เก็บมาเล่า: ความคิดแบบเติบโต


เพิ่มเพื่อน    

 

ความคิดแบบเติบโต เป็นแนวคิดทางจิตวิทยาว่าด้วยเรื่อง แนวหรือกรอบความคิดที่มนุษย์ใช้ในการอธิบายเหตุการณ์และสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับตนเองและสิ่งรอบตัว ยกตัวอย่างเช่น คนขับรถ 2 คนถูกรถคันอื่นขับปาดหน้าในระยะประชิดเหมือนกัน คนขับคนที่ 1 แสดงออกโดยตะโกนถามผู้ปาดว่า “อาเฮีย! จะรีบไปตายที่ไหนวะ” ในขณะที่คนขับคนที่ 2 บอกกับตัวเองว่า “เค้ารีบ คงมีธุระด่วน” คนขับคนที่ 2 คือคนที่ใช้กรอบความคิดแบบเติบโตเพราะ เขาไม่ได้ด่วนตัดสินไปว่าคนที่ขับรถปาดหน้าทำพฤติกรรมเช่นนี้จนเป็นนิสัย มุมมองของคนขับรถคนที่ 2 คือ คนขับปาดหน้าทำพฤติกรรมเช่นนี้เป็นแค่ครั้งคราวและอาจจะทำไปเพราะมีความจำเป็น และไม่ใช่พฤติกรรมประจำตัว ถึงตรงนี้ผู้อ่านคงสงสัยว่าแล้วความคิดแบบเติบโตต่างจากการคิดบวกอย่างไร

 

จากตัวอย่างคนขับคนที่ 2 ก็คือการคิดบวกไม่ใช่รึ ความต่างอยู่ที่เส้นบางๆ เพราะทั้งการคิดบวกและความคิดแบบเติบโตส่งผลทางบวกกับผู้คิดในรูปแบบคล้ายๆ กัน ต่างกันที่คนที่มีความคิดแบบเติบโตมองเห็นสิ่งบวกๆ ดีๆ ที่สามารถเกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆ และถ้าสิ่งบวกๆ ดีๆ ยังไม่เกิดขึ้นก็สามารถหาหนทางทำให้เกิดขึ้นได้ เพราะความคิดแบบเติบโตคือ กรอบความคิดที่มองว่าปัญหาหรือสิ่งแย่ๆ ที่เกิดขึ้นหรือข้อเสียจุดด้อยต่างๆ ในคนๆ หนึ่งคือความท้าทาย ไม่ใช่อุปสรรค และสามารถที่จะแก้ไขปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้นได้ ถ้าเรามีความพยายามบวกกับมีการวางแผนในการพัฒนาที่ดี

 

อีกตัวอย่างหนึ่ง การสอนหนังสือเด็ก ครูที่มีความคิดแบบเติบโตจะไม่ตัดสินหรือแบ่งเด็กเป็นเด็กเรียนเก่ง กับเด็กอ่อน(ไม่มีความสามารถในการเรียน) แต่จะมองว่าเด็กทุกคนมีความสามารถที่จะเรียนได้ดีในวิชาที่ตัวเองสอน มันเป็นความท้าทายของครูในการหาหนทางในการสอนและทำให้เด็กแต่ละคนสามารถเรียนรู้ได้ ในขณะที่ความคิดบวกจะมองว่า ไม่ใช่ทุกคนต้องมีความสามารถเหมือนกัน เรียนได้ดีเหมือนกันหมด คนเรียนไม่ดีแต่เล่นกีฬาและทำกิจกรรมดีก็มีความสามารถเหมือนกัน (เพราะฉะนั้นไม่ต้องหาทางพัฒนาเรื่องการเรียนก็ได้ ถ้ามันไม่ไหวจริงๆ) มองในมุมนี้จะเห็นว่าความคิดแบบเติบโตจะมีความดื้อดึงที่จะทำในสิ่งที่หลายๆ คนอาจจะคิดว่าทำไม่ได้เพราะไม่ได้มองว่าอุปสรรคคือปัญหา แต่อุปสรรคเป็นความท้าทาย

 

ทำให้เกิดมีความพยายามและการเสาะแสวงหาความรู้และวิธีที่จะทำให้สิ่งที่เป็นไปได้ยากหรือที่คนอื่นมองว่าเป็นไปไม่ได้ เป็นไปได้ เช่น ในกรณีของสองพี่น้องตระกูลไรท์ที่ประดิษฐ์เครื่องบินลำแรกของโลก สองพี่นัองทำการศึกษาทดลองเรียนรู้เกี่ยวกับเครื่องยนต์กลไก เก็บข้อมูลการทดลองทุกครั้งอย่างละเอียด รวมถึงสร้างรูปแบบในการทำเครื่องบินหลายต่อหลายแบบและล้มเหลวก็หลายครั้ง แต่พี่น้องไรท์มองความล้มเหลวเป็นความท้าทายและเรียนรู้จากการทดลองที่ผิดพลาดเป็นเวลา 6 ปีจนสามารถสร้างเครื่องบินลำแรกที่ชื่อว่า เดอะไรท์ฟลายเยอร์ ได้สำเร็จ และก็ไม่ต่างอะไรกับนักเรียนหลายๆ คนที่เคยเรียนไม่ดีมาก่อน แต่เมื่อมาเจอครูที่พยายามหารูปแบบการสอนที่แตกต่างและเข้าใจวิธีการเรียรนรู้ที่แตกต่างของเด็กแต่ละคนก็สามารถทำให้เด็กที่ถูกมองว่าเรียนอ่อนสามารถที่จะเรียนได้ดีขึ้น

 

แล้วเจ้าความคิดแบบเติบโตนี้มีประโยชน์อย่างไร? มีประโยชน์ในการทำให้มนุษย์สามารถที่จะหลุดจากกรอบจำกัดของตนเองที่ตนเองและผู้อื่นขีดครอบไว้ ในวงการกีฬาโดยเฉพาะในระดับมืออาชีพ นักกีฬาระดับต้นๆ มีความสามารถต่างกันในระดับจุดทศนิยมเท่านั้น แต่สิ่งที่จะทำให้ใครเป็นมือวางอันดับต้นๆ คือจิตใจ จิตใจที่มองเห็นความสามารถของตนเองสามารถพัฒนาได้และพยายามหาวิธีที่แตกต่างในการพัฒนาตนเอง ไม่ทำแบบเดิมๆ ที่ไม่เกิดผล แต่หาทางใหม่และวิธีการใหม่ในการพัฒนาความสามารถของตนเองให้พัฒนาเพิ่มขึ้นต่อไป

 

เก็บมาเล่าจาก: ความคิดแบบเติบโต (Growth Mindset) งานของ Dr. Carols Dweck นักจิตวิทยา                                                                                         

เขียนโดย Mayochili อีเมล์ [email protected]


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"