27 มี.ค.61- พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมร่วมระหว่างคระรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) และ คณะรัฐมนตรี (ครม.) กรณี มาตรการการป้องกันและปราบการทุจริตและประพฤติมิชอบในระบบราชการ ว่า ปัจจุบันมีข้อมูลข่าวสาร ระบุว่า รัฐบาลนี้มีการทุจริตและประพฤติมิชอบเป็นจำนวนมาก ซึ่ง ขอชี้แจงว่า การทุจริตประพฤติมิชอบนั้นมีมาเป็นเวลานาน โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทั้งองค์กรมหาชน รัฐวิสาหกิจ ข้าราชการ ทหาร พลเรือน ซึ่งไม่ว่ารัฐบาลจะเปลี่ยนไปอย่างไร เหล่าข้าราชการเหล่านี้ยังคงปฏิบัติหน้าที่อยู่ ส่งผลให้การทุจริตยังคงมีอยู่ เพียงแต่รัฐบาลชุดนี้มีความจริงจังในการปราบปราม จึงทำให้เกิดการดำเนินคดีเป็นจำนวนมาก ซึ่งพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคสช.ได้ฝากคำขอบคุณไปยังพี่น้องประชาชน ที่ช่วยกันแจ้งเบาะแสจนทำให้เรื่องบางเรื่องเข้าสู่กระบวนการสืบสวนสอบสวนหาตัวผู้กระทำผิด
โฆษกรัฐบาลกล่าวว่า คสช.ได้เสนอ แนวทางมาตรการการป้องกันและปราบการทุจริตและประพฤติมิชอบในระบบราชการ ตามอำนาจของคสช.ที่ปรากฎในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน แก่รัฐบาล ซึ่งครม.มีมติเห็นชอบ โดยมีรายละเอียด คือ ที่ผ่านมา เมื่อมีการร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ หรือมีข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการทุจริตประพฤติมิชอบ ขอให้หน่วยงานราชการโดยเฉพาะหัวหน้าหน่วยงานนั้นๆ เริ่มต้นการตรวจสอบโดยทันที โดยกำหนดเวลา ให้เริ่มต้นการตรวจสอบภายใน 7 วันนับแต่ได้รับข้อมูล และดำเนินการตรวจสอบให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน
หากพบข้อมูลเบื้องต้นที่ทำให้พอเชื่อได้ว่ามีการทุจริตเกิดขึ้น ให้หัวหน้าหน่วยงานราชการดังกล่าวพิจารณาการดำเนินการ ปรับย้ายข้าราชการที่เกี่ยวข้องไปดำรงตำแหน่งอื่นเป็นการชั่วคราว หากเป็นเรื่องที่ไม่ร้ายแรงอาจหมุนเวียนอยู่ในกระทรวงเดิม แต่หากเป็นเรื่องที่มีความร้ายแรง หรือหากยังอยู่ในกระทรวงเดิม อาจส่งผลต่อพยานหลักฐาน ให้ปรับย้ายออกจากกระทรวงเดิมไปหน่วยงานอื่น อาทิ สำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งปัจจุบัน มีการเปิดตำแหน่งรองรับตำแหน่งข้าราชการระดับสูง 100 ตำแหน่ง เช่นเดียวกับพนักงานในรัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรมหาชน จำนวน 50 ตำแหน่ง
และหากการตรวจสอบข้อเท็จจริง พบว่ามีกำลังพลในการดำเนินการไม่เพียงพอ ให้สามารถร้องขอมาที่สำนักปลัด สำนักนายกรัฐมนตรีได้ โดยสำนักปลัด จะส่งข้าราชการที่มีระดับสูงกว่าข้าราชการที่มีพฤติการณ์ดังกล่าว และหากตรวจสอบแล้วพบว่ามีหลักฐานชัดเจนจนสามารถชี้มูลความผิดได้ ให้หัวหน้าส่วนราชการนั้น ดำเนินการทางวินัยทันที โดยไม่ต้องรอผลคดีอาญา แต่อย่างใด และหากมีข้อมูลที่สามารถส่งให้ ศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ(ศอตช.) สามารถรับไปดำเนินการทางคดีอาญาได้ ขอให้ดำเนินการโดยทันที
“หัวหน้าส่วนราชการนั้นๆ ต้องให้ความสำคัญในการดำเนินการกรณีนี้อย่างเต็มที่ ทั้งการสอบสวนข้อเท็จจริง การลงโทษทางวินัย การติดต่อขอเจ้าหน้าที่จากสำนักปลัด สำนักนายกรัฐมนตรีไปช่วย หากมีจำนวนเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ โดยไม่ให้เกิดความชะงักชักช้าโดยเด็ดขาด หากพบว่ามีความผิดทางวินัยร้ายแรงหรือ ทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ แต่ไม่ถึงขั้นปลดออก หรือไล่ออก ให้หน่วยงานต้นสังกัดปรับย้ายไปอยู่ตำแหน่งอื่น และห้ามปรับย้ายกลับไปดำรงตำแหน่งเดิม หรือตำแหน่งสูงกว่าเดิมในระยะเวลา 3 ปี เพื่อป้องกันมิให้กลับมาคิดบัญชีแค้น กับพยาน ซึ่งต้องได้รับมาตรการการคุ้มครอง แต่ต้องมีการพิจารณาให้ถี่ถ้วนว่า มีความเหมาะสมที่จะได้รับการคุ้มครองให้เป็นพยานหรือไม่ เนื่องจากบางกรณี พยานเองอาจมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดด้วย แต่หากพบว่าพยานคนใดมีความจงใจให้ข้อมูลบิดเบือน จนทำให้ผู้อื่นได้รับผลกระทบ ต้องถูกพิจารณาการลงโทษอย่างเด็ดขาดเช่นกัน เพื่อเป็นมาตรการที่ทำให้เกิดความเข็ดหลาบ ว่าการเจริญเติบโตในตำแหน่งข้าราชการ ต้องแลกมาด้วยการตั้งใจทำงานอย่างสุจริต โปร่งใส” โฆษกประจำสำนักนากยรัฐมนตรีกล่าว.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |