23 ก.พ.63 - ช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ระหว่างวันที่ 12-21 ก.พ. คณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนนโยบายยกระดับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของผู้ต้องหาและจำเลย ได้ลงพื้นที่ตรวจศาลนำร่องจังหวัดต่างๆ ในการวางเป้าหมายหลักเกี่ยวกับการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหา/จำเลย , ลดการเรียกหลักประกัน , เพิ่มความปลอดภัยให้สังคม และลดการคุมขังที่ไม่จำเป็นในทุกขั้นตอน โดยนางเมทินี ชโลธร รองประธานศาลฎีกา ในฐานะประธานที่ปรึกษาคณะทํางานฯ พร้อมคณะทํางานฯ และนายเนติภูมิ มายสกุล ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดมหาสารคาม กับคณะผู้พิพากษาศาลจังหวัดมหาสารคาม ได้ร่วมประชุม กับกํานัน ผู้ใหญ่บ้าน จํานวน 40 คน ที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้กํากับดูแลตาม พ.ร.บ.มาตรการกํากับและติดตามจับกุมผู้หลบหนีการปล่อยชั่วคราวโดยศาล พ.ศ.2560 ของศาลจังหวัดมหาสารคาม เพื่อทําความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของผู้กํากับดูแลและรับฟังความคิดเห็น รวมถึงรับฟังปัญหา อุปสรรคต่าง ๆ ของกํานันและผู้ใหญ่บ้านในฐานะผู้กํากับดูแลที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวมาแล้ว นอกจากนี้ นางเมทินี ประธานที่ปรึกษาคณะทํางานฯ ยังได้เดินทางไปดูระบบการปล่อยชั่วคราวของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดมหาสารคาม เพื่อสอบถามผลการดําเนินงานและปัญหาข้อขัดข้องด้วย
ทั้งนี้เมื่อวันที่ 20 ก.พ.ทีผ่านมารองประธานศาลฎีกา ในฐานะประธานที่ปรึกษาคณะทำงานฯ พร้อมด้วยคณะทำงานฯ ร่วมกับคณะผู้พิพากษาศาลจังหวัดมหาสารคาม ลงพื้นที่ จ.มหาสารคาม ซึ่งเป็นศาลต้นแบบแห่งหนึ่งในโครงการตามนโยบายยกระดับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของผู้ต้องหาและจำเลย เพื่อทำกิจกรรมสัมภาษณ์ผู้ต้องหา รับทราบถึงเหตุผลที่ไม่ยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราว และผลกระทบในการถูกคุมขัง ตลอดจนความคาดหวังต่อการขอปล่อยชั่วคราวจากศาล ตามนโยบายการยกระดับสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของผู้ต้องหา/จำเลย ตามที่นายไสลเกษ ประธานศาลฎีกาแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าว ส่งเสริมให้มีการยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวโดยไม่ต้องเสนอหลักประกันมา พร้อมคำร้องขอประกัน (แบบฟอร์มคำร้องใบเดียว) โดยจัดให้มีศาลต้นแบบในการยกระดับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของผู้ต้องหา/จำเลย รวม 10 ศาลได้แก่ ศาลอาญาธนบุรี , ศาลจังหวัดธัญบุรี , ศาลจังหวัดนครนายก , ศาลจังหวัดนครราชสีมา , ศาลจังหวัดมหาสารคาม , ศาลจังหวัดลำพูน ,ศาลจังหวัดกำแพงเพชร , ศาลจังหวัดกาญจนบุรี , ศาลจังหวัดภูเก็ต , ศาลจังหวัดนาทวี
ซึ่งหลังจากการทำกิจกรรมดังกล่าวในศาลจังหวัดมหาสารคาม ปรากฏว่ามีผู้ต้องหายื่นแบบฟอร์มคำร้องใบเดียว เพื่อขอปล่อยชั่วคราวทั้งหมด 66 คำร้อง ซึ่งศาลสั่งให้มีการประเมินความเสี่ยงก่อน 26 คำร้อง , มีคำสั่งให้สอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประวัติการกระทำความผิดและความประพฤติของผู้ต้องหา 10 คำร้อง โดยท้ายที่สุด "ศาลจังหวัดมหาสารคาม" อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวโดยไม่ต้องมีประกัน 8 คำร้อง , แบบให้มีประกันแต่ไม่มีหลักทรัพย์ประกัน 12 คำร้อง , แบบมีประกันและมีหลักทรัพย์ประกัน 37 คำร้อง , กรณีที่ศาลอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว มีมาตรการควบคุมหลังการปล่อยชั่วคราว อาทิ รายงานตัวที่ศาล 4 คำร้อง , การให้ตั้งผู้กำกับดูแล 8 คำร้อง , แบบติดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (กำไลข้อเท้า EM) 35 คำร้อง , กรณีสั่ง ห้ามยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษและของมึนเมาทุกประเภท 5 คำร้อง รวมศาลมีคำสั่งปล่อยชั่วคราวทั้งหมด 66 คำร้อง โดยศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว 9 คำร้องเนื่องจากของกลาง (ยาเสพติดประเภทเมทแอมเฟตามีน) มีจำนวนมาก ซึ่งคดีมีอัตราโทษสูงและผู้ต้องหาถูกจับตามหมายจับ ในการประเมิน ความเสี่ยงคดีจึงเห็นมีความเสี่ยงสูงที่จะหลบหนีหากได้รับการปล่อยชั่วคราว
โดยในช่วงสัปดาห์เดียวกันวันที่ 19 ก.พ. นายเนติภูมิ มายสกุล ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดมหาสารคาม และคณะผู้พิพากษา ก็ได้ร่วมทำกิจกรรมเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ต้องหาในเรือนจำจังหวัดมหาสารคาม เพื่อให้ทราบถึงสิทธิในการขอปล่อยชั่วคราว และการยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวโดยไม่ต้องเสนอหลักประกันมาพร้อมแบบฟอร์มคำร้องใบเดียว และเมื่อวันที่ 12 ก.พ. นายวีรศักดิ์ ขจีจิตต์ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ซึ่งได้รับมอบหมายจากที่ประชุมคณะทำงานฯ ให้นำคณะฯ ลงพื้นที่เรือนจำกลางกำแพงเพชร ร่วมกับคณะผู้พิพากษาศาลจังหวัดกำแพงเพชร ทำกิจกรรมสัมภาษณ์ผู้ต้องหาและจำเลย เพื่อรับทราบถึงเหตุผลที่ไม่ยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราว , ผลกระทบในการถูกคุมขัง ตลอดจนความคาดหวังต่อการขอปล่อยชั่วคราวจากศาล ซึ่งศาลจังหวัดกำแพงเพชร ถือเป็นศาลนำร่องแห่งที่ 2 ตามดำเนินการขับเคลื่อนนโยบายหลักเกี่ยวกับการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหา/จำเลย ,ลดการเรียกหลักประกัน เพิ่มความปลอดภัยให้สังคม และลดการคุมขังที่ไม่จำเป็นในทุกขั้นตอน
ทั้งนี้หลังการทำกิจกรรมดังกล่าวปรากฏว่า มีผู้ต้องหาและจำเลยยื่นแบบฟอร์มคำร้องใบเดียว เพื่อขอปล่อยชั่วคราวทั้งหมด 55 คำร้อง ในจำนวนนั้นศาลสั่งให้มีการประเมินความเสี่ยง 14 คำร้อง และให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัวของผู้ต้องหา 5 คำร้อง โดยท้ายที่สุดศาลก็อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวโดยต้องไม่มีหลักทรัพย์ประกัน 19 คำร้อง , 7 คำร้องอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวนั้นก็ให้ตั้งผู้กำกับดูแลให้ทำหน้าที่รับรายงานตัวแทนศาล หรือทำหน้าที่สอดส่องดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวในการปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ศาลกำหนด , 2 คำร้องอนุญาตปล่อยชั่วคราวโดยให้ติดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (กำไลข้อเท้า EM) พร้อมกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับที่อยู่หรือการเดินทางของผู้ต้องหา , 27 คำร้องศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตเนื่องจากการประเมินความเสี่ยงหรือการตรวจสอบข้อเท็จจริงพบประวัติการกระทำความผิดมาแล้วหลายคดี หรือมีน้ำหนักความเสี่ยงสูง ทั้งนี้จากผลการดำเนินงานของคณะทำงานฯ ในศาลจังหวัดกำแพงเพชร ศาลต้นแบบแห่งที่ 2 นี้ เป็นผลให้ผู้ต้องหา/จำเลยที่มีฐานะยากจนได้รับโอกาสในการปล่อยชั่วคราวเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นไปตามนโยบายนายไสลเกษ วัฒนพันธุ์ ประธานศาลฎีกาในการยกระดับคุ้มครองสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของผู้ต้องหา/จำเลย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับนโยบายการยกระดับสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของผู้ต้องหา/จำเลย และการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าว ส่งเสริมให้มีการยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวโดยไม่ต้องเสนอหลักประกันมา พร้อมคำร้องขอประกัน (แบบฟอร์มคำร้องใบเดียว) โดยจัดให้มีศาลต้นแบบในการยกระดับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของผู้ต้องหา/จำเลย รวม 10 ศาลได้แก่ ศาลอาญาธนบุรี , ศาลจังหวัดธัญบุรี , ศาลจังหวัดนครนายก , ศาลจังหวัดนครราชสีมา , ศาลจังหวัดมหาสารคาม , ศาลจังหวัดลำพูน ,ศาลจังหวัดกำแพงเพชร , ศาลจังหวัดกาญจนบุรี , ศาลจังหวัดภูเก็ต , ศาลจังหวัดนาทวี ที่ผ่านมาคณะทำงานฯ ได้ลงพื้นที่ศาลต้นแบบแล้ว 3 แห่ง ที่ศาลจังหวัดกาญจนบุรี , ศาลจังหวัดกำแพงเพชร , ศาลจังหวัดมหาสารคาม และจะขยายผลให้ครอบคลุมทุกศาล ภายในเดือน ก.ย.63 นี้ตามที่นายไสลเกษ ประธานศาลฎีกา มีนโยบายยกระดับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานฯ .
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |