23 กุมภาพันธ์ 2563 นายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) โพสต์คลิปการอ่านคำวินิจฉัยคดียุบพรรคอนาคตใหม่ของศาลรัฐธรรมนูญ พร้อมข้อความระบุว่า
'กกต. โปรดฟังให้ชัด'
"ซึ่งการได้มาซึ่งเงินทั้ง 2 กรณีดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นจำนวนเท่าใดก็ตาม ย่อมถือว่าเป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายทั้งสิ้น"
ปัญญา อุดชาชิน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 21 กุมภาพันธ์ 2563
ดังนั้น จะมาบอกว่า พรรคใดกู้เงินน้อยกว่า 10 ล้านบาท ไม่เข้าข่ายทำผิด กม.มาตรา 72 ไม่ได้ครับ เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ โปรดทำตัวเป็นหลักให้กับบ้านเมืองด้วย
นอกจากนี้ นายสมชัย ยังยกคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ โดยระบุว่า กรณีดังกล่าวอาจสร้างความยากลำบากให้ กกต. แล้ว คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคอนาคตใหม่ เมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2563 ระบุว่า การดำเนินกิจกรรมของพรรคการเมืองต้องอาศัยรายได้ของพรรคการเมืองตามแห่งที่กำหนดไว้ใน พรป.พรรคการเมืองมาตรา 62 เงินที่พรรคนำมาใช้จ่าย ซึ่งมิได้มีแหล่งที่มาและวิธีการตามที่กฏหมายระบุไว้ ย่อมถือว่าเป็นเงินที่มิชอบด้สยกฎหมาย เป็นเหตุให้ยุบพรรคการเมืองได้
นอกจากนี้ ศาลยังให้ความเห็นว่า การที่ กกต.มีมติในการประชุมเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2562 ให้นายทะเบียนรวบรวมข้อเท็จจริงและพยานหลักฐาน และได้นำเสนอต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง มีมติในวันที่ 11 ธันวาคม 2562 ให้ยื่นคำร้องดำเนินคดีต่อศาลรัฐธรรมนูญว่า พรรคอนาคตใหม่กระทำการฝ่าฝืนมาตรา 72 อันเป็นเหตุให้ยื่นคำร้องต่อศาลวินิจฉัยตามมาตรา 92 วรรคหนึ่ง (3) การการร้องที่ชอบด้วยกฎหมาย
ดังนั้น เท่ากับศาลรับรองการกระทำของ กกต.ว่า การที่ กกต. ใช้เวลาเพียง 15 วันปฏิทิน หรือ 9 วันทำการ (27 พ.ย. - 11 ธ.ค. 2562) ที่ตั้งคณะกรรมการ รวมรวมข้อเท็จจริง ส่งเป็นวาระให้กกต.พิจารณา จนถึงการลงมติของกกต. โดยถือว่า เป็นความปรากฏ (ไม่ต้องมีผู้ร้อง) และ ไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหาต่อผู้ร้อง ไม่มีการไต่สวน ไม่เปิดโอกาสให้ผู้ถูกร้องมาแก้ข้อกล่าวหา เป็นวิธีการที่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นกระบวนการเพียงพอที่ศาลจะรับไว้พิจารณาแล้ว
ในรายงานงบการเงินปี 2562 ที่ กกต.เผยแพร่ ยังมีอีก 16 พรรคการเมืองที่ปรากฏรายการเงินกู้ และ ยังมีอีก 16 พรรคการเมือง ที่ปรากฏรายการเงินยืม โดยใช้ชื่อรายการแตกต่างกัน เช่น เงินกู้ระยะสั้น เงินกู้หัวหน้าพรรค เงินกู้กรรมการบริหารพรรค เงินกู้จากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เงินยืม เงินทดรองจ่าย ฯลฯ
รายการทั้งหมดนี้ ไม่ปรากฏใน มาตรา 62 รายการรายได้ พรป.พรรคการเมืองที่อนุญาตให้ทำได้
ศาลชี้แล้วครับว่า แม้ พรป.พรรคการเมือง 2560 มิได้บัญญัติห้ามกู้ยืมเงินสำหรับพรรคการเมืองไว้ชัดเจน แต่ก็ไม่ได้รับรองให้กระทำได้ และ เงินกู้แม้มิได้เป็นรายได้แต่ก็เป็นรายรับและเป็นเงินทางการเมือง ซึ่งต้องดำเนินการตามที่ กม.กำหนดเท่านั้น เพราะพรรคการเมืองเป็น "นิติบุคคลตามกฎหมายมหาชน"
ดังนั้น เมื่อรู้แล้ว กกต.ต้องรีบมีมติตั้ง คณะกรรมการรวบรวมข้อเท็จจริง และควรดำเนินทุกอย่างให้เสร็จสิ้นใน 9 วันทำการ โดยไม่ต้องแจ้งข้อกล่าวหาต่อพรรคและไม่ต้องให้มีการแจงข้อเท็จจริงใดๆ ตามแนวการรับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญได้เลย
หากไม่ทำ หรือ ทำช้า ศรีสุวรรณ ร้อง ปปช. และแจ้งความ 157 ประพฤติมิชอบ ได้เลยครับ
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |