นายพริษฐ์ วัชรสินธุ หรือ "ไอติม" อดีตสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก โดยมีเนื้อหาดังนี้
“พายุแห่งการเปลี่ยนแปลงถูกสร้างขึ้นมาได้ จากผีเสื้อแค่ไม่กี่ตัวที่ขยับปีกพร้อมกัน”
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เราได้เห็นถึงพลังและแรงกล้าของนักศึกษาและนักเรียนทั่วประเทศ ที่ออกมารวมตัวทางการเมืองเพื่อแสดงความไม่พอใจต่อหลายๆสิ่งที่เขาเห็นในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็น การสืบทอดอำนาจที่ขัดหลักประชาธิปไตย การบริหารประเทศที่ขาดความโปร่งใส หรือ การปกครองด้วยระบอบสองมาตรฐาน โดยมีการยุบพรรคการเมืองที่เป็นตัวแทนชุดความคิดของพวกเขาหลายคน เป็นฟางเส้นสุดท้าย
ในขั้นพื้นฐานที่สุด นักศึกษาและนักเรียนเหล่านี้ควรมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะในรั้วมหาวิทยาลัย ตราบใดที่การชุมนุมยังดำเนินการแบบสันติเหมือนที่เป็นอยู่ ณ ปัจจุบัน
แต่เหนือจากการแสดงออกถึงความไม่พอใจแล้ว ผมหวังว่าพลังและแรงเหล่านี้จะมาพร้อมกับการร่วมกันเสนอทางออก และการนำพาสังคมไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่จะแก้ปัญหานี้ได้ในเชิงโครงสร้าง นั่นคือการ #แก้ไขรัฐธรรมนูญ
ถ้าเราวิเคราะห์ความวิปริตต่างๆของบ้านเมือง เราจะเห็นว่าต้นตอส่วนมากล้วนมาจากกติกาที่ไม่เป็นกลางหรือไม่ชอบธรรม ที่ใช้กำหนดทั้งกระบวนการที้ได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2560 และเนื้อหาที่ถูกเขียนไว้ในแต่ละมาตรา ตัวอย่างเช่น:
1. กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ ที่ไม่เปิดกว้างให้ประชาชนทั่วไปในทุกภาคส่วน มีส่วนร่วมในการออกแบบ
2. การจัดประชามติ ที่ไม่เปิดให้คนในสังคมแสดงความเห็นอย่างเสรี และมีการจับกุมเฉพาะกลุ่มคนที่รณรงค์ไม่รับร่าง
3. ระบบรัฐสภาที่ให้ ส.ว. แต่งตั้ง 1 คน มีอำนาจในการเลือกนายกฯ เทียบเท่ากับประชาชน 70,000 คน
4. กระบวนการคัดสรร ส.ว. ที่เต็มไปด้วยผลประโยชน์ทับซ้อน ถึงขั้นที่คณะกรรมการ 9 จาก 10 คน แต่งตั้งตนเองหรือญาติพี่น้องของตนมาเป็น ส.ว. ได้
5. องค์กรอิสระที่ไม่ “อิสระ” ในเชิงโครงสร้างจากอำนาจรัฐ เนื่องจาก ส.ว. มีอำนาจชี้ขาดในการแต่งตั้งสรรหาบุคลากร
6. ระบบการเลือกตั้ง ที่เปิดช่องให้ ส.ส. นำคะแนนที่ได้จากประชาชนตอนลงสมัครในนามพรรคหนึ่ง ไปเติมแต้มให้พรรคที่อยู่คนละขั้วอุดมการณ์
7. การเพิ่มเหตุผลเรื่อง “ความมั่นคง” และ “ความสงบเรียบร้อย” (ที่ฝ่ายเดียวผูกขาดอำนาจการตีความ) มาเป็นอีกช่องทางในการจำกัดสิทธิเสรีภาพประชาชน
8. การกำจัดสิทธิและอำนาจเดิมของประชาชน ในการเข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ
9. การปิดกั้นกลไกการแก้ไขเพิ่มเติม ผ่านการกำหนดว่าทุกการแก้ไขต้องได้รับการเห็นชอบจาก ส.ว. แต่งตั้งอย่างน้อย 84 คน (1 ใน 3 ของสมาชิก)
สัปดาห์ที่ผ่านมา ผมได้ใช้เวลาในช่วงวันหยุดเดินสายไปที่ ปัตตานี (มอ.) และ เชียงใหม่ (มช.) เพื่อจัดกิจกรรม ConLab ที่ให้นักศึกษามาร่วมกันร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่เขาอยากจะเห็น โดยข้อเสนอของหลายกลุ่ม มุ่งเป้าไปที่การพยายามแก้ไขปัญหาต่างๆด้านบน แต่ด้วยวิธีการและรายละเอียดที่แตกต่างกันออกไป
แต่สิ่งที่น่าประทับใจกว่าข้อเสนอต่างๆ คือความกล้าหาญของน้องคนหนึ่งที่ปัตตานี ที่ยกมือขึ้นพูดก่อนจบงาน โดยเขายอมรับว่าเขาเป็น 1 ใน 16 ล้านเสียง ที่ลงคะแนนรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ในประชามติเมื่อ 4 ปีที่แล้ว แต่ได้เห็นแล้วถึงปัญหาที่ตามมา และพร้อมมาร่วมกับเราในการรณรงค์ให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อได้มาซึ่งกติกาที่เป็นกลาง เป็นประชาธิปไตย และเป็นมาตรฐานเดียวกันกับทุกฝ่าย
ถ้าเราต้องการขยายแนวร่วมของเราให้กว้างขวางขึ้น เราต้องการความกล้าหาญของคนอย่างน้องคนนี้อีกเยอะ ที่พร้อมวางสิ่งที่เคยคิดเคยเลือกในอดีต เพื่อมาต่อสู้ร่วมกับเราเพื่อปัจจุบันและอนาคตของประเทศ
ผมอยากทิ้งท้ายข้อความนี้ ด้วยการบอกน้องๆทุกคนว่า อย่าสิ้นหวัง อย่าคิดว่าบ้านเมืองไม่มีทางออก การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้เสมอหากเราใช้พลังของเราอย่างสร้างสรรค์และถูกจุด
การ #แก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นจุดเริ่มต้น (แต่ไม่ใช่จุดจบ) ของการนำพาประเทศไปสู่ถนนสายประชาธิปไตย
จงอย่าคิดว่าพวกคุณไม่มีพลัง
“พายุแห่งการเปลี่ยนแปลงถูกสร้างขึ้นมาได้ จากผีเสื้อแค่ไม่กี่ตัวที่ขยับปีกพร้อมกัน”
ป.ล. วันศุกร์นี้ ณ เวลา 19.00 น. ในงาน “ประชาชนเดินหน้าแก้รัฐธรรมนูญ” ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา ผมจะไปแถลงการณ์ถึงข้อเสนอด้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่ผมและทีม #รัฐธรรมนูญก้าวหน้า ได้รวบรวมมากจากความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรียนเชิญทุกท่านที่สนใจครับ
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |