“หนองบัวลำภู “จังหวัดต้นแบบเกษตรปลอดภัย เชื่อมเครือข่ายอีสานตอนบนสร้างสุข


เพิ่มเพื่อน    

เพื่อให้หนองบัวลำภูเป็นจังหวัดต้นแบบเกษตรปลอดภัย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เปิดเวทีโชว์ แชร์ เชื่อม : ตอน “สุข 3D ที่หนองบัวลำภู”ที่ศูนย์ปราชญ์พ่อบัวพันธ์ ต.ด่านช้าง อ.นากลาง จ.หนองบัวลำภู ด้วยเล็งเห็นความสำคัญของการขับเคลื่อนงานเกษตรปลอดภัย เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาวะของเกษตรกรและผู้บริโภค โดย นายสุรินทร์ กิจนิตย์ชีว์ คณะกรรมการบริหารแผนคณะที่ 5 และคณะที่ 8 สสส. เป็นประธานพิธีเปิด

 

 

 

นายสุรินทร์ กิจนิตย์ชีว์ กล่าวว่า สสส. จัดเวทีโชว์แชร์เชื่อมครั้งนี้ขึ้นเพื่อเชิญภาคีเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพและภาคีเครือข่ายเกษตรกรรมจาก 4 จังหวัดภาคอีสานตอนบนมาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำงานสร้างเสริมสุขภาพ ลดปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิด ทุกขภาวะ ได้แก่ ภาคีจากจังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี และขอนแก่น ทั้งในประเด็นการลดปัจจัยเสี่ยงจากบุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การขาดกิจกรรมทางกาย การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น การจัดการขยะ การจัดการอุบัติเหตุในพื้นที่ การเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชากรกลุ่มเฉพาะ ฯลฯ ที่ผ่านมา สสส. จัเกิจกรรมลักษณะนี้อย่างต่อเนื่องหมุนเวียนไปทั่วประเทศ โดยได้รับความร่วมมือจากเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขตที่ 8 ภาคอีสาน ที่มาร่วมรับฟังแนวทางวิธีการทำงานของแต่ละพื้นที่ เพื่อจะนำไปพัฒนากำหนดเป็นนโยบายสาธารณสุขที่สอดคล้องกับความต้องการของคนในพื้นที่ต่อไป

 

 

ด้าน ดร.ณัฐพันธุ์ ศุภกา ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ สสส. กล่าวว่า ที่มาของการจัดเวทีเชื่อมความสัมพันธ์ภาคีเครือข่ายที่จังหวัดหนองบัวลำภูนั้น เป็นเพราะที่นี่มีการขับเคลื่อนงานเกษตรปลอดภัยที่มีความโดดเด่น สสส. จึงเล็งเห็นว่าเป็นโอกาสดีที่ภาคีต่างพื้นที่จะได้มาศึกษาดูงาน เพื่อจุดประกายความคิดในการกลับไปเปลี่ยนแปลงพื้นที่ตนเอง เนื่องจากอาชีพหลักของประชากรในภาคอีสาน คือการปลูกพืชเชิงเดี่ยว เช่น ปลูกข้าว ทำไร่อ้อย ไร่มันสำปะหลัง มีโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปน้ำตาลขนาดใหญ่ของประเทศตั้งอยู่ที่นี่

 

พบว่าการเกษตรกรรมในจังหวัดหนองบัวลำภูก่อนปี 2560 เป็นแบบพึ่งพาสารเคมีเป็นหลัก มีการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชหลายชนิด ได้แก่ พาราควอต ไกลโฟเซต อะมิทรีน และอาทราซีน เกษตรกรใช้สารเคมีเกษตรเฉลี่ย 1.33 ลิตรต่อไร่ แต่หลังจากจังหวัดหนองบัวลำภูได้เริ่มแก้ไขปัญหา ลด ละ เลิกการใช้สารเคมี โดยมีพื้นที่ต้นแบบคือ ตำบลบุญทัน อ.สุวรรณคูหา และได้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจคือ การใช้สารเคมีเกษตรลดลงจาก 1.42 ลิตร/ไร่ เหลือ 0.56 ลิตร/ไร่ และถูกกำหนดให้โมเดลนี้ขยายไปทุกอำเภอ “ ดร.ณัฐพันธุ์ กล่าว

 

 

หนึ่งในปราชญ์ชาวบ้านร่วมผลักดันเกษตรปลอดภัย นายบัวพันธ์ บุญอาจ ปราชญ์ชาวบ้าน จ.หนองบัวลำภู กล่าวว่า ตนเริ่มทำเกษตรอินทรีย์มาเป็นเวลากว่า 10 ปี เพราะเล็งเห็นว่าการเกษตรที่พึ่งพาแต่สารเคมี ทำให้เกษตรกรและผู้บริโภคมีสุขภาพย่ำแย่ และมีหนี้สิน โดยน้อมนำเอาหลักเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง รัชกาลที่ 9 มาปรับใช้ให้เหมาะกับบริบทในพื้นที่ เริ่มจากการปลูกพืชแนวกันชน ป้องกันสารเคมีที่อาจพัดปลิวมาจากสวนอื่น พร้อมปลูกพืชผักตามฤดูกาล เพราะไม่ต้องดูแลมาก และไม่ต้องใช้สารเคมีเหมือนพืชนอกฤดู

 

 “ ผมปลูกพืชผักไร้สารพิษ ขณะเดียวกันได้แบ่งพื้นที่บางส่วนสร้างโรงเรือนปลูกผัก ปัจจุบันส่งขายตามซูเปอร์มาเก็ตชั้นนำในตัวเมืองและจังหวัดใกล้เคียง โดยได้รับมาตรฐานระดับ Organic Thailand เครื่องหมายรับรองในระดับสูงสุดของประเทศไทย และยังเปิดพื้นที่ให้คนมาศึกษาดูงาน สอดรับนโยบายจังหวัด “เกษตรอินทรีย์วิถีหนองบัวลำภู จากท้องนา สู่พาข้าว” โดยเกษตรกรตั้งใจมอบอาหารปลอดภัยถึงมือผู้บริโภค” นายบัวพันธ์ กล่าวอย่างภาคภูมิใจ

 

สำหรับจุดเริ่มต้นของการขับเคลื่อนระบบอาหารปลอดภัย จ.หนองบัวลำภู เกิดขึ้นเมื่อปี 2560 จากข้อมูลสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำภู พบเกษตรกรป่วยเป็นโรคเนื้อเน่าเป็นจำนวนมาก จึงทำการสำรวจสภาพปัญหาและปริมาณสารเคมี โดยความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยนเรศวร พบระดับการตกค้างของพาราควอตในน้ำผิวดิน น้ำบาดาล ดิน ตะกอนดิน ในระดับสูงถึงสูงมาก เกษตรกรใช้สารกำจัดวัชพืชความเข้มข้นสูงกว่ากำหนด ผสมเข้มข้นกว่าปกติ 4 เท่า และช่วงเวลาที่มีการใช้สารเคมี พบว่า เกษตรกรป่วยด้วยโรคเนื้อเน่าในอัตราสูง เป็นไปได้ว่ามีความสัมพันธ์กัน ต่อมาทางจังหวัดหนองบัวลำภูค้นหารูปแบบการดำเนินงานแก้ไขปัญหาในพื้นที่ต้นแบบ พร้อมกับแผนปฏิบัติการจัดการปัญหาสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในสิ่งแวดล้อมที่ จ.หนองบัวลำภู

ขณะที่ อบจ.หนองบัวลำภู ได้จัดเวทีอบรมให้ความรู้เกษตรกรเกี่ยวกับอันตรายจากสารเคมีทางการเกษตร อ.นากลางจุดประกายให้ประชาชนในจังหวัดหันมาตระหนักเรื่องนี้ กระทั่งเกิดการสำรวจสภาพปัญหาอันเกิดจากการบูรณาการของหน่วยงานต่างๆ และเริ่มทำโครงการลด ละ เลิกสารเคมี ซึ่ง สสส. ทำหน้าที่เสมือนเป็นน้ำมันหล่อลื่นด้วยการต่อยอดงานวิจัยท้องถิ่น และงานวิจัยของจังหวัด เชิญชวนคนหันมาทำเกษตรอินทรีย์ ขยายช่องทางและโอกาสให้ชาวบ้านมีพื้นที่จำหน่ายสินค้ามากขึ้น


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"