'อัยการธนกฤต'ตั้ง5ข้อสังเกตตามกฎหมายโรคติดต่อภาครัฐรับมือโควิด-19มีประสิทธิภาพเเล้วหรือไม่


เพิ่มเพื่อน    

 

28ก.พ.63- ดร.ธนกฤต วรธนัชชากุล อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด ได้ให้ข้อสังเกตต่อการใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ 2558 รับมือกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า ตามที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID-19 และภาครัฐ โดยคณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อแห่งชาติที่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานกรรมการได้มีมติเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563 ให้เพิ่มโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)  เป็นโรคติดต่ออันตรายภายใต้พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ลำดับที่ 14 เพื่อรับมือกับการระบาดของโรคนี้

ผมมีข้อสังเกตต่อการใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  ดังนี้

1.ยังไม่ได้ประกาศให้ประเทศกลุ่มเสี่ยงเป็นเขตติดโรคจากเชื้อไวรัสโคโรนา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขยังไม่ได้ประกาศให้ประเทศหรือเมือง หรือเขตการปกครองที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นเขตติดโรคตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ ฯ มาตรา 8 ซึ่งหากมีการประกาศเขตติดโรคจะเป็นประโยชน์ในการบังคับใช้มาตรการทางกฎหมาย โดยเฉพาะมาตรการตามมาตรา 40 และมาตรา 41ในการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่จะเข้ามาภายในประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในขณะนี้ จึงมีแต่เพียงคำแนะนำจากกระทรวงสาธารณสุข   ให้หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังประเทศกลุ่มเสี่ยงต่อการระบาดของโรคเท่านั้น หากเปรียบเทียบกับเมื่อครั้งมีการระบาดของโรคไข้เหลือง เมื่อเดือนธันวาคม 2560 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในขณะนั้น    ได้เคยประกาศให้ประเทศต่าง ๆ จำนวน 42 ประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศในทวีปแอฟริกา เป็นเขตติดโรคไข้เหลือง เพื่อประโยชน์ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เหลืองซึ่งเป็นโรคติดต่ออันตรายไม่ให้เข้ามาในประเทศไทย

        2. ภาครัฐควรมีมาตรการที่ชัดเจน เหมาะสม เพียงพอ และเป็นไปตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ ในการรับมือกับการระบาดของโรคที่มาจากคนไทยที่เดินทางกลับจากประเทศกลุ่มเสี่ยง
หลังจากที่หน่วยงานของรัฐออกคำเตือน ข้อควรระวัง ให้คนไทยหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังกลุ่มประเทศที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แล้ว หากคนไทยคนใดยังคงเดินทางไปยังกลุ่มประเทศเสี่ยงเหล่านี้อยู่อีก และเดินทางกลับเข้ามาประเทศไทยในช่วงที่ยังมีการแพร่ระบาดของโรคอยู่ ภาครัฐควรมีมาตรการในการรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพจากบุคคลเหล่านี้ ไม่ควรปล่อยให้เป็นเรื่องจิตสำนึกของแต่ละบุคคลว่าจะมีความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมไม่ให้มีการแพร่ระบาดของโรคแค่ไหน อย่างไร เพราะจิตสำนึก วิจารณญาณ และวินิจฉัย ของแต่ละบุคคลย่อมแตกต่างกันไปได้ และมีความสุ่มเสี่ยงที่จะทำให้มีการแพร่กระจายของโรคไปสู่กลุ่มคนในวงกว้างและสร้างความตื่นตระหนกวิตกกังวลในหมู่ประชาชนได้ กรณีของปู่และย่าที่เดินทางไปท่องเที่ยวที่เมืองฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น และทำให้เกิดการแพร่กระจายของโรคเมื่อเดินทางกลับมาถึงประเทศไทย เป็นตัวอย่างได้ดี

ในเรื่องนี้ พ.ร.บ.โรคติดต่อ ฯ มาตรา 34  (1) มาตรา 40 (3) และมาตรา 42 ให้อำนาจเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อในการดำเนินการให้ผู้ที่เดินทางจากประเทศกลุ่มเสี่ยงกลับเข้ามาในประเทศไทย ต้องเข้ารับการตรวจ หรือรับการชันสูตรทางการแพทย์ว่าเป็นโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือไม่ รวมทั้งมีอำนาจดำเนินการให้แยกกัก กักกัน หรือคุมบุคคลนั้นไว้สังเกตโรค ณ สถานที่ซึ่งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อกำหนด จนกว่าจะได้รับการตรวจและการชันสูตรทางการแพทย์ว่าพ้นระยะติดต่อของโรค

จึงมีข้อควรพิจารณาว่า หน่วยงานของรัฐได้ดำเนินมาตรการต่อผู้ที่เดินทางจากประเทศกลุ่มเสี่ยงเข้ามาในประเทศไทยอย่างถูกต้อง เหมาะสม และเพียงพอ ตามที่ พ.ร.บ.โรคติดต่อ ฯ กำหนดไว้แล้วหรือไม่ เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมการระบาดของโรค การใช้เครื่องวัดอุณหภูมิเพื่อคัดกรองโรคแก่คนไทยที่เดินทางจากประเทศกลุ่มเสี่ยงเข้ามาในประเทศไทย หากกระทำไปโดยไม่ได้มีการตรวจและรับการชันสูตรทางการแพทย์ว่าเป็นโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือไม่ และไม่ได้ใช้มาตรการในการแยกกัก กักกัน หรือคุมบุคคลนั้นไว้สังเกตโรค ณ สถานที่ซึ่งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อกำหนด ตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ ฯ จะถือว่าเพียงพอในการตรวจคัดกรอง ป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคแล้วหรือไม่

        3. คนไทยที่เดินทางไปประเทศกลุ่มเสี่ยงทั้งที่รู้คำเตือนแล้ว ควรรับภาระค่าใช้จ่ายในการตรวจชันสูตรโรคและการถูกกักกันเองหรือไม่ เพียงใด
กรณีของคนไทยที่เดินทางไปยังกลุ่มประเทศเสี่ยงต่อการระบาดของโรคโดยไม่มีเหตุจำเป็นภายหลังจากที่มีข้อแนะนำและคำเตือนจากภาครัฐให้หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังกลุ่มประเทศเสี่ยงเหล่านี้ เมื่อเดินทางกลับเข้ามาประเทศไทยและเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อมีคำสั่งให้คนไทยผู้นั้นต้องเข้ารับการตรวจหรือรับการชันสูตรทางการแพทย์ว่าเป็นโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือไม่ รวมทั้งหากเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อมีคำสั่งให้แยกกัก กักกัน หรือคุมบุคคลนั้นไว้สังเกตโรค มีข้อควรพิจารณาว่า การที่บุคคลนั้นยังคงเดินทางไปยังกลุ่มประเทศเสี่ยงทั้งที่มีข้อแนะนำและคำเตือนจากภาครัฐ เป็นการแสดงให้เห็นว่าบุคคลนั้นพร้อมที่จะรับความเสี่ยงในการติดโรคที่อาจเกิดขึ้นได้ ดังนั้น ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการตรวจ ชันสูตรโรค รวมถึงค่าใช้จ่ายในระหว่างถูกแยกกัก กักกัน หรือคุมไว้สังเกตโรค ควรใช้มาตรการทางกฎหมายตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ ฯ มาตรา 7 (4) และมาตรา 42 วรรคสอง ที่กำหนดให้ผู้เดินทางเข้ามาในประเทศไทยต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดำเนินการที่เกิดขึ้น แทนการใช้เงินของรัฐที่เป็นเงินภาษีของประชาชนหรือไม่ แค่ไหน เพียงใด

        4.  บทกำหนดโทษใน พ.ร.บ. โรคติดต่อหลายกรณีเบาเกินไป ไม่เหมาะสมกับปัจจุบัน
บทกำหนดโทษที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.โรคติดต่อ ฯ มีหลายมาตราที่ไม่เหมาะสม มีอัตราโทษที่น้อยเกินไป เมื่อพิจารณาถึงสถานการณ์ความรุนแรงของโรคติดต่อและความเจริญของเทคโนโลยีด้านการคมนาคมในปัจจุบัน ที่ทำให้การติดต่อไปมาหาสู่กันกระทำได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว จึงควรที่จะปรับบทลงโทษให้มีความเหมาะสมกับสภาพการณ์ ความเจริญ และสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน

เช่น การฝ่าฝืนมาตรา 34 (1) โดยไม่ยอมเข้ารับการตรวจ หรือรับการชันสูตรทางการแพทย์ หรือไม่ยอมถูกแยกกัก กักกัน หรือคุมไว้สังเกตโรค ตามคำสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ มีอัตราโทษปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท ตามมาตรา 51

การฝ่าฝืนคำสั่งของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดตามมาตรา 22 (6) หรือคำสั่งของคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครตามมาตรา 28 (6) หรือคำสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามมาตรา 45 (1) ให้มาให้ข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็น หรือให้จัดส่งข้อมูล เอกสาร หรือหลักฐานใดที่จำเป็นเพื่อตรวจสอบหรือประกอบการพิจารณา มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 49 เป็นต้น

        5. คณะกรรมการโรคติดต่อระดับจังหวัดได้เตรียมพร้อมทำแผนเฝ้าระวังป้องกันโรคระบาดในวงกว้างไว้แล้วหรือไม่
คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดและคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครได้มีการเตรียมความพร้อมโดยจัดทำแผนปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งเป็นโรคติดต่ออันตราย ในเขตพื้นที่จังหวัดของตนไว้แล้วหรือไม่ เพื่อเตรียมรับมือกับการระบาดของโรค หากมีการแพร่ระบาดในวงกว้างภายในประเทศ

นอกจากนี้ ยังมีปัญหาช่องว่างในการบังคับใช้ พ.ร.บ. โรคติดต่อ ฯ อีกหลายกรณี ซึ่งไม่ขอกล่าวในที่นี้


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"