รฟท. ซาวด์เสียงเอกชนเดินรถขนส่งสินค้า หนองคาย-แหลมฉบังมูลค่า 3 หมื่นล้าน


เพิ่มเพื่อน    

 

20 ก.พ. 2563 นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ตามที่การรถไฟฯ ได้ดำเนินการจ้างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นที่ปรึกษาเพื่อดำเนินการโครงการศึกษาและวิเคราะห์โครงการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในการเดินรถขนส่งสินค้า เส้นทางหนองคาย - แหลมฉบัง ตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ซึ่งเป็นโครงการศึกษาการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) โดยให้เอกชนร่วมพัฒนาระบบเดินรถด้วยไฟฟ้า (Rail Electrification) และบริการจัดการขนส่งสินค้าทางรถไฟเส้นทางหนองคาย-แหลมฉบัง มูลค่าลงทุน 3 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะสามารถเปิดประมูลได้ปี 2564 และเปิดให้บริการในปี 2569 

ทั้งนี้ การรถไฟฯ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในการขนส่งสินค้าด้วยระบบราง จึงได้จัดการประชุมการรับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชน (Market Sounding) ต่อโครงการศึกษาและวิเคราะห์โครงการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในการเดินรถขนส่งสินค้า เส้นทางหนองคาย – แหลมฉบัง เพื่อนำเสนอข้อมูลรายละเอียดของการศึกษาโครงการให้หน่วยงานธุรกิจภาคเอกชน พร้อมทั้งเปิดรับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วนต่อการศึกษาโครงการ เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินโครงการให้เกิดประโยชน์สูงสุดการดําเนินงานโครงการในภาพรวม ซึ่งการรถไฟฯ ได้มีโครงการที่จะเปลี่ยนจากการใช้รถจักรดีเซล และรถดีเซลรางในปัจจุบัน เป็นรถจักรไฟฟ้าและ Electric Multiple Unit (EMU) เพื่อขนส่งผู้โดยสารและสินค้า โดยได้ทําการศึกษาความเหมาะสมการเดินรถไฟด้วยระบบไฟฟ้าในเส้นทางคู่ 4 เส้นทาง เมื่อปี 2554 

นายวรวุฒิ กล่าวต่ออีกว่า สำหรับผลการศึกษาได้เสนอแนะว่า การเดินรถไฟด้วยระบบไฟฟ้าในเส้นทางสายตะวันออกเฉียงเหนือ มีความเหมาะสมในการพัฒนามากที่สุด เพื่อลดภาระการลงทุนในส่วนของการรถไฟฯ ที่จะต้องเป็นผู้รับภาระเอง และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่การขนส่งทางราง ให้สามารถพัฒนาเป็นระบบขนส่งหลักของประเทศ การรถไฟฯ จึงดําเนินการศึกษาการให้เอกชนเข้ามามี ส่วนร่วมในการลงทุนและให้บริการขนส่งสินค้า ในเส้นทางหนองคาย-แหลมฉบัง ระยะทางรวมประมาณ 683 กิโลเมตร มูลค่าการลงทุนระยะเริ่มแรกประมาณ 26,400 ล้านบาท และตลอดโครงการ ประมาณ 30,000 ล้านบาท แบ่งเป็น ภาครัฐลงทุนระบบ OCS (Overhead Catenary System) ในขณะที่ภาคเอกชนลงทุนรถจักรไฟฟ้า รถบรรทุกสินค้า (แคร่) อู่จอด และซ่อมบํารุง รวมทั้ง การพัฒนาระบบรางเพิ่มเติม (ถ้ามี)

อย่างไรก็ตามจากผลการวิเคราะห์ความเหมาะสมทางการเงิน สรุปได้ว่า การรถไฟฯ ควรเป็นผู้รับผิดชอบการลงทุนในงานโครงสร้างพื้นฐานของระบบเดินรถด้วยไฟฟ้า ในขณะที่ภาคเอกชนผู้ร่วมลงทุนเป็นผู้รับผิดชอบการลงทุนในขบวนรถ และงานอู่จอดและซ่อมบำรุง รวมถึงเป็นผู้ให้บริการขนส่งสินค้าด้วยรูปแบบการร่วมลงทุน PPP Net Cost ซึ่งจะให้ผลประโยชน์ต่อทั้ง 2 ฝ่าย และสามารถพัฒนาการขับเคลื่อนการขนส่งทางราง 

สำหรับโครงการนี้สามารถให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) 22% โดยการรถไฟฯ จะได้ประโยชน์จากการพัฒนาทางคู่เป็นระบบไฟฟ้า เพื่อการเดินรถในอนาคต และได้รับผลตอบแทนจากเอกชนตามสัญญา นอกจากนั้น โครงการนี้จะช่วยลดมลพิษทางอากาศ ลดเวลาในการขนส่ง และเพิ่มสัดส่วนในการขนส่งทางรางสูงขึ้น ตามนโยบายหลักของกระทรวงคมนาคม 

ดังนั้น หากโครงการได้รับความเห็นชอบจาก คณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (บอร์ด PPP) แล้ว คาดว่าจะเปิดประมูลได้เร็วที่สุดต้นปี 2564 และจะเปิดให้บริการปี 2569 โดยระยะเวลาของสัญญาร่วมลงทุน ไม่น้อยกว่า 30 ปี ด้วยรูปแบบการร่วมลงทุนแบบ PPP Net Cost ซึ่งจะสามารถเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการพัฒนาการขับเคลื่อนเศรษฐกิจการขนส่งระบบรางของประเทศได้เป็นอย่างดี


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"