ไทยเราต้องเริ่มประเมินความสูญเสียที่เกิดจากโรคระบาด Covid-19 อย่างจริงจังเพื่อเตรียมการฟื้นฟูอย่างเร่งด่วนเมื่อจังหวะที่โรคนี้เริ่มนิ่ง
เพราะหากยังไม่เตรียมพร้อมตั้งแต่ตอนนี้ เราอาจไม่เหลือเรี่ยวแรงที่จะลุกขึ้นวิ่งหลังจากทุกอย่างกลับสู่สภาวะเดิม
คำพยากรณ์ระดับโลกล้วนแล้วแต่ชี้ไปในทางที่ร้ายแรงกว่าที่คิด แม้แต่กองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ IMF ก็เริ่มกังวลว่า หากไวรัสตัวนี้แพร่ไปถึงประเทศที่อ่อนแอ ไม่มีภูมิต้านทานเพียงพอเช่นไปถึงประเทศในแอฟริกา ก็อาจจะทำเกิดภาวะการกระจายระดับโลกที่เรียกว่า Pandemic ซึ่งจะส่งผลรุนแรงกว่าที่เห็นอยู่นี้อีกหลายเท่า
นักวิจัยบางคนเริ่มกังวลว่าหากแนวโน้มการฟื้นตัวไม่กระเตื้องขึ้น ก็มีความเป็นไปได้ว่าประชากรสองในสามของโลกอาจจะติดเชื้อร้ายนี้ก็ได้
ดังนั้นแม้ว่าอัตราคนเสียชีวิตต่อผู้ติดเชื้อถึงวันนี้อาจจะอยู่ที่ระดับ 2% เศษๆ (เปรียบเทียบกับ 9% เศษๆ ของ SARS เมื่อ 17 ปีก่อน) แต่หากจำนวนคนป่วยกระจายกว้างไกลเช่นนั้น จำนวนผู้เสียชีวิตก็อาจจะน่ากลัวกว่าที่เห็นและเป็นไปอย่างทุกวันนี้หลายเท่านัก
สิงคโปร์เริ่มจะมองเห็นภาพทางลบชัดเจนขึ้นแล้ว เมื่อนายกรัฐมนตรีหลี่ เสี่ยนหลงพูดระหว่างไปเยี่ยมให้ขวัญและกำลังใจคนทำงานที่สนามบินชางงี ซึ่งถือเป็นด่านหน้าของการสกัดไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาว่า ผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคนี้ต่อเศรษฐกิจของสิงคโปร์ "สูงกว่าโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันร้ายแรง (SARS)"
โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากประเมินจากสองสามไตรมาสข้างหน้าซึ่งจะมีความสำคัญยิ่ง
เพราะจะเป็นช่วงเวลาที่มีความเปราะบางต่อภาพรวมของเศรษฐกิจสิงคโปร์
ถือเป็นสงครามครั้งใหญ่สำหรับเกาะแห่งนี้ทีเดียว
หลี่ เสี่ยนหลงบอกว่า
"ถึงวันนี้ก็เห็นผลกระทบที่ร้ายแรงมากกว่าโรคซาร์สแล้ว อีกทั้งเศรษฐกิจในภูมิภาคก็เชื่อมโยงระหว่างกันมากกว่าเดิม โดยเฉพาะจีน เป็นปัจจัยสำคัญต่อภูมิภาคมากกว่าตอนที่ซาร์สระบาด ผมไม่สามารถบอกได้ว่าเราจะเข้าภาวะถดถอยหรือไม่ แต่มันเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจของเราจะถูกกระทบค่อนข้างแรง"
เมื่อคราวที่โรคซาร์สระบาดช่วงเดือนมีนาคม 2003 สิงคโปร์ใช้เวลา 5 เดือนหรือถึงเดือนกรกฎาคมในปีเดียวกันทำให้สถานการณ์สงบลงได้
นายกฯ สิงคโปร์บอกว่า การสามารถควบคุมโรคระบาดนี้ได้ครั้งนั้นถือว่าเร็วมาก
แต่ครั้งนี้ดูจากสัญญาณทั้งหลายแล้ว เขาคิดว่าจะไม่เร็วอย่างนั้น
(ใส่ภาพ)********
สถิติสัปดาห์ที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่า เปอร์เซ็นต์คนเสียชีวิตต่อผู้ติดเชื้อของ Covid-19 อยู่ที่ 2.27% เปรียบเทียบกับ SARS ที่ 9.56% ขณะที่ MERS สูงสุดที่ 34.45% แต่ผลกระทบทางเศรษฐกิจกลับตรงกันข้าม
สิงคโปร์กำลังต่อสู้กับโรคระบาดรอบใหม่นี้อย่างหนักด้วยมาตรการเข้มข้นทุกวิถีทาง ถึงขั้นห้ามคนที่เคยไปจีนใน 14 วันที่ผ่านมาเข้าประเทศ
เมื่อมีผู้คนตระหนกถึงขั้นตุนอาหารด้วยการกว้านซื้ออาหารและของใช้ประจำวันจากร้านค้าต่างๆ นายกฯ หลี่ต้องออกทีวีใช้ทั้งภาษาจีน, อังกฤษ และมาเลย์เพื่อปลอบใจประชาชน
ยอดผู้ติดเชื้อที่นั่นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตัวเลขล่าสุดอยู่ที่ 58 คน ผ่านการแพร่เชื้อกระจุกตัว 5 กลุ่ม
ที่เห็นชัดคืออุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นภาคหนึ่งที่กระทบหนักที่สุด
รัฐบาลสิงคโปร์เตรียมรับสภาพว่านักท่องเที่ยวอาจจะร่วงหล่นถึง 25-30% ในปีนี้
ของไทยเรายังไม่มีการประเมินตัวเลขที่นักท่องเที่ยวจะหดหายไปเท่าไหร่ แต่หลายสำนักวิเคราะห์ว่าหากการระบาดยังยืดเยื้อไปถึงกลางปี จำนวนนักท่องเที่ยวเข้าไทยอาจจะหล่นหายไปกว่าครึ่ง
นั่นย่อมแปลว่าเศรษฐกิจของทั้งภูมิภาคจะร่วงลงไปเหมือนๆ กัน ไม่มีใครเป็นแรงหนุนช่วยได้ มีแต่จะต้องวางแผนร่วมกันในการช่วยกันประคองให้ทั้งอาเซียนสามารถฝ่าวิกฤตินี้ไปได้ด้วยความบาดเจ็บน้อยที่สุด
แต่อาเซียนจะฟื้นได้ จีนก็ต้องลุกขึ้นก่อน
ไม่มียุคไหนที่เศรษฐกิจและความอยู่ดีกินดีของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้จะเชื่อมโยงกับจีนมากเพียงนี้
จะชอบหรือไม่ชอบ ชะตากรรมของอาเซียนกับจีนก็ต้องผูกพันกันอย่างชนิดที่หนีกันไม่พ้น
ทางออกคือการพยายามช่วยกันหาหนทางพ้นจากวิกฤตินี้ไปด้วยกัน
ซึ่งหมายถึงการระดมสมอง, วางแผน และปรับยุทธศาสตร์ที่เป็นทั้งระดับชาติและระดับภูมิภาคร่วมกัน
งานนี้ไม่มีพระเอก ไม่มีผู้ร้าย มีแต่ตัวละครที่ต้องเข้าฉากให้เดินเรื่องไปได้อย่างราบเรียบที่สุดเท่าที่จะทำได้
คำว่า "เรียบร้อยที่สุด" เห็นจะไม่มี
แค่ "พอกล้อมแกล้มรอดตาย" ได้ก็ถือว่าสอบผ่านแล้ว.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |