พลังสูงวัยสร้างเมือง..พัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุโดยชุมชนท้องถิ่นด้วยนวัตกรรมข้อมูล


เพิ่มเพื่อน    

 

“เวทีสานพลังสูงวัยสร้างเมือง” สสส.ร่วมกับสถาบันวิชาการมหาวิทยาลัยจากล้านนาหลายแห่งจับคู่ความร่วมมือของชุมชนท้องถิ่นพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุโดยชุมชนท้องถิ่น ชี้ภาคเหนือเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แล้ว ปัญหาพอกพูนอยู่โดดเดี่ยว เจ็บป่วย รายได้ไม่พอรายจ่าย ขณะที่เทศบาลตำบลแม่ปูคา จ.เชียงใหม่ ต้นแบบแก้ปัญหาฆ่าตัวตายด้วยทุนทางสังคมและศักยภาพของชุมชนท้องถิ่น ทำแผนที่เดินดินให้ อสม.เคาะประตูบ้านดูแลพูดคุยผู้ป่วยกลุ่มเปราะบาง/สูงอายุ สร้างสุขภาพกาย-ใจ ลดซึมเศร้า-ฆ่าตัวตาย

 

             

ดวงพร เฮงบุณยพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สำนัก 3) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวในการประชุมเชิงปฏิบัติการ “เวทีสานพลังสูงวัยสร้างเมือง” โดยเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่พื้นที่ภาคเหนือ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศูนย์จัดการเครือข่ายสุขภาวะชุมชนพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ศูนย์จัดการเครือข่ายสุขภาวะชุมชนพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง เมื่อวันที่ 29 ม.ค. ที่ศูนย์ประชุมนานาชาติเอ็มเพรส จ.เชียงใหม่ การจัดงานเวทีสานพลังสูงวัยสร้างเมือง เพื่อขับเคลื่อนระบบการดูแลผู้สูงอายุโดยชุมชนท้องถิ่นผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สรุปแนวทางการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุโดยชุมชนท้องถิ่น พร้อมเสนอทางเลือกนโยบายสาธารณะในการยกระดับการดูแลผู้สูงอายุโดยชุมชนท้องถิ่น     

             

ผลการสำรวจในปี 2560 ประเทศไทยมีประชากรผู้สูงอายุราว 11 ล้านคน คิดเป็น 17% ของประชากรทั้งหมด ปี 2562 จำนวนผู้สูงอายุจะมีมากกว่าจำนวนเด็ก และอีก 3 ปีจะเกิดปรากฏการณ์ผู้สูงวัยเต็มเมือง มีจำนวนผู้สูงวัยกว่า 30% ยังไม่มีความพร้อมที่จะเป็นผู้สูงวัยที่แข็งแรง ที่สามารถดูแลตัวเองได้ เนื่องจากขาดความตระหนักในเรื่องการดูแลสุขภาพ ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยที่จำเป็นต้องมีผู้ดูแล ทั้งนี้ การดูแลผู้สูงวัยที่เจ็บป่วยต้องมีการจัดสรรสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และได้รับการดูแลที่ถูกต้องเพื่อช่วยป้องกันและลดอุบัติเหตุภายในบ้าน ช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี เพิ่มความปลอดภัยทั้งผู้สูงวัยและตัวผู้ดูแลเอง

             

คาดว่าภายในปี 2564 ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ โดยจะมีคนไทยที่อายุ 60 ปีขึ้นไป 20% ของประชากรทั้งหมด สำหรับในพื้นที่ภาคเหนือมีข้อมูลจากระบบข้อมูลตำบลของเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่พื้นที่ภาคเหนือ พบว่าเป็นภูมิภาคที่มีผู้สูงอายุจำนวน 818,544 คน (23.97%) สถานการณ์การเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้สูงอายุนำไปสู่ปัญหาและความต้องการการดูแลช่วยเหลือที่เหมือนและแตกต่างกัน ความต้องการในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยสูงอายุ การเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง รายได้ไม่เพียงพอ เข้าไม่ถึงสวัสดิการและมีความพิการ

 

             

ดวงพรกล่าวว่า จากสถานการณ์ปัญหาและความต้องการดังกล่าว สสส.ได้ดำเนินงานพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุของชุมชนท้องถิ่น โดยร่วมกับสถาบันวิชาการคู่ความร่วมมือกับศูนย์เรียนรู้ด้านการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุโดยชุมชนท้องถิ่น 4 สถาบันวิชาการ ได้แก่ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา และคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ในพื้นที่ภาคเหนือ 17 จังหวัด จำนวน 25 ศูนย์เรียนรู้ด้านการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุโดยชุมชนท้องถิ่น เป็นการถอดบทเรียนรู้ ตำบลเครือข่ายที่ร่วมขับเคลื่อนประเด็นการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุโดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง ส่งผลให้ชุมชนท้องถิ่นต้องดำเนินการดูแลในลักษณะต่างๆ โดยการนำใช้ทุนทางสังคมของพื้นที่อย่างน้อย 3 ภาคีเครือข่าย ได้แก่ 1) การจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยการพัฒนานโยบายสาธารณะระดับท้องถิ่น การสนับสนุนงบประมาณหนุนเสริมแหล่งเรียนรู้ 2) การจัดบริการของหน่วยบริการสุขภาพ เช่น ศูนย์ดูแลระยะยาว ศูนย์กายอุปกรณ์ การจัดบริการดูแลกลางวัน (day care) ร่วมกับ อปท. 3) ภาคประชาชน กองทุนสวัสดิการชุมชน กลุ่มอาชีพ กองทุนออมบุญ กลุ่มเกษตรอินทรีย์

             

ดวงพร เฮงบุณยพันธ์ ให้ข้อคิดว่า เรามุ่งสร้างนวัตกรรมชุมชนท้องถิ่นให้สามารถใช้ทุนและศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่และสร้างสรรค์ ด้วยการจัดการข้อมูลชุมชนในหลากหลายด้าน ถือเป็นแก่นและกลไกสำคัญในการเอาพื้นที่เป็นฐานในการพัฒนา อันเป็นหนทางเดียวที่จะสามารถพัฒนาชุมชนท้องถิ่นได้อย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ ภายใต้อัตลักษณ์และตัวตนของชุมชน

             

จิดาภา อิ่นแก้ว ประธานชมรมอุ่นใจ เทศบาลตำบลแม่ปูคา อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า ที่ผ่านมาตำบลแม่ปูคาประสบปัญหาเพศชายในวัยทำงานมีอัตราการฆ่าตัวตายสูง จากสถิติของโรงพยาบาลสันกำแพงพบว่า ในปี 2552-2554 มีอัตราการฆ่าตัวตายของคนวัยทำงานถึงปีละ 4-5 คน ทีมงาน อสม.ได้ลงเยี่ยมบ้าน พบว่านอกจากปัญหาการฆ่าตัวตายแล้ว ยังพบว่าผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียงส่วนมากต่างมีภาวะซึมเศร้า ไม่อยากมีชีวิตอยู่ต่อไป เนื่องจากการสูญเสียลูกหลานที่ฆ่าตัวตาย หรือลูกหลานไม่มีเวลาพูดคุยกับผู้สูงอายุ ดังนั้นการแก้ปัญหาการฆ่าตัวตายและต้องดูแลภาวะซึมเศร้าในกลุ่มผู้สูงอายุควบคู่กันไป ซึ่งเป็นที่มาของชมรมอุ่นใจที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2553
             

“นอกจากปัญหาการฆ่าตัวตายที่มีผลกระทบต่อผู้สูงอายุ และยังอีกสาเหตุหนึ่งที่พบคือ ลูกหลานไม่มีเวลาที่จะมาพูดคุยกับผู้สูงอายุ เพราะต้องทำงานนอกบ้าน วิถีการดำเนินชีวิตเปลี่ยนไปแตกต่างจากในอดีต ดังนั้นการพูดคุยกับผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะซึมเศร้าจะช่วยให้ผู้สูงอายุกลับมามีสุขภาพจิตที่ดีได้เช่นกัน โดยมี อสม.ผู้เชี่ยวชาญสุขภาพจิต Caregiver จะเข้ามาดูแลด้วยการเยี่ยมบ้านเดือนละครั้ง ซึ่งพบว่าการที่มี อสม.เข้าไปพูดคุยกับผู้สูงอายุ ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้นตามลำดับ โดยในปีที่ผ่านมา ชมรมอุ่นใจได้รับการสนับสนุนจากสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สำนัก 3) สสส.ทั้งในเรื่องของงบประมาณและองค์ความรู้ โดยเฉพาะเรื่องของสื่อความรู้ต่างๆ รวมทั้งการทำแผนที่เดินดินเพื่อวางแผนระบบการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน การอบรมให้ความรู้แก่ อสม.ที่เป็น Caregiver และให้การสนับสนุนในการอบรมกับผู้ที่ต้องดูแลผู้ป่วยอีกด้วย” จิดาภากล่าว

             

หัวข้อสนทนาที่วิทยากรหลายท่านได้นำเสนอในที่ประชุมเสวนา ผู้สูงอายุทั้งประเทศ 22.12% ส่วนหนึ่งเจ็บป่วยด้วยโรคภัยไข้เจ็บ มีจิตใจย่ำแย่ เราจะทำอย่างไรที่จะดูแลผู้สูงอายุให้ดีขึ้นด้วย ในครอบครัวมีหลาย generation 1.ยุค Baby Boomer (เกิดปี 2486-2503) ทุ่มเททำงาน 2.ยุค Gen X (เกิด 2504-2524) วัยทำงานที่ไม่ชอบความเป็นทางการ 3.Gen Y มีความคิดสร้างสรรค์ชอบทำงานหลายอย่างพร้อมกัน 4.Gen Z เกิดในยุคสังคมก้มหน้าอยู่กับโทรศัพท์มือถือ ความแตกต่างของคนในแต่ละรุ่นจะอยู่ร่วมกันได้อย่างไร อาชีพก็เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

             

ปี 2030 มีตำแหน่งงาน 130 ล้านตำแหน่งงานว่าด้วยสุขภาพ การดูแลสุขภาพ 50 ล้านตำแหน่งจะเกิดขึ้นมาพร้อมกับเทคโนโลยี คนเราจะทำงานน้อยลง มีจำนวนคนตกงานสูงขึ้น จำนวนครึ่งหนึ่งจะถูกทดแทนด้วย AI ระบบหุ่นยนต์จักรกลอัจฉริยะ คนในโลกอนาคต 375 ล้านคนจะเปลี่ยนอาชีพที่อนาคตจะไม่มีอาชีพที่อยู่ในปัจจุบัน ประเทศไทยในปี 2016-2030 จำนวน 45% อาชีพจะถูกแทนที่ด้วยระบบอัตโนมัติ รถยนต์ไร้คนขับ ทุกคนต้องเรียนรู้เรื่องเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ผู้สูงอายุจะอยู่ในสังคมอย่างไรให้มีความสุข มีบทบาทสำคัญเป็นกำลังของสังคมในชุมชน การเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนร่วมกันขับเคลื่อนการสร้างสุขภาวะแบบครบวงจร ท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ผลักดันการทำงานแบบครบวงจร การสร้างฐานข้อมูลเดียว ท้องถิ่นเก็บข้อมูลไว้มากมาย การทำงานต้องเป็นภาคีเครือข่าย มีกระทรวงมเหสี หรือกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยนวัตกรรมออกแบบ ออกแบบเก็บข้อมูลในชุมชนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

             

กระทรวงมหาดไทยกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเมินประสิทธิภาพ การเปิดพื้นที่การเรียนรู้ ปรับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ สังคมชุมชนเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ กระทรวงมหาดไทยสร้างพื้นที่เรียนรู้ การส่งเสริมอาชีพ ปัญหาการออม หนี้สิน ถ้าเรามีพื้นที่เล็กๆ กระทรวงมเหสีจัดการหลักสูตรให้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ ไม่ปล่อยให้ถิ่นท้องเดินตาม ผู้สูงอายุแม้อยู่บ้านก็เรียนรู้ได้จากสื่อวิทยุออนไลน์ กระจายช่องทางการเรียนรู้

             

ในปี 2513 ประเทศไทยเริ่มใช้การคุมกำเนิด จากเดิมที่โครงสร้างประชากรไทยเป็นเจดีย์ยอดแหลม ผู้สูงอายุมีจำนวนน้อย เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เด็กเกิดใหม่มากกว่าประชากรทุกช่วงวัย แต่ในวันนี้ฐานเล็กลงส่วนกลางและปลายมีขนาดใหญ่มากขึ้น ในอนาคตผู้สูงอายุจะมีจำนวนมากกว่าเด็ก ปี 2579 ผู้สูงอายุ 1 ใน 3 ของประเทศ ผู้หญิงมีจำนวนมากกว่าผู้ชาย แสดงว่าประเทศไทยก้าวสู่สังคมสูงวัยอย่างรวดเร็วและรุนแรง คนวัย 40-50 ปีจะเป็นผู้สูงอายุในอนาคต จากเดิมที่ครอบครัวไทยมีลูก 5 คน ปัจจุบันมีลูกน้อยกว่า 2 คน กลุ่มคนทำงานจะลดน้อยลง มีภาระในการดูแลผู้สูงอายุมากยิ่งขึ้น วัยทำงาน 4 คนดูแลผู้สูงอายุ 1 คน เด็ก 1 คน วัยทำงาน 2 คนดูแลผู้สูงอายุ 1 คน เด็ก 1 คน

             

คนที่มีลูกจะห่วงถึงอนาคต จึงทำให้ครอบครัวไม่มีลูกหรือมีลูกเพียงคนเดียว พ่อแม่วัยใสมีลูกเยอะทั้งๆ ที่ไม่พร้อม ในขณะที่ครอบครัวพร้อมจะมีลูก แต่ไม่มีลูก หรือคนที่พร้อมไม่ท้อง คนที่ไม่พร้อมกลับท้อง ทุกวันนี้การออมลดลงย่อมส่งผลกระทบ ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจจำนวน 2 ล้านคนมีระบบสวัสดิการรองรับในยามเจ็บป่วย คน 15 ล้านคนมีเงินกองทุนทดแทน คน 20 ล้านคนประกอบอาชีพอิสระ เป็นลูกจ้าง แรงงานนอกระบบไม่มีสวัสดิการรองรับ รัฐบาลตั้งกองทุนการออมแห่งชาติให้ออมไว้ใช้หลังเกษียณอายุ รัฐเติมเงินให้ส่วนหนึ่งเพื่อให้คนไทยรวยก่อนแก่ แต่ประเทศไทยมีปัญหาแก่ก่อนรวย รัฐจึงไม่สามารถจัดสวัสดิการ สังคมในวันนี้ก็ไม่สามารถคาดหวังกับลูกหลานตัวเองได้

             

ประเทศเพื่อนบ้าน เมียนมา เขมร ลาว ก้าวสู่สังคมสูงวัย อนาคตขาดแคลนแรงงานเป็นปัญหาสำคัญที่จะต้องมีการพึ่งพิง ขณะนี้ธนาคารไทยและหลายหน่วยงานลดการทำงาน อายุ 45 ปีขึ้นไปเป็นผู้หญิงหยุดทำงานเพื่อจะอยู่บ้านดูแลพ่อแม่สูงอายุ ดูแลหลาน ผู้สูงอายุส่วนหนึ่งพอจะพึ่งพาตัวเองได้ ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ แต่ยังมีผู้สูงอายุอีกมากที่ดูแลตัวเองไม่ได้ ต้องพึ่งพาลูกหลานในครอบครัว ผู้สูงวัยบางคนประสบอุบัติเหตุภายในบ้าน แขนขาอ่อนแรง สายตาฝ้าฟาง อันเนื่องจากสิ่งแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย ทางเดินขรุขระ ควรมีการปรับระดับพื้นที่ให้ราบเรียบ


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"