นอกจากเรื่องของดิจิทัลที่สร้างความท้าทายต่อการดำเนินธุรกิจให้กับผู้ประกอบการหลายรายแล้ว ดูเหมือนว่าในปีนี้สภาพเศรษฐกิจจะคงยิ่งกว่าคำว่าชะลอตัว บ้างก็ว่าปีนี้แหละเผาจริงแน่ๆ บ้างก็ว่าเผาจริงมาหลายปีจนไม่รู้จะว่ายังไงแล้ว ตอนนี้มีสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ที่มาซ้ำฉุดกำลังซื้อ หากมีหลายปัจจัยให้ต้องคิดหนักขนาดนี้ แล้วธุรกิจของผู้ประกอบการจะต้องรับมืออย่างไร โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจครอบครัวขนาดเล็ก ที่คงต้องเน้นบริหารต้นทุนให้ดี เพื่อลดความเสี่ยงจากการต้องปิดกิจการ
นิพันธ์ ศรีสุขุมบวรชัย หัวหน้ากลุ่มลูกค้าธุรกิจครอบครัว และหุ้นส่วนสายงานภาษีและกฎหมาย บริษัท PwC ประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบันธุรกิจครอบครัวไทยกำลังเผชิญกับความท้าทายจากการที่เศรษฐกิจไทยเข้าสู่ภาวะชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้สร้างความน่าเป็นห่วงให้กับหลายฝ่าย และมองว่ามีความเป็นไปได้ที่ทั้งเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกจะยังคงอยู่ในสภาวะเช่นนี้ไปอีกพักใหญ่ เพราะได้รับผลกระทบจากปัจจัยลบหลายด้าน
โดยในส่วนของไทย ปัญหาภัยแล้งที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ความล่าช้าในการเบิกจ่ายงบประมาณ รวมทั้งการระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ส่งผลให้เกิดภาวะชะงักงันของห่วงโซ่อุปทานและการผลิตในบางกลุ่มอุตสาหกรรม รวมถึงการบริโภคภายในประเทศที่ลดลงตามกำลังซื้อที่หดตัวจากการขาดรายได้จากแรงงานในภาคการขนส่งและท่องเที่ยว เกษตรกรที่มีรายได้ลดลงจากปัญหาภัยแล้ง และกลุ่มผู้ใช้แรงงานในภาคอุตสาหรรมที่ได้รับผลกระทบจากการที่โรงงานหรือภาคการผลิตทยอยปิดตัวชั่วคราวและถาวร ซึ่งทั้งหมดถือเป็นปัจจัยที่กดดันการเติบโตอยู่ในเวลานี้
ประเมินว่าภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวนี้อาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจครอบครัว ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อย หรือเอสเอ็มอี รวมไปถึงบริษัทขนาดเล็กที่มีเงินทุนหมุนเวียนไม่สูง โดยมองว่าหากสถานการณ์ไม่ดีขึ้นภายใน 2-3 เดือนนี้ อาจเห็นธุรกิจขนาดเล็กเริ่มปิดกิจการ ต้องตั้งรับกับสถานการณ์ให้ดี โดยลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นเพื่อประคับประคองธุรกิจให้รอดพ้นจากความเสี่ยงที่กำลังเผชิญ
ส่วนความท้าทายอันดับที่ 1 ของธุรกิจครอบครัวในสายตาผู้นำรุ่นใหม่ในปีนี้ คือ การเข้ามาของดิจิทัลที่จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ (Digital disruption) ในอนาคต เห็นได้จากรายงานผลสำรวจ NextGen Survey 2019 ระบุว่าการเปลี่ยนองค์กรไปสู่ดิจิทัล เป็นกลยุทธ์สำคัญภายใต้การบริหารของผู้นำธุรกิจครอบครัวรุ่นใหม่ เพื่อพลิกโฉมให้กิจการสามารถก้าวทันกระแสการเปลี่ยนแปลง และสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
นอกจากนี้ 79% ของผู้นำธุรกิจครอบครัวรุ่นใหม่ของไทยยังกล่าวด้วยว่า การเปลี่ยนองค์กรไปสู่ดิจิทัลจะช่วยให้พวกเขาสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจครอบครัว และช่วยให้กิจการสามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งการเปลี่ยนผ่านองค์กรไปสู่ดิจิทัลไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับธุรกิจในยุคนี้ แต่วิธีการที่จะทำให้การเปลี่ยนผ่านเป็นไปอย่างราบรื่นและประสบความสำเร็จต่างหากคือความท้าทายใหม่ที่ธุรกิจครอบครัวของไทยหลายรายยังค้นหาหนทางไม่พบ
แน่นอนว่าผู้บริหารรุ่นใหม่มีความต้องการที่จะเปลี่ยนผ่านองค์กรของตนไปสู่ดิจิทัลอย่างจริงจัง เพราะส่วนใหญ่เติบโตมากับเทคโนโลยีและมีความคุ้นเคยกับการใช้นวัตกรรมต่างๆ เป็นอย่างดี แต่ในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวแบบนี้ ธุรกิจครอบครัวต้องจัดลำดับความสำคัญ รวมทั้งหาสมดุลระหว่างการขยายการเติบโตของกิจการและจัดการกับความท้าทายเพื่อนำพาธุรกิจให้สามารถฝ่าวิกฤติต่างๆ ไปได้อย่างราบรื่นด้วย
แม้สภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวแบบนี้อาจจะไม่เอื้ออำนวยต่อการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัล แต่ทว่าผลลัพธ์ของการนิ่งเฉย จะยิ่งส่งผลเสียหายเป็นมูลค่ามหาศาล เพราะในที่สุดทุกองค์กรไม่เฉพาะธุรกิจครอบครัว จำเป็นที่จะให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เพราะเป็นผลดีกับองค์กรในระยะยาว.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |