"สมองเสื่อม" เป็นภาวะที่มีอาการสำคัญ คือ ความจำแย่ลงเรื่อยๆ จนมีผลต่อชีวิตประจำวัน รวมถึงพฤติกรรม บุคลิกหรืออารมณ์เปลี่ยนไปจากที่เคยเป็น ซึ่งสมองเสื่อมเกิดได้หลายสาเหตุ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง เนื้องอกในสมอง เลือดคั่งในสมอง โรคไทรอยด์ แต่สาเหตุที่พบบ่อย คือ โรคอัลไซเมอร์ มักพบผู้ป่วยช่วงอายุ 60-65 ปีขึ้นไป ประมาณว่าคนอายุ 65-75 ปี จำนวน 100 คนจะเป็นโรคนี้เฉลี่ย 5-10 คน ในกลุ่มอายุที่สูงขึ้นก็จะพบมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มคนอายุตั้งแต่ 85 ปีขึ้นไป จะเป็นโรคนี้ถึงครึ่งหนึ่ง
ศูนย์ส่งเสริมและฟื้นฟูผู้สูงวัย The Senizens ให้ข้อมูลว่า โรคสมองเสื่อมเกิดจากการที่มีโปรตีนชนิดหนึ่งชื่อเบตาอะมัยลอยด์มีมากผิดปกติ โปรตีนชนิดนี้ไปจับที่สมองเป็นหย่อมๆ ทำให้สมองส่วนนั้นทำงานผิดปกติหรืออาจเสียสมองส่วนนั้นไปในที่สุด ซึ่งบริเวณที่โปรตีนนี้ไปเกาะมักเป็นสมองส่วนที่เกี่ยวกับความจำ โดยอาการที่เด่นชัดของโรคนี้จะเป็นปัญหาเกี่ยวกับความจำเป็นหลัก ผู้ป่วยมักมีอาการหลงๆ ลืมๆ จำความไม่ได้ ลืมเรื่องที่พูดไปไม่นาน ชอบเล่าเรื่องเดิมซ้ำไปซ้ำมา ทักษะต่างๆ ที่เคยทำได้ดีก็ลืมทำไม่ได้ เดินหลงทิศทางแก้ปัญหาง่ายๆ ไม่ได้ จำชื่อคนไม่ได้ ซึ่งเกิดจากสารหลั่งในสมองที่เกี่ยวกับความจำลดลง และมีการตายของเซลล์สมองพบว่ามีสารผิดปกติของอะมัยลอยด์ในสมองผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ทำให้การทำงานของสมองเสื่อมลงจนส่งผลกระทบต่อกิจวัตรประจำวันของคนไข้
หากผู้ป่วยเริ่มมีอาการและไม่ได้รับการรักษา จะมีอาการสมองเสื่อมรุนแรงยิ่งขึ้น จนกระทั่งไม่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ โรคอัลไซเมอร์นี้ต่างจากอาการสมองเสื่อมที่เกิดจากสาเหตุอื่นๆ ตรงที่ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถประคับประคองไม่ให้อาการทรุดลงอย่างรวดเร็ว การดูแลรักษาประคับประคองทำได้โดยการรักษาด้วยยา การฟื้นฟูความจำ การกินอาหารครบ 5 หมู่ เน้นผักใบเขียวและผลไม้หลากสี อาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินบี 1 และบี 12 เช่น น้ำมันปลาหรือปลา ดื่มน้ำสะอาด ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รักษาโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยง เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เป็นต้น
นอกจากนี้ ออกกำลังสมองจะช่วยกระตุ้นให้สมองทำงานไม่เสื่อมสภาพเร็วขึ้น รองอธิบดีกรมการแพทย์กล่าวเพิ่มเติมว่า วิธีออกกำลังกายสมอง คือ การฝึกทักษะการใช้มือ เท้าและประสาทสัมผัสทั้ง 5 ให้รับรู้ข้อมูลและการเคลื่อนไหวต่างๆ ทั้งรูปแบบอยู่กับที่ การเคลื่อนที่หรือแบบใช้อุปกรณ์ประกอบการเคลื่อนไหว โดยทำอย่างต่อเนื่องจนเกิดการเชื่อมโยงของระบบกล้ามเนื้อ ระบบประสาทและสมองส่วนต่างๆ ทำงานประสานกันอย่างเป็นระบบ ทำจิตใจให้แจ่มใสและฝึกสมองให้มีการใช้ความคิด ความจำ เช่น อ่านหนังสือ ฟังดนตรี ร้องเพลง ทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับครอบครัวและสังคม เช่น การเต้นรำ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ต้องใช้สมองทั้ง 2 ซีกให้ทำงานประสานกันทั้งระบบ โดยสมองซีกซ้ายจะต้องทำความเข้าใจในทำนอง เนื้อร้อง และคิดท่าที่ใช้เต้นรำ ส่วนสมองซีกขวาต้องเข้าถึงอารมณ์ ความรู้สึกในเพลง
ส่วนผู้ที่ต้องการบริหารสมองด้วยวิธีอื่นสามารถทำกิจกรรมง่ายๆ เช่น การเดินในที่อากาศโปร่ง ซึ่งจะทำให้ระบบไหลเวียนเลือดสูบฉีดออกซิเจนไปเลี้ยงสมองได้ดีขึ้น ออกกำลังกายแอโรบิก โยคะ เล่นกีฬาที่มีการฝึกสมอง เช่น หมากรุก หมากฮอส ซึ่งนอกจากจะได้ร่างกายที่แข็งแรงแล้วยังช่วยให้ใจสงบ มีสมาธิ และเป็นการปรับร่างกายให้เข้าสู่ภาวะสมดุลและกระตุ้นสมองให้ต้องคิดและวางแผน ตัดสินใจ ทำให้สมองแข็งแรงและทำงานอย่างสมดุล ห่างไกลจากโรคอัลไซเมอร์.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |