แอมเนสตี้เจ้าเก่านั่งเทียนโจมตีคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ สะท้อนการใช้กระบวนการยุติธรรมเพื่อข่มขู่ คุกคาม และโจมตีพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล สถานทูตสหรัฐเอาด้วย อ้างเป็นการลิดรอนสิทธิ์ของผู้ลงคะแนนเสียง 6 ล้านคน
นิโคลัส เบเคลัง ผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เผยว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคอนาคตใหม่ สะท้อนถึงการใช้กระบวนการยุติธรรมเพื่อข่มขู่ คุกคาม และโจมตีพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาล ทางการไทยต้องกลับคำวินิจฉัยนี้ และฟื้นฟูสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออกและการสมาคมในประเทศอย่างเต็มที่
เขาอ้างว่า การยุบพรรคอนาคตใหม่ เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามอย่างต่อเนื่องของทางการไทยในการโจมตีหัวหน้าพรรคและสมาชิกพรรค ตั้งแต่ช่วงก่อนการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อเดือนมีนาคม 2562 ทั้งก่อนและนับแต่การเลือกตั้ง ทางการใช้มาตรการทางกฎหมายที่ให้อำนาจอย่างกว้างขวาง และมีเนื้อหาคลุมเครือ เพื่อยุบพรรคและตัดสิทธิ์ไม่ให้หัวหน้าพรรคการเมืองดำรงตำแหน่ง ส.ส.
“รัฐบาลไทย สมาชิกรัฐสภา และพรรคการเมืองทุกพรรคของไทย ต้องสัญญาที่จะปกป้องสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออกและการสมาคม ประชาคมระหว่างประเทศ ซึ่งดูเหมือนยังสงวนท่าทีต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนในไทย ต้องแสดงออกอย่างเปิดเผยว่าไม่อาจยอมรับการสั่งยุบพรรคฝ่ายค้านครั้งนี้” นิโคลัส เบเคลัง กล่าว
ขณะที่ สถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ได้ออกแถลงการณ์ถึงกรณีการยุบพรรคอนาคตใหม่ในประเทศไทย ข้อความว่า เรารับทราบเกี่ยวกับคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญไทยในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ให้ยุบพรรคอนาคตใหม่
สหรัฐอเมริกาส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตยอย่างเต็มที่ในทุกประเทศทั่วโลก และชื่นชมประเทศไทยที่มีรัฐบาลซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยวิถีแห่งประชาธิปไตยเมื่อไม่นานมานี้ แม้ว่าสหรัฐไม่ได้ถือข้างหรือสนับสนุนพรรคการเมืองใดในประเทศไทยเป็นพิเศษ แต่ประชาชนกว่า 6 ล้านคนได้ลงคะแนนเสียงเลือกพรรคอนาคตใหม่ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 24 มีนาคมที่ผ่านมา คำพิพากษาให้ยุบพรรคอนาคตใหม่อาจนำไปสู่การลิดรอนสิทธิ์ของผู้ลงคะแนนเสียงเหล่านั้น และทำให้เกิดคำถามว่าพวกเขาจะยังคงมีสิทธิ์มีเสียงในระบบการเลือกตั้งของไทยหรือไม่
ขณะที่โฆษกประจำกระทรวงการต่างประเทศของสหภาพยุโรป (European External Action Service: EEAS ) ออกแถลงการณ์ว่า ถือเป็นการถอยหลังของพหุนิยมทางการเมืองในประเทศไทย เนื่องจากพรรคอนาคตใหม่ได้รับเสียงสนับสนุนจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งกว่า 6 ล้านคน ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อ มี.ค.2562
การยุบพรรคการเมืองใดๆ หรือการห้ามเพิกถอนสิทธิทางการเมืองของสมาชิกรัฐสภา ถือเป็นการขัดแย้งต่อกระบวนการฟื้นฟูพหุนิยมทางการเมืองในไทยที่เริ่มขึ้นเมื่อปีก่อน ซึ่งช่องว่างทางการเมืองในประเทศไทยควรยังคงเปิดกว้าง
สิ่งนี้คือความสำคัญที่เจ้าหน้าที่ทางการไทยควรให้ความมั่นใจต่อสมาชิกรัฐสภาซึ่งมาจากการเลือกตั้งอย่างถูกต้องตามกฎหมายทั้งหมดว่าสามารถที่จะปฏิบัติหน้าที่ต่อไปโดยไม่คำนึงถึงพรรคการเมืองที่สมาชิกรัฐสภาเหล่านี้ได้รับการเลือกตั้งเข้ามา
สหภาพยุโรปมีจุดยืนพร้อมที่จะขยายความร่วมมือกับประเทศไทย รวมทั้งในประเด็นสิทธิมนุษยชน พื้นฐานเสรีภาพ พหุนิยมประชาธิปไตย ภายใต้ข้อสรุปของสภากิจการต่างประเทศของอียู เมื่อ 14 ตุลาคม 2019.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |