ทุบสถิติ! ปรับเฉียดพันล้านปั่นหุ้น


เพิ่มเพื่อน    

26 มี.ค.2561 - ข่าวสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ฉบับที่ 26/2561 ซึ่งได้ดำเนินการกับผู้กระทำผิด 25 ราย กรณีร่วมกันสร้างราคาหลักทรัพย์ หรือปั่นหุ้น NEWS, MILL, POLAR, NBC, NINE และ NINE-W1 โดยให้พนักงานอัยการดำเนินการฟ้องเป็นคดีต่อศาลแพ่ง เพื่อขอให้ชำระค่าปรับทางแพ่ง  890,789,424 บาทนั้น ถือเป็นการลงโทษทางแพ่งที่สูงที่สุดรับตั้งแต่ก่อตั้ง ก.ล.ต.เมื่อปี 2535 เลยทีเดียว  

ทั้งนี้หากสำรวจจากเว็บไซต์ของ ก.ล.ต.ที่เปิดเผยข้อมูลคดีการเปรียบเทียบปรับนั้นจะเห็นส่วนใหญ่อยู่ในระดับแสนถึงระดับหลายสิบล้านบาทเท่านั้น แต่กรณีนี้เป็นครั้งแรกในยุค 4.0 ที่เฉียดระดับพันล้านบาทโดยทีเดียว ซึ่งข้อมูลการเปรียบเทียบปรับที่มีทั้งสิ้น 178 รายการนั้น รายการแรกคือ  รายการเมื่อปี 2552 ที่มีการปรับนายศิริชัย รัศมีจันทร์ ในวงเงิน 5 แสนบาทจากกรณีอินไซเดอร์หุ้น ASCON ในขณะที่ปี 2552 ผู้ที่มีถูกปรับมากที่สุด คือ นายเอก พุทธาโกฐิรัตน์ ในกรณีสร้างราคาหุ้น TWZ โดยถูกเรียกปรับ 14,430,242.68 บาท

ส่วนในปี 2553 นั้น ตามข้อมูลของ ก.ล.ต.เริ่มต้นด้วยการเปรียบเทียบปรับนายอานนท์ชัย วีระประวัติ จำนวน 5 แสนบาทในกรณีสร้างราคา SINGHA ซึ่งก็ถือว่ามากที่สุดของปีด้วย ในขณะที่ 2554 นั้นเริ่มต้นด้วยการเปรียบเทียบปรับ นายชัชพงศ์ มัญชุภา จำนวน 685,785.60 บาท ในการอินไซเดอร์หุ้น SLC  ซึ่งในปีนี้ถือเป็นปีที่ ก.ล.ต.เปรียบเทียบปรับหลายบุคคลในระดับหลายสิบล้านบาท โดยที่มากที่สุดคือ นายพัฒนพงษ์ ตนุมัธยา ที่ถูกเปรียบเทียบ 48,127,389.54 บาทในการปั่นหุ้น ASCON

ปี 2555 ปรับสูงสุดคือ นายประสงค์ สุวิวัฒน์ธนชัย จำนวน 80,995,415.67 บาทในการปั่นหุ้น UNIQ ปี 2556 ปรับสูงสุดคือ นายศิริวัฒน์ อนันต์คูศรี ในข้อหาอินไซเดอร์ในหุ้น STPI โดยปรับ 15,861,919.29 บาท ในขณะที่ปี 2557 นั้นปรับสูงสุด คือ นายสมเดช ลีสวัสดิ์ตระกูล และน.ส.อังคกาญจน์ ตันติวิรุฬห์ วงเงิน 25,665,197.13 บาท ในการปั่นหุ้น RICH ซึ่งทั้งคู่ไม่ชำระค่าปรับ ก.ล.ต.จึงได้ร้องต่อให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ดำเนินการต่อ

ปี 2558 ที่ถือเป็นทอล์กออฟเดอะทาวน์ เมื่อเปรียบเทียบปรับ นายก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ประธานกรรมการบริหารบริษัทซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ในกรณีอินไซเดอร์หุ้น MAKRO ซึ่งมีการปรับถึง 30,228,000 บาท ส่วนในปี 2559 นั้นที่เป็นข่าวดังและมีมูลค่ามากที่สุด คือ การสั่งเปรียบเทียบ 9 รายในกรณีปั่นหุ้น UMI โดยเปรียบเทียบปรับถึง  447,263,780.45 บาท ซึ่งมี 4 รายที่ไม่ยอมชำระค่าปรับและต้องส่งให้ดีเอสไอดำเนินการต่อ

จนมาถึงกรณีล่าสุดที่ปรับถึง 890,789,424 บาทในผู้เกี่ยวข้อง 25 ราย  ที่สำคัญการลงโทษครั้งนี้ยังรุนแรงอย่างยิ่ง เพราะเมื่อคณะกรรมการพิจารณามาตรการลงโทษทางแพ่ง (ค.ม.พ.) ปรับทางแพ่งกับผู้กระทำผิดแล้ว ยังมีผลทำให้ผู้กระทำผิดทั้งหมดเป็นผู้มีลักษณะขาดความน่าไว้วางใจในการเป็นกรรมการหรือผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์และบริษัทจดทะเบียน หรือผู้ง่ายๆ คือ ทั้ง 25 รายดังกล่าวจะไม่สามารถนั่งบริหารบริษัทในตลาดหุ้นได้เลย นอกจากนี้ ก.ล.ต.ยังได้รายงานการดำเนินการดังกล่าวต่อสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) เนื่องจากความผิดเกี่ยวกับการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ดังกล่าวเป็นความผิดมูลฐานตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 อีกด้วย.
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"