จุรินทร์-รมว.พาณิชย์ ยกคณะลงพื้นที่ติดตามโครงการประกันรายได้ มั่นใจเกษตรกรมีหลักประกันมากขึ้น เงินจะเข้าทั้งกระเป๋าซ้ายกระเป๋าขวา ย้ำประกันรายได้เป็นนโยบายของรัฐบาล แม้นำเสนอเบื้องต้นโดยพรรคประชาธิปัตย์
เมื่อวันที่ 29 ก.พ.ที่ผ่านมา นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พร้อมด้วย นายนราพัฒน์ แก้วทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, นายวิชัย โภชนกิจ อธิบดีกรมการค้าภายใน, ผู้บริหารส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง รับฟังปัญหาข้อเสนอแนะของนายก อบต. กํานัน และผู้ใหญ่บ้าน และติดตามโครงการประกันรายได้
นายจุรินทร์กล่าวว่า นโยบายประกันรายได้ถือเป็นนโยบายที่สำคัญนโยบายหนึ่งของรัฐบาลที่ต้องการช่วยเหลือเกษตรกร โดยประกันรายได้ไม่ใช่การประกันราคา เพราะราคาประกันไม่ได้ ประกันได้เฉพาะรายได้ที่ราคาประกันไม่ได้ เพราะพืชผลทางการเกษตรเราไม่สามารถประกันราคาได้ว่าราคาต้องกิโลกรัมละเท่าไหร่ เพราะราคาจะขึ้นอยู่กับกลไกการตลาด เมื่อไหร่ที่พืชผลทางการเกษตรตัวนั้นออกมากจนล้น แต่คนซื้อไม่มีหรือมีน้อย ราคาก็จะตกต่ำ
นายจุรินทร์กล่าวต่อว่า แต่เมื่อไหร่ของมีน้อย แต่คนต้องการซื้อมาก ราคาก็จะสูง นี่คือกลไกตลาดที่ขึ้นอยู่กับดีมานด์ซัพพลาย ไม่มีใครไปสั่งให้ขึ้นลงได้ แต่สิ่งที่รัฐบาลสามารถสั่งได้คือให้เกษตรกรมีรายได้ตามปริมาณที่รัฐบาลเห็นว่าพอสมควรเรียกว่าการประกันรายได้ ในข้าว 5 ชนิด
ประกอบด้วย ข้าวหอมมะลิตันละ 15,000 บาท, ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ตันละ 14,000 บาท, ข้าวเปลือกเจ้าตันละ 10,000 บาท, ข้าวเปลือกหอมปทุมธานีตันละ 11,000 บาท, ข้าวเปลือกเหนียวตันละ 12,000 บาท ถ้าราคาตลาดน้อยกว่านี้ก็จะมีส่วนต่าง โดยรัฐบาลจะช่วยโอนให้เข้าบัญชีพี่น้องเกษตรกรโดยตรง นี่คือข้อดีของนโยบายประกันรายได้ ช่วยให้มีหลักประกัน ไม่ว่าราคาจะตกลงมาอย่างไรก็มีส่วนต่างช่วย แต่ถ้าราคาดีจนเกินราคาที่ประกันก็จะไม่มีเงินประกันรายได้
รมว.พาณิชย์กล่าวว่า แต่ก่อนที่จะมีนโยบายประกันรายได้ จะมีเงินก้อนเดียวคือเงินที่ขายข้าวในราคาตลาด เกวียนละ 7,000 ก็ได้เพียง 7,000 บาท แต่เมื่อมีประกันรายได้จะมีรายได้สองกระเป๋ากระเป๋าซ้าย 7,000 บาท และกระเป๋าขวา 3,000 บาท รวมกันเป็น 10,000 บาท รวมกันเป็นรายได้ที่ประกันโดยประมาณ รัฐบาลชุดนี้จึงกำหนดเป็นนโยบายช่วยให้พี่น้องมีหลักประกันมากขึ้นแม้ยามที่ราคาพืชผลการเกษตรจะตกต่ำ ข้าวหอมมะลิ 15,000 บาท ราคาลงมาเป็น 13,000 บาท ก็จะได้รับเงินส่วนต่าง 2,000 บาท เป็นต้น
"นี่คือข้อดีของประกันรายได้ ได้เงินส่วนต่างชดเชย เงินส่วนต่างงวดแรกของการประกันรายได้ของรัฐบาลมีเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคมที่ผ่านมา จนถึงวันนี้ทยอยจ่ายทุกสัปดาห์ ขึ้นอยู่กับเวลาเก็บเกี่ยวของแต่ละคนว่าเก็บเกี่ยวเมื่อไหร่ ก็มาแจ้งล่วงหน้าไว้กับ ธ.ก.ส. และเอาราคาวันนั้นมาดูว่าส่วนต่างเท่าไหร่ และโอนเงินเข้าบัญชีพี่น้องโดยตรง ผมเชื่อว่าพี่น้องที่นี่คงได้เงินมาพอสมควรแล้ว"
นายจุรินทร์ย้้ำว่า นโยบายประกันรายได้เป็นนโยบายของรัฐบาลทั้งรัฐบาล แม้ว่าจะเป็นนโยบายที่นำเสนอเบื้องต้นโดยพรรคประชาธิปัตย์ก่อนร่วมรัฐบาลก็ตาม แต่รัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ยอมรับเป็นนโยบายรัฐบาลแล้ว และได้แถลงนโยบายต่อรัฐถ้าสภาแล้ว แปลว่าเป็นข้อผูกพันและข้อผูกมัดที่รัฐบาลมีต่อรัฐสภา ซึ่งเป็นตัวแทนของคนไทยทั้งประเทศเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นรัฐบาลมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามนโยบายที่แถลงไว้ต่อรัฐสภา จนกว่าจะสิ้นอายุขัยของรัฐบาล ตราบเท่าที่ยังมีนโยบายชุดนี้บริหารราชการแผ่นดิน นโยบายประกันรายได้เกษตรกรก็จะต้องดำเนินต่อไป และสำหรับมันสำปะหลังไม่เกินครัวเรือนละ 100 ตันสำหรับข้าวโพดรายละไม่เกิน 30 ตัน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศการติดตามนโยบายครั้งนี้เป็นไปด้วยความคึกคัก เนื่องจากประชาชนได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนสอบถาม พร้อมทั้งร้องเรียนร้องทุกข์ถึงอุปสรรคปัญหาบางส่วน แต่ขณะเดียวกันนายจุรินทร์ก็ได้มอบหมายให้ข้าราชการที่เกี่ยวข้องรับเรื่องและให้ดูแลประชาชนพร้อมกับให้แก้ไขให้ทันทีด้วย โดยเฉพาะประชาชนที่ตกหล่นเกี่ยวกับการขึ้นบัญชีเกษตรกร ได้มอบหมายให้ทางธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรตรวจสอบพร้อมรายงานให้ทราบด้วย.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |