ภาพรถเมล์ถูกเผา ในการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.)เมื่อปี 2552
26 มี.ค. 61 - ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก พนักงานอัยการสำนักงานคดีอาญา 10 นำตัวนายวีระกานต์ มุสิกพงศ์ อดีตประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.), นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำ นปช. กับพวกรวม 10 คน มายื่นฟ้องเป็นจำเลย กรณีกลุ่ม นปช.จัดการชุมนุมใหญ่ขับไล่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ครั้งแรกเมื่อปี 2552 ในความผิดฐานร่วมกันทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจาฯ เพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่อง ให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116, มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปฯ กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง โดยเป็นหัวหน้าหรือผู้มีหน้าที่สั่งการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215 และทำการฝ่าฝืน พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ที่ห้ามชุมนุมกันตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป รวมทั้งสิ้น 3 ข้อหา โดยอัยการได้แยกข้อหาฟ้องจำเลยแต่ละคนดังนี้ นายวีระกานต์ อายุ 70 ปี อดีตประธาน นปช.จำเลยที่ 1, นายจตุพร พรหมพันธุ์ อายุ 53 ปี ประธาน นปช. จำเลยที่ 2 และนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ อายุ 43 ปี แกนนำ นปช. จำเลยที่ 3 ในความผิดฐานร่วมกันชุมนุม ณ ที่ใดตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป อันเป็นการฝ่าฝืนข้อกำหนดตามมาตรา 9 พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ
นพ.เหวง โตจิราการ อายุ 67 ปี แกนนำ นปช. จำเลยที่ 4, นายสิระ หรือสรวิชญ์ พิมพ์กลาง อายุ 59 ปี แกนนำคนเสื้อแดง จ.สกลนคร จำเลยที่ 5, นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไท อายุ 67 ปี แกนนำ นปช. จำเลยที่ 7, นายพิพัฒน์ชัย หรือสมชาย ไพบูลย์ อายุ 49 ปี แนวร่วม นปช. จำเลยที่ 8 และนายพายัพ ปั้นเกตุ อายุ 59 ปี แนวร่วม นปช. จำเลยที่ 9 ถูกยื่นฟ้อง 3 ข้อหา ในความผิดฐานร่วมกันทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจาฯ เพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่อง ให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116, มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปฯ กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง โดยเป็นหัวหน้าหรือผู้มีหน้าที่สั่งการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215 และทำการฝ่าฝืน พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ที่ห้ามชุมนุมกันตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป
ส่วนนายณรงศักดิ์ มณี อายุ 52 ปี ชาว จ.นครสวรรค์ จำเลยที่ 6 ถูกยื่นฟ้องข้อหามั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปฯ กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง โดยเป็นหัวหน้าหรือผู้มีหน้าที่สั่งการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215 และนายพงศ์พิเชษฐ์ หรือพิเชษฐ์ สุขจินดาทอง อายุ 60 ปี แนวร่วม นปช.จำเลยที่ 10 ถูกยื่นฟ้อง 2 ข้อหา ในความผิดฐานร่วมกันทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจาฯ เพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่อง ให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 และมั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปฯ กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง โดยเป็นหัวหน้าหรือผู้มีหน้าที่สั่งการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215
คำฟ้องอัยการระบุพฤติการณ์สรุปว่า ภายหลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำพิพากษายุบพรรคไทยรักไทยและตัดสิทธิทางการเมืองของกรรมการบริหารพรรคเมื่อวันที่ 30 พ.ค. 2550 ก็ได้มีการจัดตั้งกลุ่ม นปช.ขึ้นมา โดยมีนายวีระกานต์ จำเลยที่ 1 เป็นประธาน ซึ่งจำเลยกับพวกที่เป็นแกนนำก็ได้นัดรวมตัวเพื่อเคลื่อนไหวกันตั้งแต่วันที่ 31 ม.ค. 2552 เรื่อยมา กระทั่งวันที่ 26 มี.ค. 2552 กลุ่มผู้ชุมนุม นปช.ได้ปิดทางเข้าออกทำเนียบรัฐบาลเพื่อขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ และเมื่อสถานการณ์ชุมนุมเริ่มรุนแรงขึ้นก็มีผู้ชุมนุมบางส่วนเคลื่อนขบวนไปยังบ้านพักของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี (บ้านพักสี่เสาเทเวศร์) เพื่อกดดันให้ พล.อ.เปรม, พล.อ.สุรยุทธ์ จุฬานนท์ และนายชาญชัย ลิขิตจิตถะ ลาออกจากตำแหน่งองคมนตรีด้วย ระหว่างนั้นก็ยังกดดันให้นายอภิสิทธิ์และนายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ ลาออกจากตำแหน่งเช่นกัน กระทั่งวันที่ 9 เม.ย. 2552 ซึ่งผู้ชุมนุมได้ประกาศกำหนดเส้นตายให้บุคคลดังกล่าวลาออกจากตำแหน่งแล้ว แต่รัฐบาลขณะนั้นไม่มีท่าทีจะปฏิบัติตาม แกนนำและกลุ่มผู้ชุมนุมบางส่วนได้กระจายกำลังไปปิดล้อมสถานที่ราชการสำคัญหลายแห่งใน กทม.รวมทั้งการปิดกั้นจราจรในพื้นที่ต่างๆ ตามที่กลุ่มผู้ชุมนุมได้ประกาศไว้
จากนั้นเมื่อพบว่าสถานการณ์ทางการเมืองและการชุมนุมของ นปช.ทวีความรุนแรง นายอภิสิทธิ์ นายกรัฐมนตรีขณะนั้นจึงได้ประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เพื่อควบคุมสถานการณ์ไม่ให้เกิดความเสียหายแก่รัฐมากขึ้น และได้มีการออกข้อกำหนดห้ามไม่ให้มั่วสุมกันตั้งแต่ 5 คนขึ้นไปในท้องที่ กทม. แต่ภายหลังการออกประกาศและข้อกำหนดแล้วจนถึงวันที่ 14 เม.ย. 2552 กลุ่มผู้ชุมนุมยังคงชุมนุมและปราศรัยปลุกระดมยุยง ณ เวทีบริเวณสะพานชมัยมรุเชษฐ์ ข้างทำเนียบรัฐบาล รวมทั้งการทำลายทรัพย์สินของทางราชการ, ยึดและเผารถโดยสารประจำทางในพื้นที่ กทม. และนำรถบรรทุกแก๊สไปจอดไว้กลางถนนเพื่อข่มขู่ประชาชนและเจ้าหน้าที่ซึ่งกำลังปฏิบัติหน้าที่ ทำให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง และประชาชนเดือดร้อนเสียหาย โดยกลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน เหตุเกิดที่แขวง-เขตดุสิต, แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี, แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร และแขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กทม. ท้ายฟ้องอัยการยังได้ขอให้ศาลนับโทษของนายวีระกานต์, นายจตุพร, นายณัฐวุฒิ, นพ.เหวง และนายวิภูแถลง ในคดีนี้ต่อจากคดีอาญาหมายเลขดำ อ.2542/2553 ที่ถูกฟ้องในข้อหาร่วมกันก่อการร้ายด้วย โดยพนักงานสอบสวนได้แจ้งสิทธิแจ้งข้อกล่าวหาและทำการสอบสวนจำเลยทั้งสิบตั้งแต่เดือน เม.ย. 2552 – 18 มิ.ย. 2552 แล้ว ชั้นสอบสวนจำเลยทั้งหมดให้การปฏิเสธ
ศาลประทับรับฟ้องไว้เป็นคดีหมายเลขดำ อ.968/2561 โดยศาลจะเบิกตัวนายจตุพร จำเลยที่ 2 ในคดีนี้ ซึ่งถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ในคดีหมิ่นประมาทนายอภิสิทธิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี มาสอบคำให้การพร้อมกับจำเลยอื่นในวันที่ 27 มี.ค.นี้ เวลา 9.00 น.
โดยก่อนการถูกยื่นฟ้อง นายณัฐวุฒิ กล่าวว่า พวกตนถูกดำเนินคดีทั้งในกรุงเทพฯ และพัทยา เราได้ทำเรื่องร้องขอความเป็นธรรมไปยังอัยการสูงสุดว่าเป็นการฟ้องซ้ำหรือไม่ ซึ่งขณะนี้เรื่องก็ยังอยู่ในกระบวนการพิจารณา ยังไม่มีข้อสรุปจากอัยการสูงสุด อย่างไรก็ตาม เมื่ออัยการส่งตัวมาฟ้องก็ได้เตรียมหลักทรัพย์ยื่นประกันตัวขอสู้คดีตามกระบวนการต่อไป เป็นเงินสดคนละ 2 แสนบาท และวันที่ 29 มี.ค.นี้ ตนก็ต้องไปพบพนักงานอัยการที่พัทยาอีกในคดีอื่นปีเดียวกัน จากการชุมนุมครั้งเดียวกันปี 2552 ทุกคดีเราพร้อมสู้ตามกระบวนการยุติธรรมถึงที่สุด และต้องร้องขอความเป็นธรรมว่าการฟ้องซ้ำซ้อนเช่นนี้ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
นายณัฐวุฒิ กล่าวต่อไปว่า บรรทัดฐานในคดีนี้น่าจะเทียบเคียงได้กับกรณีชุมนุมทางการเมืองอื่นๆ เช่น กลุ่ม กปปส.ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลยที่ขัดขวางการเลือกตั้งที่ จ.พัทลุงแล้ว ก็น่าจะมีการดำเนินคดีกับแกนนำและผู้สนับสนุนในส่วนกลางที่ปลุกระดมให้มีการขัดขวางการเลือกตั้งด้วย หรือแม้กระทั่งการก่อเหตุใช้อาวุธปืนยิงกันที่แยกหลักสี่ ที่มือปืนป๊อบคอร์นถูกดำเนินคดี ก็ยังมีชายฉกรรจ์อีกจำนวนมากในกลุ่ม กปปส.ที่ถืออาวุธ ปรากฏเห็นหน้าตาชัดเจนก็ยังไม่มีการดำเนินคดี
“ผมอยากเห็นกระบวนการยุติธรรมที่มีมาตรฐานเดียวกันชัดเจนตรงไปตรงมา ยืนยันว่าไม่ได้มีความคิดที่จะตามหาเรื่อง หรือไปผูกพยาบาทใดๆ กับการชุมนุมทางการเมืองของกลุ่มอื่น” นายณัฐวุฒิ กล่าว
ด้าน นพ.เหวง กล่าวว่า คดีที่อัยการยื่นฟ้องวันนี้เป็นเหตุการณ์ชุมนุมของกลุ่ม นปช. ช่วงเดือน เม.ย.-ส.ค.ที่สะพานชมัยมรุเชษฐ เมื่อปี 2552 ซึ่งพนักงานสอบสวน สน.ดุสิตได้ดำเนินการสอบสวนมาโดยตลอด แต่คดีก็เงียบหายไปนาน เพิ่งมาโผล่ตอนศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้จำคุกกลุ่มของนายอริสมันต์ พงษ์เรืองรอง แกนนำ นปช.กับพวก กรณีประท้วงการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่พัทยาในปีเดียวกัน จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ อัยการสำนักงานคดีอาญา 10 ก็แจ้งให้ไปพบเพื่อรายงานตัว 2-3 ครั้งแล้ว ในที่สุดอัยการก็มีคำสั่งฟ้องผู้ต้องหารวมทั้งหมด 22 ราย แต่นัดส่งตัวฟ้องต่อศาลอาญาในวันนี้เพียง 15 ราย ข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 ส่วนผู้ต้องหาที่เหลืออาจจะยังตามตัวไม่ได้ ซึ่งทุกคนยืนยันว่าเราไม่มีอะไรผิด และจะให้การปฏิเสธข้อกล่าวหา ก็ต้องสู้คดีกันในชั้นศาล ซึ่งตอนนี้คิดว่าอัยการฟ้องซ้ำกับคดีที่พัทยาหรือไม่ เพราะเป็นลักษณะแบบเดียวกัน แต่เหตุการณ์เกิดขึ้นหลายที่ในปี 2552
“เป็นเหตุการณ์ชุมนุมห้วงสุดท้ายของ กลุ่ม นปช.เมื่อปี 2552 ก่อนเหตุการณ์จะยุติ ผมนี่เป็นคนส่งชาวบ้านคนสุดท้ายกลับบ้าน และยังเตือนกับทหารว่าอย่าทำอย่างนี้กับประชาชน เพราะไม่ใช่อาชญากร รวมแล้วก็ประมาณ 9 ปีที่แล้ว คือถ้าเขาเล่นงานพวกผมก่อนปี 2553 จับเข้าคุกไป ก็จะไม่เกิดเหตุการณ์สลายม็อบ นปช.ปี 2553 แล้วทำไมตอนนี้ถึงเพิ่งมาฟ้อง พวกผมก็คิดโดยบริสุทธิ์ใจว่าคดีนี้น่าจะยุติไปแล้ว”
ภายหลังอัยการยื่นฟ้องแกนนำและแนวร่วม นปช.ทั้ง 10 คนต่อศาล ในข้อหาปลุกปั่น ยุยง จัดชุมนุมใน กทม.กดดันรัฐบาลนายอภิสิทธิ์และองคมนตรีให้ลาออกแล้ว ทนายความจำเลยทั้ง 9 คน ยกเว้นนายจตุพรซึ่งถูกคุมขังในคดีอื่น ได้ยื่นคำร้องพร้อมหลักทรัพย์เป็นเงินสดคนละ 2 แสนบาท เพื่อขอปล่อยชั่วคราวระหว่างสู้คดี ซึ่งล่าสุดศาลได้มีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยทั้งหมดแล้ว โดยตีราคาประกันคนละ 2 แสนบาท ไม่กำหนดเงื่อนไขใดๆ
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |