เกษตร..เดินหน้า พัฒนาเกษตรเชิงพื้นที่ ยึดพื้นที่เป็นตัวตั้ง ขับเคลื่อนตามความต้องการของเกษตรกร


เพิ่มเพื่อน    

 

สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 1 จังหวัดชัยนาท ร่วมกับจังหวัดปทุมธานี  จัดงานแถลงข่าวการขับเคลื่อนและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตรเชิงพื้นที่ ระดับเขตที่ 1 ภายใต้โครงการสร้างการรับรู้ข้อมูลข่าวสารงานส่งเสริมการเกษตร ปีงบประมาณ 2563 ณ แปลงใหญ่หมากเหลือง ตำบลบึงทองหลาง อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี โดยมี นายจรูญศักดิ์ สิงหเดช รองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี เป็นประธานการแถลงข่าว ร่วมกับ นายสมโชค  ณ นคร ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 1 จังหวัดชัยนาท ร่วมด้วย นายสมเดช  คงกระพันธุ์  เกษตรจังหวัดปทุมธานี และนายสุขุม  ไตลังคะ ผู้นำกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่ผักปลอดภัยอำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี

 

นายจรูญศักดิ์ สิงหเดช รองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี เปิดเผยว่า จังหวัดปทุมธานี มีพื้นที่ 953,660 ไร่ ประชากรจำนวนกว่า 1,163,604 คน แบ่งการปกครองออกเป็น 7 อำเภอ มีพื้นที่ทำการเกษตร 333,143 ไร่ เกษตรกร 20,814 ครัวเรือน จังหวัดปทุมธานีมีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านใจกลางจังหวัด ระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตร ทำให้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วน คือฝั่งตะวันออก ได้แก่ อ.เมืองปทุมธานี บางส่วน อ.ลำลูกกา อ.หนองเสือ อ.คลองหลวง และอ.ธัญบุรี  ฝังตะวันตก ได้แก่ อ.เมืองปทุมธานี บางส่วน อ.ลาดหลุมแก้ว และอ.สามโคก  เกษตรกรส่วนใหญ่มีการเพาะปลูกข้าวเป็นหลัก พื้นที่ประมาณ 265,062 ไร่ รองลงมาเป็นพืชสวน เช่น พืชผักชนิดต่าง ๆ กล้วยน้ำว้า กล้วยหอม มะพร้าวอ่อน และไม้ผลอื่น ๆ เนื่องจาก ทำเลที่ตั้งของ         จังหวัดปทุมธานี อยู่ใกล้กรุงเทพมหานคร ทำให้มีการขยายตัวของชุมชนที่อยู่อาศัย และความเจริญอย่างทั่วถึงทั้งจังหวัด อีกทั้งยังเป็นที่ตั้งของศูนย์การค้าส่งสินค้าทางการเกษตรประเภทพืชผักและผลไม้ ขนาดใหญ่ของประเทศ ได้แก่ ตลาดไทย ตลาดสี่มุมเมือง และตลาดผลไม้เกรดคัดพิเศษ ที่ตลาดไอยรา    ทำให้สามารถรองรับ ผลผลิตทางการเกษตรอย่างต่อเนื่อง ซึ่งยังทำให้ประชากรส่วนหนึ่งยังคงยึดอาชีพทางการเกษตรเป็นหลัก และมีศักยภาพในการผลิต พร้อมที่จะรับการพัฒนาและร่วมโครงการที่เป็นประโยชน์ต่ออาชีพ   ที่ทำอยู่

 

 

นายสมโชค  ณ นคร ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 1 จังหวัดชัยนาท (ผอ.สสก.1 จ.ชัยนาท) เผยว่า เมื่อปี 2562 กรมส่งเสริมการเกษตร ได้จัดทำโครงการพัฒนางานส่งเสริมการเกษตรเชิงพื้นที่ขึ้น เพื่อพัฒนาการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มเกษตรกร โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมให้เกษตรกรรุ่นใหม่ มีบทบาทในกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชน และพัฒนารูปแบบการทำงานส่งเสริมการเกษตรเชิงพื้นที่ให้มีการ บูรณาการ การทำงานซึ่งจะนำไปสู่การปรับปรุงระบบการทำงานและโครงสร้างการส่งเสริมการเกษตรให้เกิดผลสำเร็จในพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรมโดยกำหนดให้ดำเนินการนำร่องจำนวน 6 จุด ในพื้นที่ 6 เขต ทั่วประเทศและใช้กลไกของแปลงใหญ่วิสาหกิจชุมชนและ Young Smart Farmer  ในการขับเคลื่อนงาน ในส่วนของ สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 1 จังหวัดชัยนาท ได้กำหนดให้แปลงใหญ่ผักปลอดภัย อ.สามโคก จ.ปทุมธานี เป็นจุดนำร่องเมื่อปี 2562 สืบเนื่องจากเกษตรกรในพื้นที่ดังกล่าว มีศักยภาพในการผลิตผักปลอดภัย มีตลาดรองรับที่แน่นอน รวมทั้งมีผู้นำกลุ่มเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ ซึ่งสามารถบริหารจัดการด้านการตลาดได้เป็นอย่างดี จึงได้นำมาเป็นจุดต้นแบบในการขับเคลื่อนงานส่งเสริมการเกษตรเชิงพื้นที่ ดังกล่าว

 

นายสมเดช  คงกระพันธุ์  เกษตรจังหวัดปทุมธานี กล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อได้รับนโยบายจาก กรมส่งเสริมการเกษตร และสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 1 จังหวัดชัยนาท แล้วได้ดำเนินการโดย ใช้หลักคิดเชิงพื้นที่ จัดเวทีชุมชน 3 ครั้ง เพื่อให้ทราบบริบทของพื้นที่ และความต้องการของเกษตรกร อย่างแท้จริง เพื่อถ่ายทอดความรู้ ตามความเหมาะสม และความต้องการใน  การแก้ไขปัญหา ของพื้นที่ รวมถึงสนับสนุนปัจจัยการผลิต เช่นวัสดุอุปกรณ์ให้น้ำ เพื่อเพิ่มผลผลิตซึ่งเดิมจะใช้เรือลาก ไปตามร่องสวน  ปรับเปลี่ยนวิธีการปลูกผักแบบหว่าน เป็นแบบเพาะกล้า เพื่อลดอัตราการใช้เมล็ดพันธุ์ สนับสนุนบรรจุภัณฑ์ที่มีความเหมาะสม รวมถึงการพัฒนาจุดรวบรวมสินค้าให้ มีคุณภาพ เป็นต้น

             

จากการดำเนินงาน ดังกล่าว ทำให้ต้นทุนเมล็ดพันธุ์ลดลง จากเดิมประมาณ 25% ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นจาก 1.2 ตันต่อไร่เป็น 1.5 ตันต่อไร่ ทำให้มีผลผลิตส่งจำหน่ายที่ตลาด อย่างต่อเนื่องและยังสามารถเชื่อมโยงตลาดที่อยู่ใกล้เคียงได้เพิ่มขึ้นนอกจากนี้ยังสร้างอาชีพในชุมชน โดยการเพาะกล้าผักขาย ทำให้คุณภาพของผักที่ปลูกจากการเพาะกล้าแทนการหว่านเมล็ด นั้น มีการเติบโตสม่ำเสมอลดการระบาดของโรคแมลงศัตรูพืชผัก ลดแรงงานในการให้น้ำเนื่องจากปรับเปลี่ยนมาใช้ระบบการให้น้ำแบบสปริงเกอร์ ทั้งยังเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการผลิตผักให้แก่เกษตรกรและผู้สนใจในพื้นที่อยู่ใกล้เคียง อีกด้วย การดำเนินงานโครงการฯ ในพื้นที่ แปลงใหญ่ผักปลอดภัย อ.สามโคก ส่งผลให้ สมาชิกกลุ่มและชาวชุมชน ได้รับประโยชน์ในการพัฒนาการประกอบอาชีพที่ทำอยู่เป็นอย่างมาก โดย นายสุขุม  ไตลังคะ เกษตรกรผู้นำกลุ่มฯ เปิดเผยว่า กลุ่มได้มี การร่วมกันคิดวิเคราะห์ศักยภาพของกลุ่มและชุมชนตลอดจนปัญหาในการผลิตผักของสมาชิกภายในกลุ่ม เพื่อนำไปสู่การหาแนวทางการแก้ไขปัญหา และกำหนดเป้าหมายการพัฒนาของกลุ่ม ร่วมกันโดยมีเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งกรมส่งเสริมการเกษตร จังหวัด ธกส. บริษัทผู้รับซื้อผลผลิตตลอดจนเกษตรกรเครือข่าย ทั้งจากอำเภอ และจังหวัดใกล้เคียงร่วมให้คำแนะนำสนับสนุนทั้งองค์ความรู้ และงบประมาณในการดำเนินกิจกรรมการผลิต ตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวทำให้สมาชิกกลุ่มได้รับความรู้เพิ่มขึ้นสามารถนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาการผลิตพืชผักของตนเองได้ ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตลดลง ผลผลิตเพิ่มขึ้น และมีคุณภาพปลอดภัยได้มาตรฐานตรงตามความต้องการของผู้บริโภค และตลาดนอกจากนั้นยังมีการพัฒนาต่อยอดกิจกรรม การผลิตทั้งเรื่องการเพาะกล้าผักเพื่อจำหน่ายสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนการวางระบบน้ำแบบสปริงเกอร์แทนการใช้เรือรดน้ำช่วยให้เกษตรกรประหยัดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายในการรดน้ำผักลงได้เป็นอย่างมากซึ่งสมาชิกกลุ่มมีความพึงพอใจมาก

             

ผอ.สสก.1 จ.ชัยนาท เผยว่า จากการดำเนินงานในปี 2562 ที่ผ่านมาถือว่าประสบความสำเร็จไปอีกขั้น ซึ่งใน          ปี 2563 จะเป็นการดำเนินการต่อเนื่องในจุดนำร่องและดำเนินการใหม่ใน 9 จังหวัดภาคกลาง อย่างน้อยจังหวัดละ 1 จุด ได้แก่ ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นนทบุรี สระบุรี ลพบุรี กรุงเทพฯ และปทุมธานี โดยแนวทางการดำเนินงานปี 2563 ประกอบด้วย 1) พัฒนาการเกษตรโดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง (Area - based) กำหนดขอบเขตชัดเจน นำข้อมูลพื้นที่ความเหมาะสมสำหรับการปลูกพืช (Zoning) ใช้เป็นแนวทางประกอบการตัดสินใจ เพื่อให้เกษตรกรบริหารพื้นที่ของตนได้อย่างเหมาะสม 2) ใช้เวทีชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลสินค้าตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain) เพื่อให้เกิดแผนพัฒนาการเกษตรที่เกิดจากความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง 3) ใช้กระบวนการมีส่วนร่วม บูรณาการงาน & งบประมาณ จากทุกภาคส่วน และ 4) พัฒนาต่อยอดโดยใช้กลไกการพัฒนาที่มีอยู่แล้ว ทำงานบนฐานข้อมูล เพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรมในพื้นที่ และขยายผลไปสู่ชุมชนอื่นๆ เช่น ระบบการส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่  Young Smart Farmer และวิสาหกิจชุมชน  โดยเป้าหมายการพัฒนางาน คือ เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ทำให้เกษตรกรมีรายได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ชุมชน มีการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ สอดคล้องกับความต้องการของตลาด มีการบริหารจัดการสินค้าเกษตรของตนเองตลอดห่วงโซ่อุปทาน และกลุ่มเกษตรกรได้รับการพัฒนา ให้มีความเข้มแข็งสามารถพึ่งตนเองได้ เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน 

             

การขับเคลื่อนและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตรเชิงพื้นที่ ตามนโยบายกรมส่งเสริมการเกษตร จะประสบผลสำเร็จและเกิดประโยชน์สูงสุดกับพี่น้องเกษตร ต้องอาศัยความร่วมมือของพี่น้องเกษตรกร อาศัยการรวมกลุ่มกันอย่างเข้มแข็ง โดยแนวทางการพัฒนาจะต้องเกิดจากความต้องการของเกษตรกรเป็นหลัก ถ้าทำได้เช่นนี้ ผมเชื่อมั่นว่าทุกจุดดำเนินการของพื้นที่ 9 จังหวัดภาคกลาง ในปี 2563 จะทำให้พี่น้องเกษตรกรได้รับประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม เช่นเดียวกับกลุ่มผู้ปลูกผักปลอดภัย อ.สามโคก จ.ปทุมธานี  ผอ.สสก.1 กล่าวในที่สุด


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"