ประเทศไทยได้ส่งเสริมการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพมาอย่างยาวนานด้วยเหตุผลหลายประการ อาทิ เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน การสร้างสมดุลพืชพลังงานทั้งระบบ การแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กจากการคมนาคม ดังนั้น เพื่อให้ประโยชน์ของน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพส่งผลอย่างต่อเนื่อง จึงเกิดบทบังคับให้น้ำมันดีเซล B10 เป็นน้ำมันเกรดพื้นฐาน และเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป และในระยะข้างหน้า น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20 จะถูกวางแผนให้เป็นน้ำมันเกรดพื้นฐานเช่นกันในช่วงกลางปี 63
ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลได้มีมาตรการสนับสนุนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพผ่านการปรับโครงสร้างราคาได้เป็นผลให้เกิดความต้องการน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แต่ทว่าปริมาณความต้องการน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพที่ถูกผสมในสัดส่วนที่สูงนั้นยังมีความต้องการไม่สูงเท่าที่ควร แม้จะมีระดับราคาที่ดึงดูด
จะเห็นได้ว่าช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2557-2561) ผู้ใช้รถในกลุ่มน้ำมันดีเซลมีพฤติกรรมการเลือกใช้น้ำมันดีเซลธรรมดา ซึ่งไม่มีการผสมน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพที่อัตราการเติบโตเฉลี่ย 2.3% สูงกว่าน้ำมันไบโอดีเซลซึ่งมีราคาถูกกว่า แต่กลับมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยเพียง 0.4%
เช่นเดียวกับผู้ใช้รถในกลุ่มน้ำมันเบนซินมีการเติมแก๊สโซฮอล์ 95 E10 ที่อัตราการเติบโต 12% ในขณะที่มีการเติมแก๊สโซฮอล์ E20 ซึ่งมีส่วนผสมเอทานอลมากกว่า และมีราคาถูกกว่าที่อัตราการเติบโตเพียง 10%
จึงเป็นความท้าทายกับรัฐบาล โดยเฉพาะกระทรวงพลังงานที่กำกับดูแลด้านพลังงาน ได้พยายามที่จะออกมาตรการต่างๆ ไปเพื่อส่งเสริมให้มีปริมาณการใช้มากขึ้น ซึ่ง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า กลไกสนับสนุนผ่านการปรับโครงสร้างราคา ประกอบกับการสนับสนุนผ่านค่ายรถยนต์นั้น ยังคงมีความจำเป็นและเป็นผลให้ความต้องการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง แต่ยังไม่เพียงพอที่จะหนุนให้ความต้องการเติบโตเต็มที่ เนื่องจากอุปสงค์น้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพยังคงได้รับอิทธิพลจากพฤติกรรมของผู้ใช้รถบางกลุ่มที่ยังขาดความมั่นใจในประสิทธิภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพ ดังนั้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ใช้รถควบคู่กันไปกับการใช้กลไกราคา จึงจะมีส่วนหนุนให้อุปสงค์น้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพเติบโตอย่างยั่งยืน
ดังนั้น หากต้องการกระตุ้นให้เกิดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพอย่างมีประสิทธิภาพด้วยการสร้างแรงจูงใจจากราคาอาจยังไม่เพียงพอ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ใช้รถจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญ และมีส่วนทำให้ปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพเพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืน โดยแนวทางการปรับพฤติกรรมอาจทำได้ ตั้งแต่การปรับคุณสมบัติรถรุ่นใหม่ โดยผู้ผลิตเพื่อให้สามารถรองรับน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพได้ตามนโยบายของรัฐ โดยอาจเพิ่มการรับรองมาตรฐานจากค่ายรถในรูปแบบของการให้วอรันตี (Warranty) สำหรับความเสียหายของเครื่องยนต์จากการเลือกใช้น้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพ หรือการให้บริการดัดแปลงรถรุ่นเก่าที่มีมาตรฐาน
รวมไปถึงต้องสื่อสารข้อมูลที่เข้าใจง่ายและทั่วถึงเพื่อให้ผู้ใช้รถเกิดความเข้าใจมากขึ้น ซึ่งการดำเนินการข้างต้นจะเป็นการคลายความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับเครื่องยนต์ และทำให้ผู้ใช้รถหันมาเลือกใช้น้ำมันที่ตรงตามประเภทของรถมากขึ้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า หากสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมการเลือกใช้น้ำมันให้ตรงประเภทรถได้ทั้งหมดจะเป็นผลให้รถที่เลือกเติมน้ำมันไบโอดีเซล B10 เพิ่มทุกๆ 1% จะทำให้ความต้องการน้ำมันดีเซล B10 เพิ่มขึ้นถึงประมาณ 340 ล้านลิตร และรถที่เลือกเติมเบนซิน E20 เพิ่มขึ้นทุกๆ 1% จะทำให้ความต้องการน้ำมันเบนซิน E20 เพิ่มขึ้นราว 60 ล้านลิตร
อย่างไรก็ตาม เมื่อประเด็นสำคัญ ที่ทำให้การส่งเสริมการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพเพิ่มมากขึ้น นอกจากมาตรการของภาครัฐแล้ว เอกชนหรือภาคส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างค่ายรถยนต์ต้องให้ความร่วมมือ โดยอาจเข้ามาสร้างแรงจูงใจที่ไม่ใช่ราคา เช่น การรับประกันเครื่องยนต์เมื่อเติมน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพ และการพัฒนาเครื่องยนต์สำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพที่มีประสิทธิภาพให้เทียบเท่ากับน้ำมันเชื้อเพลิงธรรมดา เป็นต้น
และที่สำคัญกระทรวงพลังงานต้องสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพของน้ำมันของประเทศ ให้เป็นที่ยอมรับของประชาชนคนใช้น้ำมัน.
บุญช่วย ค้ายาดี
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |