เสริมทักษะชีวิตเด็ก เอาตัวรอดเมื่อภัยมา


เพิ่มเพื่อน    


จากข้อมูลสถิติของศูนย์วิจัยเพื่อสร้างความปลอดภัยในเด็ก โรงพยาบาลรามาธิบดี พบว่า เด็กอายุตั้งแต่ 1-14 ปี เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจำนวน 2,200 รายต่อปี โดยมีสาเหตุจากการจมน้ำและอุบัติเหตุบนท้องถนน ดังนั้นการสอนทักษะการเอาชีวิตรอดจากภัยต่างๆ ที่อาจเข้ามาและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะเป็นความรู้เพื่อให้ติดตัวพวกเขาตลอดไป

เมื่อเร็วๆ นี้ ที่อุทยานการเรียนรู้ TK park ย่านราชประสงค์ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ สมาคมเวชศาสตร์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับสำนักงานอุทยานการเรียนรู้ TK park หน่วยงานภายใต้สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ จัดกิจกรรมเข้าค่ายฝึกทักษะ “รู้รอดปลอดภัย” ครั้งที่ 4

โดยในครั้งมีความแตกต่างจากการจัดค่ายทั้ง 3 ครั้งที่ผ่านมาคือ เปิดโอกาสให้เยาวชนอายุระหว่าง 9-12 ปี เข้าร่วมกิจกรรมเต็มรูปแบบ จำนวน 45 คน และเปิดโอกาสให้ผู้ที่มาใช้บริการอื่นๆ เข้าร่วมกิจกรรมด้วย เพื่อเสริมทักษะการดูแลตนเองให้ปลอดภัย โตไปเป็นผู้ใหญ่ที่แข็งแรง รู้วิธีร้องขอเมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินได้

ทั้งนี้ ภายในงานได้มีวิทยากรมาให้ความรู้จากทีมบุคลากรจากโรงพยาบาลราชวิถี กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กทม. มูลนิธิร่วมกตัญญู มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ศูนย์ความปลอดภัย โรงพยาบาลรามาธิบดี และสำนักการลูกเสือ ยุวกาชาดและกิจการนักเรียน กระทรวงศึกษาธิการ

ด.ช.กวิน อุปการกูล นักเรียนชั้น ป.5 จากโรงเรียนสารสาสน์เอกตรา กรุงเทพฯ วัย 9 ปี ที่ครูพี่เลี้ยงเห็นแววในการกล้าที่จะคิดและแสดงออก และสนใจที่จะเข้าร่วมกิจกรรมด้วยความกระตือรือร้นทุกฐาน เล่าว่า คุณแม่เป็นคนสมัครให้ ซึ่งผมมองว่าน่าจะเป็นกิจกรรมที่สนุก

“สิ่งที่ผมได้วันนี้คือความรู้ ฝึกการช่วยชีวิตคน ได้รู้จักกับเพื่อนใหม่ๆ และยังโชคดีได้เจอเพื่อนที่อยู่คอนโดฯ เดียวกันด้วย ที่เคยซ้อมการหนีไฟและการปฐมพยาบาลเบื้องต้นมาด้วยกัน” กวินกล่าว

ด.ญ.มัชฌิมา ดุรงค์วิริยะ นักเรียนชั้น ป.5 โรงเรียนมาแตร์เดอี กรุงเทพฯ วัย 12 ปี เล่าว่า รู้จักค่ายนี้เพราะว่าคุณแม่สมัครให้ เพราะหนูชอบมาอ่านหนังสือที่ TK park เป็นประจำ คิดว่าค่ายนี้ก็สนุกดี ได้มีเพื่อนต่างโรงเรียน หนูชอบฐานปั๊มหัวใจ เพราะเคยทำมาก่อนทั้งที่โรงเรียนและที่สวนลุมพินี แต่ที่แตกต่างจากค่ายอื่นคือ ที่นี่เขาสอนเรื่องภัยใกล้ตัวเราและอันตรายที่จะเกิดขึ้นภายในบ้าน เพราะคนส่วนมากจะมองข้ามเรื่องนี้

“อนาคตหนูไม่ได้อยากเป็นหมอ หนูอยากเป็นนักธรรมชาติวิทยา ส่วนที่หนูมาเข้าค่ายเพราะหนูต้องการมีความรู้ไว้สำหรับตนเองและช่วยเหลือคนในครอบครัว รวมทั้งคนรอบข้างด้วย”

ด้านน้องเล็กอย่าง ด.ญ.เมธินี มีทรัพย์อนันต์ นักเรียนชั้นอนุบาล 3 โรงเรียนสมิทพงษ์ กรุงเทพฯ วัย 5 ปี บอกว่า พี่ๆ ข้างบ้านเป็นคนพาหนูมาเข้าค่าย หนูไม่รู้ว่าค่ายเป็นอย่างไร เคยไปแต่ทัศนศึกษา ไปซาฟารี มาทำกิจกรรมที่นี้ชอบการปั๊มหัวใจกับหุ่น แต่ก็ยังไม่มีแรงเหมือนผู้ใหญ่เลยปั๊มไม่ค่อยได้ แต่อย่างน้อยก็รู้วิธีที่จะช่วยคนอื่นได้ด้วยการโทร.1669 หน่วยกู้ชีพฉุกเฉิน

“รู้สึกดีใจที่ได้มาร่วมกิจกรรมนี้ ทำให้เด็กๆ ได้มาร่วมกิจกรรมที่สร้างสรรค์อีกเยอะ ถ้ามีการจัดกิจกรรมอีก หนูจะมาอีกคะ”

ขณะที่ ศ.เกียรติคุณ นพ.สันต์ หัตถีรัตน์ นายกสมาคมเวชศาสตร์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย กล่าวว่า กิจกรรมเข้าค่ายรู้รอดปลอดภัยจัดขึ้นต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 4 เน้นฝึกทักษะให้ความรู้ภายใต้โครงการส่งเสริมและป้องกันคนไทยไม่ให้เจ็บป่วยฉุกเฉิน โดยเปิดโอกาสให้เยาวชนไทยได้เรียนรู้วีธีป้องกันตนเองได้ และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง เน้นกระตุ้นให้เด็ก เยาวชน ผู้ปกครอง และประชาชนทั่วไปให้ใส่ใจดูแลสุขภาพของตนเองและคนรอบข้างไม่ให้เจ็บป่วย หรือหากเจ็บป่วยแล้วสามารถควบคุมโรคและไม่กระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน หรือหากมีอาการเจ็บป่วยฉุกเฉินก็สามารถดูแลตนเองในเบื้องต้นได้ เพื่อไม่ให้เกิดความรุนแรงของโรค หรือเมื่อมีเหตุฉุกเฉินสามารถเรียกหน่วยกู้ชีพฉุกเฉิน 1669 ได้

“จากข้อมูลสถิติของศูนย์วิจัยเพื่อสร้างความปลอดภัยในเด็ก โรงพยาบาลรามาธิบดี พบว่า เด็กอายุตั้งแต่ 1-14 ปี เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจำนวน 2,200 รายต่อปี เป็นการเสียชีวิตจากการจมน้ำและอุบัติเหตุจราจร ดังนั้นจึงเป็นที่มาของการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ ขณะเดียวกัน หากทักษะการดูแลตนเองและช่วยเหลือผู้อื่นในภาวะฉุกเฉินได้บรรจุเข้าเป็นหลักสูตรหรือในวิชาทักษะชีวิตจะเป็นเรื่องที่น่ายินดีมาก เพราะเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้เรียนจะได้เรียนรู้วิธีป้องกันตนเองหรือคนรอบข้างไม่ให้เจ็บป่วยได้ ในอดีตเรามีการเรียนการสอนในวิชาลูกเสือ แต่ปัจจุบันเด็กต้องเรียนและมีเนื้อหาการศึกษาต่างๆ เป็นจำนวนมาก จึงทำให้การเสริมทักษะในด้านนี้ลดลง” ศ.เกียรติคุณ นพ.สันต์ กล่าว
พญ.ณธิดา สุเมธโชติเมธา กลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน รพ.ราชวิถี กล่าวว่า เมื่อเทียบกับเด็กต่างประเทศในวัยเดียวกัน เด็กไทยมีองค์ความรู้เรื่องการดูแลตนเอง การปฐมพยาบาลน้อยกว่าประเทศอื่น ระบบการศึกษาไทยไม่เอื้อต่อการเพิ่มองค์ความรู้ อาทิ ในต่างประเทศ เด็กอายุ 12-13 ปี สามารถทำ CPR การปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้ หรือใช้เครื่อง AED หรือเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติได้ ในขณะที่ประเทศไทยยังคงเน้นเรื่องของการติดตั้งเครื่อง AED ให้มีในที่สาธารณะ แต่ไม่เคยฝึกการใช้เครื่อง

พญ.ณธิดากล่าวว่า การจัดค่ายครั้งนี้เป็นการเปิดโอกาสให้เด็กที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม นับว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะผู้ปกครองและเด็กให้ความสนใจในเรื่องดังกล่าวจึงพากันมาสมัครเข้าค่าย ซึ่งสิ่งที่เราทำเปรียบเสมือนจุดเริ่มต้นเล็กๆ ที่เราคาดว่าหน่วยงานที่ใหญ่กว่าเรา เช่น กระทรวงศึกษาธิการ จะนำรูปแบบในการจัดกิจกรรมไปต่อยอดเป็นในหลักสูตรการศึกษาหรือกิจกรรมพิเศษเพื่อให้เด็กไทยในอนาคต และทุกวัยมีความตระหนักรู้ในเรื่องของการดูแลตนเอง และสามารถเอาตัวรอดเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้นมาได้

การเตรียมตัวรู้รอดเมื่อภัยมา เป็นสิ่งที่จำเป็นและต้องได้รับการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง เพราะจะเป็นความรู้ที่ติดตัวพวกเขาไปตลอดชีวิต ทั้งการช่วยตัวเองและผู้อื่นๆ ให้พ้นจากภยันตรายต่างๆ ได้.

หมอประกิตยก 3 เหตุผลโต้"บุหรี่ไฟฟ้า"

ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ภาคี สสส. กล่าวถึงกรณีการอ้างงานวิจัยบุหรี่ไฟฟ้าอันตรายน้อยกว่าบุหรี่ธรรมดา 95% เพื่อชวนให้คนใช้บุหรี่ไฟฟ้าในการเลิกสูบบุหรี่ และยกเลิกการห้ามนำเข้าบุหรี่ไฟฟ้าว่า วารสารการแพทย์แลนเซทของอังกฤษ ซึ่งเป็นวารสารวิชาการแพทย์ที่ทั่วโลกให้ความเชื่อถือ ได้ลงบทบรรณาธิการวิเคราะห์และวิจารณ์ถึงปัญหาความน่าเชื่อถือของขบวนการที่ทำให้ได้มาซึ่งข้อสรุปว่า บุหรี่ไฟฟ้าอันตรายน้อยกว่าบุหรี่ธรรมดา 95% มีความไม่น่าเชื่อถือจากข้อสังเกต ดังนี้

1 .ความเห็นดังกล่าวที่เสนอต่อพับลิกเฮลธ์อิงแลนด์ อ้างอิงอีกรายงานหนึ่งที่มาจากการประชุมของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ 12 คน ทำการประชุมเพียงครั้งเดียว ในเดือนกรกฎาคม 2556 ที่กรุงลอนดอน เพื่อประเมินอันตรายของผลิตภัณฑ์ยาสูบชนิดต่างๆ รวมทั้งบุหรี่ไฟฟ้า แต่ไม่มีการเปิดเผยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ใช้คัดเลือกผู้เชี่ยวชาญที่เข้าร่วมประชุม ที่คลางแคลงใจกันมากคือ จำนวนผู้เชี่ยวชาญนี้ มี 2 คนที่โยงใยกับอุตสาหกรรมผลิตบุหรี่ไฟฟ้า

2.ในการให้ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่ร่วมประชุม ใช้วิธีการให้คะแนนอันตรายของผลิตภัณฑ์ยาสูบชนิดต่างๆ โดยไม่มีการแสดงหลักฐานสนับสนุนความเห็นของแต่ละคนเพื่ออ้างอิง

3.ที่สำคัญ กลุ่มผู้เขียนผลการศึกษาเองได้ระบุชัดในรายงานยอมรับว่า ระเบียบวิจัยที่นำมาซึ่งข้อสรุปยังมีปัญหา และผู้ร่วมทำรายงานเกี่ยวพันมีผลประโยชน์ทับซ้อน แต่กลับไม่ระบุไว้ในผลรายงานที่เสนอต่อพับลิกเฮลธ์อิงแลนด์แต่อย่างใด

นอกจากนี้ มีเพียงองค์กรพับลิกเฮลธ์อิงแลนด์ที่รับรองรายงานชิ้นนี้แล้ว อีก 2 องค์กรคือ ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งลอนดอน และองค์กรรณรงค์ไม่สูบบุหรี่แอช ยูเค (ASH UK) ให้การรับรองรายงานเพียงบางส่วน และยังขอให้ใช้ความระมัดระวังในการนำไปอ้างอิง ส่วนองค์กรสุขภาพอื่นทั้งในอังกฤษ สหรัฐอเมริกา รวมทั้งองค์กรนานาชาติ ยังไม่ยอมรับรายงานที่ยังมีปัญหานี้

ศ.นพ.ประกิตกล่าวต่อว่า ที่สำคัญองค์การอนามัยโลกจัดทำรายงานเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า โดยการทบทวนรายงานวิชาการทั้งหมด 175 รายงานที่มีการเผยแพร่จนถึงปี 2558 พบว่า 34% หรือ 60 รายงาน เป็นรายงานที่มีปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อน โดยได้รับการสนับสนุนทุนหรือเกี่ยวพันกับธุรกิจยาสูบ ซึ่งรายงานเหล่านี้ล้วนจะออกมาในทางที่บุหรี่ไฟฟ้ามีอันตรายน้อย

“ข้ออ้างว่าบุหรี่ไฟฟ้าอันตรายน้อยกว่าบุหรี่ธรรมดา 95% จึงเป็นความผิดพลาดของพับลิกเฮลธ์อิงแลนด์ ที่รีบเร่งไปยอมรับรายงานที่ว่าตั้งแต่ต้น โดยไม่ได้ศึกษารายละเอียดอย่างรอบคอบ เป็นเหตุให้อีกฝ่ายที่บุกตลาดขายบุหรี่ไฟฟ้านำมาเป็นข้อมูลอ้างอิง สร้างความสับสนให้แก่สังคม” เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่กล่าว.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"