อยู่กับโรคด้วยความเข้าใจ คนหลัก 6 อุทิศตัวเพื่อช้าง


เพิ่มเพื่อน    

(โซไรดา ซาลวาลา)

 

      เป็นผู้หญิงเก่งและแกร่งที่อุทิศตัวเองเพื่อการดูแลช้างเจ็บป่วยและพิการมานานเกือบทั้งชีวิตก็ว่าได้ สำหรับ คุณโซ-โซไรดา ซาลวาลา ผู้ก่อตั้ง กรรมการและเลขาธิการ “มูลนิธิเพื่อนช้าง” ทั้งนี้คุณโซในวัย 63 ปี เล่าให้ฟังว่า ตัวเองป่วยตั้งแต่เด็ก เริ่มตั้งแต่เป็นโรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือ SLE ทำให้ปัจจุบันแพ้อากาศที่เปลี่ยนแปลง รวมถึงฝุ่นควันต่างๆ นอกจากนี้ก็เป็นโรคกระเพาะอาหาร อีกทั้งที่ผ่านมาก็ต้องผ่าตัดกระดูกสันหลัง รวมถึงยังป่วยเป็นโรค MS หรือปลอกประสาทในสมองอักเสบ ทำให้มีปัญหาเรื่องการทรงตัวไม่ดีเท่าที่ควร ต้องใช้ไม้เท้าช่วยเวลาเดิน และล่าสุดก็ตรวจพบหินปูนเกาะที่หัวไหล่ และกำลังจะเตรียมผ่าตัด แต่ได้เลื่อนการผ่าตัดกับคุณหมอมา 2 ครั้งแล้ว เนื่องจากติดภารกิจในการทำงานเพื่อดูแลช้างป่วย

      มีหลายคนถามคุณโซว่า โรคเยอะขนาดนี้เราอยู่มาได้อย่างไร เพราะทุกวันนี้นอกจากโรคประจำตัวที่เป็น ยังมีอาการปวดเมื่อยร่างกายอยู่ตลอดเวลา แต่ส่วนตัวก็จะปฏิเสธการกินยาแก้ปวด เพราะไม่ใช่นั้นเราจะต้องพึ่งยาแก้ปวดอยู่ตลอดเวลา แต่ยารักษาโรคประจำตัวอื่นๆ ก็รับประทานอย่างสม่ำเสมอค่ะ ทั้งนี้ สิ่งสำคัญที่ทำให้เรามีชีวิตอยู่ได้ทุกวันนี้เพราะจิตใจล้วนๆ เพราะเราทำอะไรไม่ได้ เมื่อรู้ว่ามีโรคประจำตัว เราก็ต้องอยู่กับมันให้ได้ เพราะเรายังต้องทำงานในหน้าที่ของเราอยู่ ดังนั้นถ้าวันไหนเราปวดตัวมากๆ ก็จะนอนพักนิ่งๆ อยู่บนเตียง และพยายามไม่กินยาแก้ปวดที่อาจจะมีผลข้างเคียงต่อร่างกาย กระทั่งอาการปวดเริ่มดีขึ้นก็จะค่อยๆ ลุกขึ้นมาทำงาน เพราะถ้าหากว่าเราป่วย และเราไม่ทำงานอะไรเลย มันก็ยิ่งจะทำร้ายจิตใจ ยิ่งทำให้เรารู้สึกแย่มากขึ้น ดังนั้นเราจึงมาคิดว่าเรามีโรคประจำตัวก็จริง แต่เราก็ต้องลุกขึ้นมาทำงานอะไรสักอย่าง มันจะทำให้เรามีกำลังใจเพื่อให้ชีวิตของเรามีคุณภาพ ที่สำคัญเวลาป่วยเราก็ต้องหยุดพักเพื่อให้จิตใจของเรามีพลัง พอหายป่วยก็ต้องลุกมาทำงานต่อค่ะ

      ส่วนการออกกำลังกายนั้น เนื่องจากมีปัญหาสุขภาพอยู่หลายโรค แต่เราก็จะพยายามเดินให้เยอะที่สุด และถ้าหากวันไหนเดินมากๆ กระทั่งรู้สึกปวดตัวก็จะหยุดพักไป 1 วัน และพยายามอยู่นิ่งๆเคลื่อนไหวให้น้อยที่สุด และลุกขึ้นมาทำงานในวันรุ่งขึ้นเมื่อเรารู้สึกดีขึ้น ก็จะบริหารตัวเองอย่างนี้เสมอมา เพราะเราต้องอยู่กับโรคให้ได้ นอกจากนี้หากว่าวันไหนเรารู้สึกปวดตัวมากๆ ก็จะเปิดเพลงฟัง ซึ่งเสียงเพลงช่วยได้ หรือหากนิ้วบวมเพราะพิมพ์ข้อมูลมาก ก็จะเปลี่ยนมาใช้การบันทึกด้วยเสียงแทนค่ะ เพราะเราต้องช่วยตัวเอง และอยู่กับสิ่งแวดล้อมรอบตัวให้ได้ ที่สำคัญแม้ว่าตัวเองจะไม่สามารถไปเที่ยวที่ไหนได้ ขอแค่ตัดดอกไม้สวยๆ สัก 1 ดอกมาใส่แก้วน้ำ ก็ทำให้เรารู้สึกสดชื่นแล้ว แม้ว่าไม่ได้ออกไปพักผ่อนที่ไหนก็ตาม”

        ผู้ก่อตั้ง กรรมการและเลขาธิการ “มูลนิธิเพื่อนช้าง” บอกอีกว่า “นอกจากนี้เสียงเพลงจากวิทยุทั้งเพลงสมัยเก่าอย่างเพลงสุนทราภรณ์ เพลงภาษาอังกฤษยุคเก่า และเพลงลูกทุ่ง มันทำให้ใจของเราสดชื่น ส่วนหนึ่งเราทำงานอยู่ในป่า ดังนั้นถ้ามีเสียงเพลง อาทิ เพลงสุนทราภรณ์ เปิดคลอเบาๆ ขณะทำงาน ก็ทำให้ทุกคนรู้สึกผ่อนคลายค่ะ และถ้าหากวันไหนที่คุณโซพูดเสียงดัง หรือทีมงานของเราที่ดูแลช้างอยู่ทั้งหมด 20 คน ซึ่งมีสัตวแพทย์ดูแลช้างรวมอยู่ 2 คน เริ่มใช้เสียงดังใส่กันในการทำงาน เราก็จะตั้งกล่องรับบริจาค โดยหากพูดเสียงดังจะต้องหย่อนกล่อง 50 บาท เพื่อเป็นรายได้สวัสดิการ ให้กับพนักงานของเรา ส่วนหนึ่งก็เพื่อสร้างความผ่อนคลายในการทำงาน เพราะงานที่ทำมันค่อนข้างเครียดค่ะ เนื่องจากที่ผ่านมาเราเคยเจอเคสช้างป่วย และเราต้องดูแลตลอด 24 ชั่วโมงติดต่อกันถึง 3 วัน กระทั่งบางครั้งเราต้องไล่สัตวแพทย์ไปนอนและเฝ้าเอง ซึ่งถ้าหากมีเหตุการณ์ด่วนก็ค่อยไปตามคุณหมอช้าง เพราะเรามองว่าการให้กำลังใจในการทำงานกับทีมงานเป็นเรื่องที่สำคัญค่ะ เพราะไม่อย่างนั้นทุกคนก็จะเครียดกันไปหมด”

      ถามถึงการทำงานในวัยหลัก 6 กันบ้าง คุณโซไรดา บอกว่า “ทุกวันนี้ยังทำงานอยู่ ปัจจุบันมีช้างที่อยู่ในการดูแลของเราทั้งหมด 9 เชือก แต่รักษาจนอาการดีขึ้น 4 เชือกและกลับไปแล้ว เหลือเพียง 5 เชือกที่ต้องดูแลรักษากับเราไปตลอด ซึ่งเป็นช้างเล็ก 3 เชือก และช้างใหญ่ 1 เชือก ที่เหลือก็จะเป็นช้างป่วยที่เข้ามารักษา กระทั่งหายกลับบ้านไป ก็จะมีสลับสับเปลี่ยนกันประมาณนี้ค่ะ ที่สำคัญเราต้องมีพนักงานคอยดูแลช้างที่เข้ามารับการรักษา เนื่องจากควานช้างส่วนใหญ่ก็จะมีงานประจำ หรือทำไร่ทำสวน ซึ่งบางครั้งก็ต้องแบ่งเวลากลับไปทำงานประจำค่ะ เราก็ต้องมีทีมพนักงานคอยดูแลช้างระหว่างเข้ารับการรักษากับเราด้วยเช่นกัน ดังนั้นการทำงานในวัยเกษียณของตัวเอง คิดว่าอย่างน้อยๆ ก็จะเป็นแบบอย่างให้กับคนวัยหลัก 60 กว่าๆ ที่ยังแข็งแรงได้ทำงาน เนื่องจากปัจจุบันก็จะมีหลายหน่วยงานที่รับคนวัยเกษียณทำงาน ก็จะทำให้ไม่เหงาเศร้าซึมอยู่กับบ้านค่ะ แต่อาจจะต้องเลือกงานที่ไม่ได้หนักมากสำหรับคนวัยนี้ค่ะ”.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"