คร.จับมือคณะแพทย์ จุฬาฯ นำ AI มาใช้ตรวจคัดกรองเฉพาะโรควัณโรค บนรถเอกซเรย์เคลื่อนที่


เพิ่มเพื่อน    

 


5 มี.ค.63- ที่ Theater room ชั้น 1 หอสมุดคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานกล่าวเปิดงาน และร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง ด้านการศึกษาวิจัยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ช่วยแปลผลภาพรังสีทรวงอกเพื่อวินิจฉัยวัณโรคแห่งแรกของประเทศไทย ระหว่าง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี จุฬาฯ ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และ พญ.ผลิน กมลวัทน์ ผู้อำนวยการกองวัณโรค ร่วมลงนามความร่วมมือ 

 นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า วัณโรคยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขระดับประเทศและนานาชาติ การดำเนินงานเพื่อการลดปัญหาวัณโรคที่สำคัญ คือการเร่งรัดค้นหาผู้ติดเชื้อวัณโรคและผู้ป่วยวัณโรคเพื่อนำเข้าสู่กระบวนการรักษา ซึ่งจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ตลอดจนการนำนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย สะดวก รวดเร็ว นั้นคือ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) ที่จะมาช่วยแปลผล CXR เบื้องต้น ได้อย่างรวดเร็วให้คนไข้ได้เข้าสู่กระบวนการการรักษาและลดการแพร่กระจายเชื้อสู่ชุมชน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กับคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้จับมือกันบันทึกข้อตกลงพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ AI ขึ้นเป็นแห่งแรกที่ใช้ตรวจคัดกรองเพื่อวินิจฉัยโรควัณโรคโดยเฉพาะ บนรถ Digital Mobile X-ray ให้สัมฤทธิ์ผลและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนกลุ่มเป้าหมาย เพื่อยุติวัณโรคและวัณโรคดื้อยาของประเทศไทยต่อไป

 พญ.ผลิน กมลวัทน์ ผู้อำนวยการกองวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวด้วยว่ากรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข มุ่งมั่นขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สู่เป้าหมาย การยุติวัณโรค โดยเร่งรัดการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการระดับชาติด้านการต่อต้านวัณโรค พ.ศ.2560 - 2564 หนึ่งในยุทธศาสตร์ที่สำคัญ คือ กำหนดให้มีการเร่งรัดค้นหาผู้ติดเชื้อวัณโรคและผู้ป่วยวัณโรคให้ครอบคลุมโดย การคัดกรองในกลุ่มเสี่ยงเพื่อลดการแพร่เชื้อวัณโรค กรมควบคุมโรค จึงจำเป็นต้องค้นหาผู้ป่วยวัณโรคให้เข้าสู่กระบวนการรักษาโดยเร็วที่สุด ซึ่งการตรวจวินิจฉัยต้องอาศัยการถ่ายภาพรังสีทรวงอกเป็นหลัก เพราะมีความไวสูง แต่ต้องใช้ระยะเวลาการรอคอยผลทำให้การรักษาที่ล่าช้า การนำเอาเครื่องเอกซเรย์ระบบดิจิตอลบวกกับโปรแกรมปัญญาประดิษฐ์ AI ไว้บนรถเอกซเรย์เคลื่อนที่ จะช่วยตรวจคัดกรองเพื่อวินิจฉัยวัณโรคเบื้องต้น จะสามารถลดปัญหาและเข้าสู่กระบวนการรักษาวัณโรคได้เร็วขึ้น 

            การบันทึกข้อตกลงนี้ จะนำมาสู่ความร่วมมือศึกษาวิจัยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ช่วยแปลผลภาพรังสีทรวงอก เพื่อตรวจคัดกรองวัณโรคเบื้องต้น ระหว่าง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กับ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์  มหาวิทยาลัย เพื่อมุ่งหวังให้ผู้ป่วยวัณโรคเข้าถึงระบบการรักษาได้รวดเร็ว ลดการแพร่ กระจายเชื้อวัณโรคสู่ชุมชน เกิดการบูรณาการร่วมกันในการสร้างระบบสุขภาพด้านป้องกันควบคุมวัณโรค และเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการลดขนาดปัญหาวัณโรคจากระดับพื้นที่สู่ระดับประเทศ อันจะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายยุติปัญหาวัณโรคต่อไป

            ทางด้าน ผศ.ดร.นพ.กฤษณ์ พงศ์พิรุฬห์ หัวหน้าโครงการ และอาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวถึงความเป็นมาของโครงการศึกษา วิจัยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เพื่อช่วยคัดกรองวัณโรคในเชิงสาธารณสุขว่า ในปัจจุบันปัญญาประดิษฐ์ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง แต่สำหรับวัณโรค ซึ่งจัดเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับคนหมู่มากในเชิงสาธารณสุข จึงต้องใช้ความรอบคอบเป็นอย่างมากเพื่อให้การใช้ปัญญาประดิษฐ์เกิดประโยชน์ที่พึงประสงค์อย่างแท้จริง นอกจากนี้ วัณโรคมีลักษณะพิเศษในแง่ของการวินิจฉัยที่ต้องใช้ข้อมูลจากหลายแหล่งมาประมวลผลพร้อมกัน ได้แก่ ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะทั่วไปของผู้ป่วย อาการและอาการแสดง ภาพรังสีปอด ผลการอ่านภาพรังสีทรวงอก ผลการย้อมเชื้อจากสิ่งส่งตรวจ ผลการเพาะเชื้อ และผลการตรวจทางพันธุกรรมของเชื้อ แต่ข้อมูลเหล่านี้ ยังมีอยู่กระจัดกระจาย ไม่ครบถ้วน ไม่ถูกต้อง หรือไม่น่าเชื่อถือ แม้ในปัจจุบันมีความพยายามในการใช้ปัญญาประดิษฐ์เพื่อช่วยแปลผลภาพรังสีทรวงอก แต่ก็ยังไม่เฉพาะเจาะจงกับวัณโรค อีกทั้งไม่ได้ร่วมกับผลการเพาะเชื้อ และผลการตรวจทางพันธุกรรมของเชื้อ

            จึงเป็นที่มาของโครงการศึกษา วิจัยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์แบบ Deep learning เพื่อช่วยคัดกรองวัณโรคในเชิงสาธารณสุข โดยปัญญาประดิษฐ์ที่ประดิษฐ์ขึ้นที่เป็นการตรวจคัดกรองเพื่อวินิจฉัยวัณโรคอย่างเฉพาะเจาะจงตามมาตรฐานของราชวิทยาลัยรังสีแพทย์แห่งประเทศไทย มีคุณสมบัติพิเศษ คือ 1) สามารถวิเคราะห์ภาพถ่ายรังสีปอดได้คราวละมาก ๆ ในเวลาอันสั้น 2) การประมวลผลข้อมูลโดยไม่จำเป็นต้องต่ออินเตอร์เน็ต เพื่อรักษาความปลอดภัยของข้อมูล 3) การประมวลผลรวมไปถึงอาศัยข้อมูลการตรวจด้วยวิธีอื่น ๆ นอกเหนือจากภาพถ่ายรังสีปอด เพื่อช่วยในการยืนยันผลการอ่านภาพ 4) มีกลุ่มเป้าหมายเฉพาะเจาะจง 5) เป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างฐานข้อมูลวัณโรคของประเทศไทยเพื่อให้เกิดการพัฒนาต่อยอด และ 6) เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพบุคลากรของกระทรวงสาธารณสุข  


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"