ระดมแนวคิดแก้ปัญหา PM 2.5  พุ่งเป้าไทยต้องยกระดับเครื่องยนต์เป็นยูโร5-6 


เพิ่มเพื่อน    

   
    คงต้องยอมรับแล้วว่า ความรุนแรงของสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5จะเป็นปัญหาเกิดขึ้น  ในช่วงประเมาณเดือน มกราคม - มีนาคม ของทุกปี และกลายเป็นปัญหาระดับชาติ เพราะส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนถ้วนหน้า ไม่สามารถวางเฉย และอดทนกับสภาพมลพิษทางอากาศเช่นนี้ได้ หรือรอให้ฤดูกาลหรือทิศทางลมมาเป็นตัวช่วย ให้สถานการณ์ดีขึ้น  สรุปคือ ปัญหาPM2.5 เป็นเรื่องที่ต้องขบคิดหาทางแก้ปัญหาอย่างจริงจัง  


     ด้วยเหตุนี้ สภาวิศวกร จึงร่วมกับ สมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สมาพันธ์สภาวิชาชีพแห่งประเทศไทย และ สมาคมนักเรียนทุนรัฐบาลไทย จัดงานเสวนา “รวมพลังปัญญา แก้ปัญหา ฝุ่นพิษ” ใน 3 หัวข้อ ต้นกำเนิดฝุ่นจิ๋ว กระทบเศรษฐกิจ สุขภาพปอด, คุณภาพอากาศ ภัยฝุ่น เทคโนโลยีเตือนภัย และป้องกัน-แก้ไข 2 ระยะ ที่ใช้ได้จริงและยั่งยืน เวทีที่ระดมสมองจากนักวิชาการ ภาครัฐ-มหาวิทยาลัย เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหา PM 2.5 อย่างยั่งยืน

ดร.ประเสริฐ ตปนียางกูร


    ในส่วนของเวทีเสวนา บอกเล่าถึงต้นต่อแหล่งกำเนิดของฝุ่นที่สำคัญว่าจาก การคมนาคม   ดร.ประเสริฐ ตปนียางกูร เลขาธิการสภาวิศวกร กล่าวว่า ฝุ่น PM 2.5 เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องตระหนักอย่างจริงว่ามีอันตรายถึงชีวิต ซึ่งพบว่าผู้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร 91% เป็นผู้อยู่อาศัยในพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้  เป็นกลุ่มคนที่มีรายได้ปานกลาง-น้อย   ขณะที่ปี 2559  ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากปัญหาฝุ่นพิษ  ถึง 4.2 ล้านคน ดังนั้นประเทศไทย  ควรหาแนวทางป้องกัน อย่างที่ทราบกันดีว่าปัจจัยที่สำคัญของการเกิดPM2.5 นั้นคือ การคมนาคม โดยเฉพาะรถยนต์ดีเซลกว่า 70-80%  ทางแก้ปัญหา จึงควรยกระดับมาตรฐานรถยนต์  EURO 4  สู่มาตรฐาน EURO 5-6 ควบคู่กับการปรับค่ามาตรฐานน้ำมัน  เพื่อสามารถใช้งานกับเครื่องยนต์ EURO 5-6 โดยได้ และควรมีการนำร่องก่อน ภายในปี 2564 ในรถยนต์ขนาดเล็กที่จะเปลี่ยนมาเป็นเครื่องยนต์ EURO 5 ซึ่งจะช่วยลด PM 2.5 ได้ถึง 5 เท่า แต่ปัจจุบันต้องยอมรับว่าเรายังมีรถยต์เก่าที่อยู่ในมาตรฐาน EURO 1-3  จำนวนมาก  แม้จะมีแนวทางการแก้ไข อย่างการหันมาใช้ก๊าซธรรมชาติ หรือการปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์ แต่สำหรับผู้มีรายได้น้อยยังคงเป็นไปได้ยาก ที่จะเปลี่ยนเครื่องยนต์รถ  ทำให้ภาครัฐอาจจะต้องยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือในการชดเชยต่างๆ อย่างจริงจัง 

 


    ดร.ประเสริฐ กล่าวต่ออีกว่า ปัญหาที่สำคัญที่ยังไม่มีใครกล่าวถึงก็คือ มาตรฐานของรถบรรทุก และรถขนส่งมวลชนในกรุงเทพฯ ที่พบว่าก่อให้เกิด PM 2.5 ถึง 74% โดยรถบรรทุกมีกว่า 140,000 คัน  รถโดยสารสาธารณะของระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด หรือ ขสมก. กว่า 10,000 คัน และรถโดยสารไม่ประจำทางอีก 30,000 คัน แม้ว่าจะรถบรรทุก หรือรถขนส่งจำนวนไม่น้อยที่หันมาใช้ก๊าซธรรมชาติ และบำรุงรักษาเครื่องยนต์มากขึ้น  แต่ก็ยังไม่เพียงพอ ในการไม่ให้เกิดฝุ่น PM2.5  

การแสดงผลถ้ามีการปรับเครื่องยนต์รถยนตร์


    รศ. วงศ์พันธ์ ลิมปเสนีย์ วิทยาลัยพัฒนามหานคร มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ผู้เชี่ยวชาญควบคุมฝุ่นจากแหล่งกำเนิดไอเสีย รถยนต์ กล่าวเสริมว่า การแก้ไขปัญหาของรถยนต์ดีเซลที่มีการเผาชีวมวลเป็น 1 ใน 3 ของการก่อให้เกิดฝุ่น PM 2.5 โดยเฉพาะในเมือง โดยในปี 2547 มีการควบคุมปริมาณกำมะถัน กระทั่งลดฝุ่นพิษลงได้ 90% และทำให้ลดฝุ่นขนาดเล็ก PM 10 ได้ร้อยละ 20% ในปี 2556 ได้ปรับจากมาตรฐานEURO 3 เป็น EURO 4 ปริมาณกำมะถันไม่เกิน 50 ส่วนในล้านส่วน หรือร้อยละ 0.005 ซึ่งPM 2.5 ลดลง 4.05 มคก./ลบ.ม 


    "แต่ที่ปัญหาฝุ่นมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น  เพราะจำนวนรถยนต์เพิ่มมากขึ้นในช่วงตลอด10ปีมานี้  รถเพิ่มขึ้นถึง 10 เท่า  ซึ่งแม้จะมีการปรับมาตรฐานเครื่องยนต์ เป็น EURO 4 ก็ต้องยอมรับว่าไทยช้ากว่าต่างประเทศไปกว่า 2 ระดับ ที่ได้ปรับเป็น EURO 5-6  ถ้าไทยจะปรับปรุงมาตรฐานเครื่องรถยนต์จริงๆต้องใช้งบประมาณสูงเกือบหมื่นล้านบาท และทุกคนพร้อมจ่ายราคาน้ำมันที่สูงขึ้นหรือไม่ และหากมีการใช้รถEURO 5-6 ทั้งหมดในปี 2566-2567 คาดว่าPM 2.5 จะลดลง10 เท่า   หรือจะใช้แนวทางในการส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้า หรือก๊าซธรรมชาติ  เพื่อให้ปราศจากสารที่ก่อให้เกิดฝุ่นก็เป็นอีกหนึ่งแนวทางที่ควรเร่งรัดให้เกิดขึ้นอย่างจริงจัง" รศ. วงศ์พันธ์ กล่าว


    อีกหนึ่งปัจจัยคือการเผาในที่โล่ง โดยเฉพาะในแถบภาคเหนือ รศ.ดร.เศรษฐ์ สัมพัตตะกุล  หัวหน้าศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ หน่วยวิจัยเพื่อการจัดการพลังงานและเศรษฐนิเวศ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ไ ด้ชี้ให้เห็นถึงปริมาณ PM2.5 ที่เชียงใหม่นั้นวิกฤตกว่ากรุงเทพฯ หรือมีความหนาแน่นถึง 300-400 มคก./ลบ.ม  สาเหตุอาจมาจาก ภูมิประเทศที่เป็นแอ่งภูเขา อากาศไม่กระจายตัว และแหล่งกำเนิดที่มาจากการเผาโดยมนุษย์ถึง 90%   โดยเฉพาะในปี 2562  มีการตรวจจับจุดความร้อนโดยดาวเทียม พบว่ามีการเผาเพิ่มสูงขึ้น  แม้จะมีการตรวจวัดจุดความร้อน แต่ชาวบ้าเเองก็จะรู้ว่า เมื่อไหร่ถึงจะเผาได้โดยทางการ ไม่สามารถตรวจสอบได้  ทำให้การเผามีต่อไป ส่งผลให้คนในภาคเหนือส่วนใหญ่ป่วยเป็นมะเร็งปอดที่ข้ามขั้นไปในระยะ4    ความหวังในการแก้ปัญหาการเผาจึงต้องอาศัย  ฝนและลม ที่อาจจะพอช่วยบรรเทาได้ 

ดร. เจน ชาญณรงค์


    ด้าน ดร. เจน ชาญณรงค์ หนึ่งในผู้ที่พยายามช่วยแก้ปัญหา PM 2.5 ในนามของชมรมผู้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล ที่รวบรวมผู้มีความรู้สาขาต่างๆ มาให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหาฝุ่นผ่านเพจ "ฝ่าฝุ่น "กล่าวถึงการแก้ปัญหาว่า ตนที่ได้ลงพื้นที่อย่างที่ บ้านก้อแซนด์บ๊อกซ์ ต.ก้อ อ.ลี้ จ.ลำพูน ซึ่งพบว่า ปัญหาหลักคือเรื่องของปากท้อง จึงยากจะหลีกเลี่ยงการเผาเพื่อทำเกษตร ตนและทีมได้ดำเนินการถ่ายทอดองค์ความรู้สำคัญในแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนคือ การน้อมนำศาสตร์พระราชาอย่าง หลักเศรษฐกิจพอเพียง มาปรับใช้ เช่น การปรับปรุงระบบชลประทาน เพื่อให้ประชาชนมีน้ำใช้สำหรับการเกษตร อุปโภค-บริโภค ส่งเสริมการปลูกพืชแทน เพื่อลดการบุกรุกพื้นที่ป่าพร้อมสร้างความยั่งยืน ถ่ายทอดความรู้แก่เยาวชนในโรงเรียน  เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงผลกระทบจากการเผาป่า เป็นต้น 


    สำหรับมุมมองในการแก้ปัญทาง ด้านผังเมือง ผศ.ดร.พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ที่ผ่านมาภาครัฐดำเนินมาตรการมาอย่างต่อเนื่อง แต่ปัญหายังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม อย่างการเพิ่มพื้นที่สีเขียวจากปัจจุบัน 2-3 ตร.ม.ต่อคน เพิ่มเป็นอย่างน้อย 9-10 ตร.ม.ต่อคน ซึ่งจากการเก็บข้อมูลมา 2 เดือน(ธันวาคม 2562 – มกราคม 2563) พื้นที่ที่มีค่าฝุ่นสูงสุดอยู่ในเขตลาดกระบัง บางซื่อ บางกอกน้อย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่น จึงต้องมีมาตรฐานการวางผังเมืองและต้องลงลึกที่ระดับเขต และต้องทำให้คนรู้สึกว่าเป็นปัญหา เพื่อนำมาสู่ระดับนโยบายของการอยู่ร่วมกับชุมชน ข้อเสนอภาคประชาสังคมต้องติดตามข้อมูลข่าวสาร ทำงานเชิงสร้างสรรค์ด้วย

ดร.ศิวรักษ์ ศิวโมกษธรรม


    ในส่วนของเทคโนโลยีที่เรียกได้ว่าเป็นกำลังเสริมป้องกัน PM 2.5 ดร.ศิวรักษ์ ศิวโมกษธรรม ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของประเทศและการประยุกต์เชิงพาณิชย์ (NSD) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) บอกว่า ในการวิจัยในส่วนแรกคือเรื่องของหน้ากากอนามัย ที่ไทยมีข้อจำกัดด้านการผลิตจึงไม่เพียงพอต่อความต้องการ ทาง สวทช. จึงได้พัฒนา nMASK ด้วยเทคโนโลยีดักจับฝุ่นละอองและจุรินทรีย์โดยสารเคลือบไฮดรอกซีอะพาไทต์และไททาเนียมไดออกไซต์ บน Nonwoven ที่มีเส้นใยธรรมชาติเป็นองค์ประกอบและมีรูพรุนระหว่างเส้นใยขนาดเล็ก สามารถป้องกัน PM 2.5 ได้ 90-95% สามารถดักจับจุรินทรีย์ ทั้งไวรัสและแบคทีเรีย ป้องกันสารพิษ เช่น ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซต์ โดยได้รับมาตรฐาน ASTM F2299 TÜV SÜD PSB ประเทศสิงคโปร์


     นอกจากนี้ ยังมีเครื่องกรองฝุ่น ด้วยเทคโนโลยีการตกตะกอนเชิงไฟฟ้าสถิต ที่มีจุดเด่น ในการกรอง PM 2.5 เมื่อฝุ่นละอองเกาะเต็มแผ่นโลหะสามารถถอดไปล้างทำความสะอาดแล้วนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ที่สำคัญการกรองฝุ่นแบบไฟฟ้าสถิตสามารถออกแบบแผงกรองฝุ่นให้ลมผ่านง่าย ไม่ลดแรงลมในการดูดกรองฝุ่นละออง ทำให้พัดลมดูดฝุ่นทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีอัตราการสร้างอากาศบริสุทธิ์ประมาณ 10,000 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง  และช่วยให้ประหยัดไฟฟ้า และ เครื่องวัดฝุ่นแบบกระเจิงแสงขนาดจิ๋ว (My Air) ที่พกพาสะดวก มีความแม่นยำสูง และประหยัดพลังงาน นอกจากนี้ ยังเตรียมดำเนินการวิจัยและพัฒนา ลูกบอลดับเพลิง ขนาด 5-10 กิโลกรัม ที่ใช้ติดตั้งกับโดรนเพื่อทำหน้าที่ดับเพลิงไฟป่า ซึ่งผู้ประกอบการหรือภาครัฐที่สนใจสามารถร่วมมือกับเราในการพัฒนาและผลิตเพื่อใช้ในประเทศ


    รศ.ดร.ประพัทธ์พงษ์ อุปลา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยนวัตกรรมเมืองอัจฉริยะ (SCiRA) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า ได้พัฒนานวัตกรรม ป้ายรถเมล์อัจฉริยะ ที่สามารถในการตรวจจับปริมาณฝุ่น สั่งการพัดลมโคจรติดเพดานช่วยระบายฝุ่น พร้อมแสดงผลปริมาณฝุ่นและเฉดสีผ่านจอมอนิเตอร์ และเตือนภัยฝุ่นละอองขนาดเล็กแบบเรียลไทม์ โดยทดลองใช้ที่ ป้ายรถเมล์คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. และยังได้ร่วมมือกับ กรุงเทพมหานคร ดำเนินติดตั้งนวัตกรรมดังกล่าว ในพื้นที่ 9 จุดเสี่ยงที่พบปริมาณฝุ่นสะสมหนาแน่น ได้แก่ บางซื่อ บางเขน บางกะปิ มีนบุรี ดินแดง พระโขนง ภาษีเจริญ ป้อมปราบศัตรูพ่าย และบางคอแหลม 

    ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์


    ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ นายกสภาวิศวกร ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) นายกสมาคมนักเรียนทุนรัฐบาลไทย อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และประธานกรรมการบริหารสมาพันธ์สภาวิชาชีพแห่งประเทศไทย ทิ้งท้ายว่า ภาครัฐ จะต้องยกระดับปัญหาฝุ่น เป็นภัยพิบัติของประเทศ  แบ่งเป็น ด้านกฎหมาย โดยการเก็บภาษีรถยนต์ปล่อยควันดำ พร้อมปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์เป็น EURO 5-6 รวมถึงจำกัดปริมาณรถบรรทุกในพื้นที่กรุงเทพฯ ด้านงานวิจัย ที่รัฐควรลงทุนกับการพัฒนานวัตกรรมแก้ปัญหาฝุ่น และมีการวางระบบผังเมืองใหม่ ในส่วนของภาคเอกชน ควรให้ความร่วมมือในการแสดงผลข้อมูลปริมาณฝุ่น ผ่านจอโฆษณา LED แบบเรียลไทม์ และ ภาคประชาชน ควรตระหนักถึงผลกระทบถึงฝุ่น PM 2.5 ว่าเป็นเรื่องใกล้ตัว และสามารถส่งผลกระทบร้ายแรงถึงชีวิตของทั้งตนเองได้ 
  //////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
1 ตัวอย่างแผนแก้ปัญหาหารเผาป่า บ้านก้อแซนด์บ๊อกซ์ 
2 เครื่องกรองฝุ่น ด้วยเทคโนโลยีการตกตะกอนเชิงไฟฟ้าสถิต
3 เครื่องวัดฝุ่นแบบกระเจิงแสงขนาดจิ๋ว (My Air)
4 9 จุดเสี่ยง ติดตั้งเครื่องวัดฝุ่นจากนวัตกรรมป้ายรถเมล์อัจฉริยะ 
5 การปรับปรุงมาตรฐานรถยนต์
6 nMASK 
7 ดร. เจน ชาญณรงค์
8 ดร.ประเสริฐ ตปนียางกูร
9 ดร.ศิวรักษ์ ศิวโมกษธรรม
10 ภาพบรรยากาศการเสวนา 
11 บรรยากาศการนั่งรอรถเมล์ของประชาชน
12 ภาพฝุ่นละอองในพื้นที่กรุงเทพ 
13 ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"