5 ประเด็นหลักที่ อนค.ปักธงสำเร็จ ก่อนพรรคโดนยุบ


เพิ่มเพื่อน    

 

      ตลอดระยะเวลา 1 ปี 4 เดือน 18 วันที่ผ่านมา นับแต่พรรคอนาคตใหม่ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้เป็นพรรคการเมืองอย่างถูกต้องตามกฎหมาย จนถึงวันที่ถูกตัดสินยุบพรรค ในวันที่ 21 ก.พ. พร้อมตัดสิทธิทางการเมืองของกรรมการบริหารเป็นจำนวน 10 ปี มีหลายสิ่งหลายอย่างที่พวกเขาได้ลงมือเดินหน้า

                โดยเฉพาะบางเรื่อง ที่เรียกได้ว่าเป็นการ "ปังธงทางความคิด” ให้หยั่งรากลึกในสังคมไทย เรื่องบางเรื่อง เข้าขั้น “เสี่ยง” ต่อสวัสดิภาพความปลอดภัยของพวกเขา แต่ก็ยังตัดสินใจที่จะทำ ลองมาดูกันว่า 5 ประเด็นหลัก ที่พรรคอนาคตใหม่ทำและสร้างทัศนะใหม่ๆ แก่ประชาชนมีอะไรบ้าง  

                1.จุดกระแสให้คนรุ่นใหม่สนใจการเมืองมากขึ้น

                ที่ผ่านมาการเมืองไทยดูจะเป็นเรื่องของผู้ใหญ่ที่ติดตามการเมืองมาอย่างยาวนาน ที่ได้เห็นพัฒนาการของนักการเมืองในแต่ละยุคสมัย โดยติดตามข่าวสารจากช่องทางที่ค่อนข้างจำกัด อย่างวิทยุ โทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์ อย่างไรก็ตาม แม้โซเชียลมีเดียจะได้รับการพัฒนามาระยะหนึ่งก่อนที่จะมีการต่อตั้งพรรคอนาคตใหม่

                แต่สิ่งหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้คือ สิ่งที่พรรคอนาคตใหม่นำเสนอ โดยเฉพาะประเด็นที่ค่อนข้างท้าทายบรรดาผู้มีอำนาจอย่างเรื่องการยุติวงจรรัฐประหาร การเสนอแนวทางการสังคายนาและปฏิรูปกองทัพ ซึ่งที่ผ่านมาไม่เคยมีใครพูดถึงประเด็นเหล่านี้อย่างกว้างขวาง และพยายามผลักดันให้เป็นวาระสำคัญมาก่อน

                เมื่อประกอบกับกระแสโซเชียลที่ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ตลอดเวลา ตราบที่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ต และแนวทางของพรรคที่พร่ำบอกแล้วบอกเล่าว่าต้องการทำการเมืองแบบใหม่ ทำให้บรรดาคนรุ่นใหม่หันมาสนใจการเมืองมากขึ้นอย่างกว้างขวาง และนับวันจะยิ่งมีจำนวนผู้สนใจการเมืองมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

                ขณะเดียวกันสิ่งเหล่านี้ยังส่งผลไปถึงพรรคการเมืองอื่นๆ ทั้งที่เป็นพรรคการเมืองหน้าใหม่และเก่า ต้องเร่งปรับตัวให้เข้ากับกระแสคนรุ่นใหม่ด้วย เช่น สังเกตได้จากการที่หลายๆ พรรคเริ่มตั้งทีมคนรุ่นใหม่มากขึ้น แม้จะไม่มีบทบาทสำคัญในพรรคสักเท่าไร แต่ก็แสดงให้เห็นถึงการปรับตัวของพรรคการเมืองเหล่านี้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่มีพรรคไหนทำได้ดีกว่าพรรคอนาคตใหม่ในเรื่องนี้ โดยมีกว่า 6.3 ล้านคะแนนที่เลือกพวกเขาเป็นเครื่องยืนยัน

                2.การโหวตไม่เห็นด้วยกับ พ.ร.ก.โอนอัตรากำลังพลและงบประมาณฯ

                เรียกได้ว่าเป็นการโหวตครั้งประวัติศาสตร์ ที่แสดงให้เห็นจุดยืนในเรื่องนี้ของพรรคอนาคตใหม่ โดยผลการโหวตในวันนั้น มีเพียงแค่ ส.ส.ของพรรคอนาคตใหม่เกือบจะทุกคนเท่านั้นที่ตัดสินใจโหวตไม่เห็นด้วย ขนาดฝ่ายค้านที่ว่าลงเรือลำเดียวกันแล้วยังไม่กล้า เนื่องจากแทบจะทุกเสียงที่โหวตให้ผ่าน ออกมาพูดเหมือนกันว่า “เรื่องนี้เป็นพระราชประสงค์” อันเกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายและสร้างความเคลือบแคลงสงสัยให้กับหลายฝ่าย ถึงจุดยืนของพรรคอนาคตใหม่ที่มีต่อเรื่องนี้

                ซึ่งทางพรรคอนาคตใหม่ก็ออกมาชี้แจงแล้วว่า ไม่ใช่เรื่องของความไม่จงรักภักดี แต่ต้องการรักษาหลักการ ตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร เพราะการออก พ.ร.ก.เป็นอำนาจในการออกกฎหมายของฝ่ายบริหารที่กระทำได้เฉพาะเท่าที่จำเป็นเร่งด่วน แต่ ครม.เองก็ไม่ได้ชี้แจงถึงความจำเป็นเร่งด่วนของกฎหมายฉบับบนี้แต่อย่างใด โดยนายปิยบุตรได้อภิปรายว่า หากเราปล่อยผ่านเรื่องนี้ เท่ากับสนับสนุนให้ พล.อ.ประยุทธ์ใช้อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดต่อไป หากอยากได้กฎหมายอะไรก็ออกมาเป็น พ.ร.ก. โดยไม่ต้องมาชี้แจงต่อสภา

                3.การชุมนุมที่มีคนมาเกิน 1,000 คนครั้งแรก นับแต่ คสช.มีอำนาจ

                นับแต่การออกมาของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่นำโดยนายสนธิ ลิ้มทองกุล ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า นับจากนั้นเมืองหลวงของประเทศไทยอย่างกรุงเทพมหานครก็คุ้นเคยกับการชุมนุมทางการเมืองมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มคนเสื้อเหลือง เสื้อแดง เสื้อน้ำเงิน เสื้อหลากสี ไปจนถึงกลุ่ม กปปส. ที่เป็นมวลชนกลุ่มสุดท้ายก่อนการรัฐประหารของ พล.อ.ประยุทธ์

                ซึ่งนับแต่ทำรัฐประหารในครั้งนั้น โดยให้เหตุผลถึงการเข้ามาหยุดความขัดแย้งและสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นในสังคมเมื่อวันที่ 22 พ.ค.2557 จากนั้นสมรภูมิการเมืองไทยก็กลายเป็นเหมือนป่าช้า บรรดานักการเมืองทั้งหลาย ทั้งหน้าใหม่ หน้าเก่า ต้องอยู่กันอย่างเจียมเนื้อเจียมตัว แต่ละวันผ่านไปแบบ “สงบราบคาบ” โดยไม่มีใครกล้าทำตัวเป็น “เด็กมีปัญหา” ทิ่มตำรัฐบาล คสช.เลยสักคนเดียว

                แม้จะมีกลุ่มผู้เห็นต่าง ที่ส่วนใหญ่เป็นมวลชนเสื้อแดงพยายามจุดกระแสการชุมนุมตามที่ต่างๆ ในกรุงเทพฯ บ้าง แต่ก็ไม่สามารถสร้างมรรคผลใดๆ ได้เลย จะมีก็แต่พวกเขาเหล่านั้นได้คดีติดไม้ติดมือเป็นของฝากกลับบ้านมากขึ้นเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มประชาธิปไตยใหม่ กลุ่มคนอยากเลือกตั้ง หรือกลุ่มอื่นๆ ที่เป็นได้แค่การจุดพลุในที่มืด ซึ่งการชุมนุมทางการเมืองทั้งหมดทั้งมวลนับแต่ พล.อ.ประยุทธ์ครองอำนาจเต็มตัว ไม่มีครั้งไหนที่มีคนมาร่วมเยอะเท่ากับ “แฟลชม็อบ” ที่จัดขึ้นที่สกายวอล์ก ปทุมวัน โดยหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ เมื่อวันที่ 14 ธ.ค.2562 ที่ผ่านมา ที่คาดการณ์กันว่ามีคนมาร่วมเกิน 3,000 คน ในขณะที่หลายฝ่ายต่างตั้งข้อสังเกตว่า การนัดแฟลชม็อบ ครั้งนี้เป็นการ “หยั่งเชิง” เพื่อนำไปสู่การยกระดับการชุมนุมของพรรคอนาคตใหม่หรือไม่

                4.การเปิดหน้าชกกับกองทัพตรงๆ

                ที่ผ่านมาภาพของ “ทหาร” นั้นเป็นวีรบุรุษมาตลอดในสายตาของคนไทยส่วนใหญ่ ด้วยความที่มีทั้งคาแรคเตอร์แบบผู้ชายที่น่ายกย่อง มีบารมี และฐานะทางสังคมที่ได้รับการยอมรับ จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจว่า “ทหาร” จะเป็นอาชีพในใจของเด็กไทยหลายคน แต่ในอีกมุมหนึ่ง กองทัพ ก็มีแดนสนธยา อันเป็นพื้นที่ที่ประชาชนอย่างเราไม่เคยรู้ หรือเพิ่งจะรู้ไม่นานมานี้

                หรือบางเรื่องอาจจะรู้มานานแล้ว แต่ก็มองว่าเป็นเรื่องปกติในสังคมไทย อย่างกรณีของทหารรับใช้ ที่อาศัยการไปอยู่บ้านนาย ทำหน้าที่ “พ่อบ้าน” ขณะที่บางคนอาจจะต้องแลกกับการโดนตัดเงินเดือน เพื่อความสบายที่มีมากกว่าในค่ายทหารแน่ๆ หรือบางกรณีที่พลทหารบางรายอาศัยเส้นสาย หลังจากโดนเกณฑ์ทหารสามารถกลับไปใช้ชีวิตปกติในฐานะพลเรือนได้ แต่ต้องยกเงินเดือนทหารเกณฑ์อันน้อยนิดทั้งหมดให้กับเจ้านาย เป็นต้น

                ขณะที่ประเด็นเรื่องสัมปทานสนามม้า สนามมวย หรือสลากกินแบ่งรัฐบาลนั้น เป็นเรื่องที่ค่อนข้างห่างไกลความสนใจของประชาชน และแทบจะไม่เคยถูกเปิดเผยข้อมูลมาก่อน เช่นเดียวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนในค่ายทหาร ทั้งการซ้อม ทำโทษพลทหาร หรือการทารุณผู้ต้องสงสัยในพื้นที่ 3 จังหวัดชานแดนภาคใต้ เช่นเดียวกับเรื่องการปรับลดขนาดของกองทัพ จากการลดจำนวนนายทหาร เป็นต้น ซึ่งประเด็นเหล่านี้นับเป็นประเด็นใหม่ในสังคมไทยที่ไม่เคยมีการพูดถึงมาก่อน ซึ่งก็ไม่รู้ว่านักการเมืองก่อนหน้านี้ไม่มีคนกล้า หรือไม่เคยคิดจะทำเลยกันแน่

                5.สังคมจับจ้องการทำงานขององค์กรอิสระมากขึ้น

                ตั้งแต่การคำนวณ ส.ส.แบบปัดเศษให้พรรคการเมืองขนาดเล็ก ที่ได้คะแนนเพียง 30,000 ต้นๆ ให้มีจำนวน ส.ส.เข้าสภา ของ กกต. ทำให้พรรคอนาคตใหม่เสียประโยชน์ โดยได้ ส.ส.เพียง 80 คน จาก 88 คนที่ควรจะได้ หรือจะเป็นกรณีการ “แขวน” การทำหน้าที่ ส.ส.ของนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรค ได้เข้าไปโชว์ตัวในสภาเพียงครั้งเดียวในวันเปิดสภา ก่อนจะถูกแขวนและตัดสินให้พ้นสภาพ ส.ส.ในที่สุด ขณะที่ ส.ส.คนอื่นที่พบว่ามีปัญหาในลักษณะเดียวกัน กลับไม่ถูก “แขวน” แบบนายธนาธร แต่อย่างใด

                ยังไม่รวมกับคดีทั้งการเมืองและคดีที่กำลังจะกลายเป็นคดีอาญาอีกนับไม่ถ้วน ที่รอซ้ำบรรดาแกนนำพรรคอนาคตใหม่อยู่ สิ่งเหล่านี้ทำให้สังคมเกิดคำถามถึง “มาตรฐาน” ของบรรดาองค์กรอิสระว่า เรื่องบางเรื่องที่เข้าสู่กระบวนการพิจารณานั้น มี “ใบสั่ง” จากผู้มีอำนาจทั้งในและนอกรัฐบาลหรือไม่ ซึ่งคำถามดังกล่าวมาพร้อมกับกระแสเรียกร้องให้มีการปฏิรูปองค์กรอิสระ

                จากนี้ไม่ว่าบรรดาแกนนำจะเลือกเดินทางสายไหนบนถนนการเมืองต่อไป แต่ที่แน่ๆ คือ ตลอดระยะเวลากว่า 1 ปีที่ผ่านมา ก้าวแรกบนเวทีการเมืองของพวกเขา ถือว่าสำเร็จแล้ว.

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"