัจจุบันมี13 พื้นที่สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ของโครงการสำหรับนวัตกรรมเชิงกระบวนการมีการติดตามกลุ่มเป้าหมายหลายรูปแบบเช่นรพ.สต.บูรณาการเข้ากับคลนิกความดันเบาหวานผู้นำชุมชนอสม. ลงเยี่ยมบ้านส่วนพระจะนัดมาปฏิบัติธรรมวันพระคุณค่าของงานผู้มีปัญหาสุราจากโดนดูถูกเป็นคนขี้เหล้า โดนเมินเฉยก็ภาคภูมิใจได้ร่วมกิจกรรมที่วัดมีคุณค่าช่วยทำความสะอาดวัดติดตามพระบิณฑบาต เป็นพื้นที่ของโอกาสได้ห่างไกลสภาพแวดล้อมเดิมได้สงบอยู่กับตนเอง
พลังการเปลี่ยนแปลงเห็นชัดเจนผ่านพื้นที่ดำเนินต้นแบบต.ปอพานอ.นาเชือกจ.มหาสารคามดวงใจ สอนเสนาพยาบาลปฏิบัติการบุคลากรสุขภาพจากรพ.สต.ปอพาน กล่าวว่าก่อนหน้านี้ชุมชนมีการจัดกิจกรรมรณรงค์ประชาคมงดเหล้าอยู่แล้วเนื่องจากในพื้นที่มีปัญหาการดื่มสุราส่งผลเสียชัดเจนไม่เพียงเรื่องสุขภาพอุบัติเหตุเมาแล้วขับความรุนแรงในครอบครัวยังมีเรื่องหนี้สินจากการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายการดื่มสุรา เฉลี่ย1.3 แสนบาทต่อคนเห็นภาพชัดเจนสุราก่อปัญหา เมื่อมีโครงการฯเข้ามาปี62 ก็ร่วมอบรมหลักสูตรดังกล่าว ทำให้รู้ว่าคนติดสุราสามารถเลิกได้เองไม่จำเป็นต้องบำบัดขอแค่เข้มแข็งอดทนเอาชนะใจตัวเองให้ได้เพราะโปรแกรมธรรมยาใจในวัดใช้หลักธรรมไม่ใช้ยาปฏิชีวนะโครงการนี้สำเร็จมีจุดแข็งเพราะชุมชนผู้นำพระสงฆ์มีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน ลดละเลิกการดื่ม หากทุกคนร่วมแรงร่วมใจช่วยกันสร้างการมีส่วนร่วมเอาชนะภัยน้ำเมา เริ่มจาก1 คนแล้วต่อยอด
ด้านพระอธิการสุชาติ เดชดี เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัยปอพาน จ.มหาสารคามกล่าวว่าคนในชุมชนดื่มเหล้าหนักมากหลายคนติดเหล้าและไม่มีคนช่วยทางวัดร่วมโครงการขับเคลื่อนการบำบัดดูแลผู้มีปัญหาการดื่มสุราโดยใช้กระบวนการทางพุทธศาสนาสร้างพลังการเปลี่ยนแปลงเริ่มจากอสม.คัดกรองมีผู้ที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 12 คนนุ่งขาวห่มขาวปฏิบัติธรรมในวัด 7 วันมีกิจกรรมให้ทำอาทิสวดมนต์ไหว้พระเดินบิณฑบาตตอนเช้าอบรมฟังธรรมทำจิตใจให้ว่าง ให้ธรรมะ รู้คิด รู้ทำ รวมถึงถ่ายทอดประสบการณ์ร่วมหาแนวทางลดละเลิกซึ่งเลิกเหล้าได้5 รายส่วนอีก 7 รายลดการดื่มได้ แม้จบค่ายก็มาวัดทุกวัน เพราะใจเขาอยู่ที่วัด ไม่คิดเรื่องเหล้า การใช้วิถีพุทธเป็นแนวทางปรับเปลี่ยนพฤติกรรมครอบครัวให้กำลังใจชุมชนวัดได้ใกล้ชิดกันมากขึ้นจากนี้วัดจะขยายผลส่งต่อไปยังชุมชนอื่นให้ครอบคลุมทั้งตำบลเพื่อช่วยสร้างภูมิคุ้มกันปกป้องคนในชุมชนไม่ให้ตกเป็นทาสสุรา
อดีตเซียนเหล้ายืนยันธรรมะยาใจบำบัดได้ อะรันเปรมปรี อายุ50 ปีกล่าวว่า ใช้ชีวิตในวงเหล้าตั้งแต่อายุ17 ปีมาทำงานที่กรุงเทพฯเป็นเด็กชงเหล้าที่เหลือจากแก้วก็นำมาดื่มเองพอแต่งงานย้ายไปอยู่กินกับภรรยาที่บุรีรัมย์มีลูก2คนในหมู่บ้านเป็นชาวเขมรนิยมดื่มเหล้าขาวทุกคนในครอบครัวดื่มวันละ1ขวดใหญ่ต่อคนแต่ถ้ามีงานเลี้ยงจะดื่มมากกว่านั้นทำอาชีพกรีดยางพาราช่วงกรีดยางพกมาดื่มเลิกงานก็ดื่มใช้ชีวิตอยู่แบบนี้เกิดอุบัติเหตุจากเมา ถูกไล่ออกจากงานเพราะดื่มเหล้าครอบครัวลำบากที่นาเงินหมดไปลงขวดเหล้าปี2555 ภรรยาตาย ตนย้ายมาอยู่บ้านเกิดตำบลปอพานแต่งงานใหม่ก็ยังมีดื่มเหล้ามีหนี้สินมากขึ้น
จุดเปลี่ยนที่ร่วมโปรแกรมธรรมยาใจอะรันบอกว่า ด้วยปัญหาสุขภาพและครอบครัวร่วมโครงการ1-3 วันแรกหงุดหงิดมือสั่นคิดจะปีนกำแพงวัดหนีพระอาจารย์ก็สอนธรรมะสอนการใช้ชีวิตและเห็นเพื่อนที่มีปัญหาสุรายังอยู่เราต้องทำได้ก็เน้นปฏิบัติธรรมกำลังใจเริ่มมาทำให้รู้สึกมีคุณค่า เวลาออกบิณฑบาตตอนเช้ากับพระยิ่งรู้สึกดีมีคนยอมรับคนมาให้กำลังใจพอออกจากค่าย7 วันกลับมาบ้านก็ไม่กลับไปแตะเหล้าอีกเลย นั่งในวงเหล้าก็ยับยั้งใจได้รักภรรยาญาติทุกคนดีใจที่เราเลิกเหล้าได้สำเร็จชีวิตดีขึ้นปลดหนี้4 หมื่นได้แถมมีเงินเก็บ
แกนนำชุมชนมีส่วนสำคัญทิ้งท้ายที่อภิลักษณ์ภูวงค์กำนันตำบลปอพาน กล่าวว่าก่อนหน้านี้จัดงานบุญงานประเพณีปลอดเหล้าประสบความสำเร็จเมื่อได้รับชวนร่วมโครงการบำบัดผู้มีปัญหาสุราโดยใช้หลักธรรมก็ตอบรับและร่วมอบรมก่อนถ่ายทอดแนวคิดในพื้นที่นำคนติดสุราและกลุ่มเสี่ยงเข้ากระบวนการ พระอาจารย์ให้แนวทางให้ชวนชาวบ้านที่ปฏิบัติธรรมญาติครอบครัวมาร่วมโปรแกรมด้วย จะได้เป็นพลังให้คนติดสุราต่อสู้ หลักการใช้หลักป่าล้อมเมืองน้ำดีไล่น้ำเสีย มีพี่เลี้ยงเราเรียกว่าพ่อขาวแม่ขาวให้กำลังใจทำให้ผ่อนคลายคนติดสุราไม่ได้ออกไปเจอสภาพแวดล้อมที่มีปัจจัยเสี่ยงคนที่ชวนดื่มสุราก็เข้ามาไม่ถึง อีกทั้งฝึกอบรมสร้างอาชีพ ผลสำเร็จมีคนเลิกดื่มคนที่เคยดื่มยันสว่างพฤติกรรมเปลี่ยนไปดีขึ้นโครงการนี้แสดงว่าสังคมต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกัน