เสริมแกร่งวิสาหกิจชาวเหนือ


เพิ่มเพื่อน    

     ต้องยอมรับว่าภาคเหนือของไทยนั้นมีทุนทางสังคมและวัฒนธรรมประเพณีที่มีอัตลักษณ์โดดเด่น อีกทั้ง ทำเลที่ตั้งยังมีศักยภาพในการขยายการค้าการลงทุน และบริการเชื่อมโยงเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มลุ่มแม่น้ำโขง รวมถึงมีพืชผลทางการเกษตรที่สามารถนำมาแปรรูปสร้างรายได้หลากหลายชนิด จึงเป็นภูมิภาคที่มีผู้ประกอบการหลายรายนั้นประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจ รวมถึงเป็นตำแหน่งที่อีกหลายผู้ประกอบการมุ่งจะไปตั้งถิ่นฐาน หรือขยายตลาดการค้าและการลงทุน
     ทั้งนี้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ได้เล็งเห็นความสำคัญในการสร้างและพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยใช้ทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาที่มีอัตลักษณ์โดดเด่น อย่างการนำวัตถุดิบ หรือพืชที่ไม่ใช่พืชเศรษฐกิจหลักมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย รองรับความต้องการของผู้บริโภคในด้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มสุขภาพและความงามที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง
     ซึ่งตามข้อมูลจากสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า การส่งออกเครื่องสำอางของไทยขยายตัวในตลาดโลกได้ดีต่อเนื่อง มูลค่าการส่งออก 6 เดือนแรกของปี 2562 มีมูลค่ากว่า 1,400 ล้านเหรียญสหรัฐ  ขยายตัว 35.4% ในช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด 3 อันดับ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับใบหน้า เส้นผม และอนามัยของช่องปากและฟัน กสอ. จึงมุ่งส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดจากวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่น
     ทั้งนี้ นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดี กสอ. ได้ออกมากล่าวว่า แต่ละพื้นที่ล้วนแล้วแต่มีเรื่องราวของมันอยู่แล้ว กสอ. จึงเข้ามาช่วยเติมเต็ม สร้างองค์ความรู้ ช่วยเหลือผู้ประกอบการเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ขึ้นมา ทั้งเรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ การวิจัย และพัฒนา เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่มีคุณภาพได้มาตรฐานสากล การให้คำปรึกษา การบริหารจัดการ รวมถึงการหาตลาดรองรับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมการทำตลาดออนไลน์เพื่อตอบโจทย์ความต้องการตลาดในปัจจุบัน
     ซึ่งในปีนี้ กสอ.ได้จัดอบรมเพื่อให้ความรู้ผู้ประกอบการในหัวข้อต่างๆ เช่น อัพยอดขาย เจาะตลาดออนไลน์ 2020, เปิดด้วย Facebook รุกด้วย Line@, ชี้ช่องรวยด้วย Lazada เป็นต้น และจากเรื่องราวของผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่น ยังสามารถเชื่อมโยงสู่การท่องเที่ยวในชุมชน เพื่อให้เกิดการกระจายรายได้ไปยังทุกภาคส่วน โดยผลิตภัณฑ์จากมะไฟจีนของวิสาหกิจชุมชนขวัญธาราและผลิตภัณฑ์จากเมี่ยงของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มชาเมี่ยง เป็นตัวอย่างผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก และสามารถเป็นแบบอย่างได้เป็นอย่างดี
     ด้าน นางธารารัตน์ ศรีจันทร์ดี ผู้นำวิสาหกิจชุมชนขวัญธารา กล่าวว่า จุดเริ่มต้นของเครื่องสำอางสมุนไพร "ขวัญธารา"  เกิดจากผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่ต้องการกลับมาพัฒนาบ้านเกิด ด้วยการนำเสนอผลไม้ท้องถิ่นของดีคู่ จ.น่าน คือ "มะไฟจีน" จากเดิมที่นำมาแปรรูปเป็นผลไม้เชื่อมแห้ง แยม และน้ำผลไม้ นำมาต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มในรูปแบบใหม่ๆ ด้วยการนำเอานวัตกรรมเชิงพาณิชย์เข้ามาเสริมสร้างต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์เซรั่ม แชมพู สบู่เหลว โฟมมูส แฮนด์ครีม และบอดี้โลชั่น โดยมีจุดเด่นที่นำเอาสารสกัดมะไฟจีนมาเป็นวัตถุดิบรายแรกของประเทศไทย
     “เราเริ่มจากการไม่รู้อะไรเลย เป็นเหมือนผ้าขาว และ กสอ.เหมือนศิลปินที่มาแต้มสี เติมเต็มให้ผ้าขาวมีสีสันเป็นรูปเป็นร่าง จนประสบความสำเร็จอย่างทุกวันนี้ และในอนาคต เรามีแนวทางในการสร้างห้องเรียนเวิร์กช็อปด้านสมุนไพร เพื่อให้เป็นศูนย์เรียนรู้การผลิต ให้ผู้ที่มาท่องเที่ยวได้มาเรียนรู้เรื่องสมุนไพรและนำไปต่อยอดสมุนไพรในท้องถิ่นของตันเอง อันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป” นางธารารัตน์กล่าว
     ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องยกความดีความชอบให้กับ กสอ.อย่างเต็มที่ ซึ่งถือว่าเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการ โดยผ่านเครื่องมืออื่นๆ ที่นอกเหนือจากสนับสนุนด้านการเงิน ทำให้ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมมีกำลังแรงพอที่จะต่อยอดสินค้าและบริการของตัวเองเทียบเคียงกับผู้ประกอบการรายใหญ่ๆ ได้ในพื้นที่เดียวกัน.

ณัฐวัฒน์ หาญกล้า


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"