เมื่อวันที่ 26 ก.พ. ที่รัฐสภา นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ชี้แจงว่าโครงการเน็ตประชารัฐ เป็นโครงการของกสทช. ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญไม่ได้ขึ้นกับนายกรัฐมนตรีการดำเนินการเป็นไปตามนโยบายของหน่วยงานตัวเอง โดยมีหน้าที่อำนวยความสะดวกให้ประชาชนอย่างทั่วถึง ทั้งนี้โครงการเน็ตประชารัฐครอบคลุมพื้นที่ 24,700 หมู่บ้าน เป็นโครงการที่ใช้งบประมาณจากการประมูล 4 จี โดยดำเนินการตั้งแต่ปี 2559 และเสร็จสิ้นเมื่อปี 2560 ส่วนโครงการยูโซ่เน็ตใช้งบของกองทุนกสทช. ที่ได้จากค่าธรรมเนียมการให้บริการเครือข่ายมือถือของบริษัทต่างๆ ซึ่งเก็บได้ร้อยละ 2.5 ต่อไป หรือ 6 - 7 พันล้านบาทต่อปี ซึ่งงบดังกล่าวกสทช. มีนโยบายเพื่อหวังเครือข่ายในพื้นที่ชนบทห่างไกลตามจังหวัดต่างๆประมาณ 15,700 หมู่บ้าน ซึ่งตนเข้าใจว่าสมาชิกที่อภิปรายเรื่องดังกล่าวอาจสับสน โดยเอาโครงการเน็ตประชารัฐกับโครงการยูโซ่เน็ตมารวมกัน
นายพุทธิพงษ์ กล่าวยืนยันว่า การใช้จ่ายงบโครงการเน็ตประชารัฐ ได้รับการตรวจสอบจากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ส่วนโครงการยูโซ่เน็ต จะดำเนินการแล้วเสร็จในปีนี้ ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ จึงสรุปได้ว่างบประมาณที่ใช้ในโครงการ เน็ตประชารัฐ และโครงการยูโซ่เน็ต ได้มาจากการประมูล 4G และค่าธรรมเนียม ซึ่งไม่ใช่งบประมาณที่แยกต่างหากหรือเป็นงบประมาณที่ตรวจสอบไม่ได้ ส่วนการประมูล 5 G ที่ผ่านมามีการแข่งขันกันสูงมีงบประมาณกว่าแสนล้านบาท โดยระบุไว้ในเงื่อนไขว่าภายใน 1 ปี ต้องดำเนินการในพื้นที่อีอีซี และเมืองใหญ่ให้แล้วเสร็จ พร้อมทั้งมีการกำหนดอัตราค่าบริการไว้อย่างชัดเจน ทำให้เชื่อได้ว่าประชาชนจะไม่ได้รับผลกระทบหรือต้องแบกภาระอะไร ทั้งนี้ขอยืนยันว่าการประมูล 5 G ไม่ได้เอื้อประโยชน์ให้กับนายทุนแต่อย่างใด แต่เป็นการผลักดันให้ประเทศไทยเป็นทางเลือกในการลงทุนในพื้นที่อีอีซี ซึ่งเป็นการแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านโดยเชื่อมั่นว่าจะสร้างความคุ้มค่า และผลประโยชน์ให้กับประเทศ
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |