ดูเหมือนจะชัดเจนแล้วว่า วรวุฒิ อุ่นใจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีโอแอล จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นหนึ่งในธุรกิจของเครือเซ็นทรัล ต้องการจะเดินเข้าสู่สายการเมืองจริงจัง โดยเขายังมีตำแหน่งประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย แต่เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาเขาได้โพสต์ข้อความผ่านโซเชียลมีเดียในการเข้าร่วมพรรคการเมืองน้องใหม่
เมื่อวันก่อนสมาคมผู้ค้าปลีกไทยจึงมีหนังสือชี้แจงระบุว่า นายวรวุฒิ อุ่นใจ ซึ่งดํารงตําแหน่งประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย ในวาระ พ.ศ.2561 - พ.ศ.2563 ได้แจ้งลาออกจากตําแหน่งประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2563 เนื่องจากต้องไปปฏิบัติภารกิจด้านอื่นตามที่ตั้งใจไว้ ทําให้ไม่สามารถสละเวลาเพื่อบริหารงานสมาคมผู้ค้าปลีกไทยได้ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป
ในการนี้ ทางสมาคมผู้ค้าปลีกไทย จึงขอเรียนแจ้งมายังท่านสื่อมวลชนเพื่อโปรดทราบ และจะได้ไม่เกิดความสับสน ซึ่งขณะนี้ทางสมาคมฯ อยู่ในระหว่างกระบวนการสรรหาผู้ที่จะมารักษาการในตําแหน่งประธานสมาคมฯ จนกว่าจะถึงวันเลือกตั้งประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย วาระ พ.ศ.2563-2565 ในการประชุมใหญ่สามัญประจําปี และจะแจ้งให้ท่านสื่อมวลชนทราบต่อไป
นั่นเป็นข้อความจากสมาคมค้าปลีกไทย ซึ่งต้องยอมรับว่า วรวุฒิ อุ่นใจ เป็นหนึ่งในผู้บริหารที่คลุกคลีอยู่ในวงการค้าปลีกมานาน และจะได้เห็นเขาในงานสัมมนาต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เลยอยากจะหยิบยกประเด็นที่มาแชร์บนเวที Priceza E-Commerce Summit 2020 มาให้ได้ดูกันว่าในตอนนี้สถานการณ์ค้าปลีกเมืองไทยเป็นอย่างไรกันบ้าง
ภาพรวมของธุรกิจค้าปลีกทั้งอุตสาหกรรมในปี 2562 ไม่ค่อยสดใส ซึ่งเป็นไปตามสภาวะของเศรษฐกิจไทยชะลอตัว ส่วนธุรกิจไทยในปี 2563 นั้น เรียกว่าเป็นธุรกิจ 2 แสน คือ แสนสาหัสและแสนลำบาก เนื่องจากปัญหาเรื่องโครงสร้างภาษีนำเข้ายังไม่มีการแก้ไข แม้ภาครัฐจะมีมาตรการ ชิม ช้อป ใช้ ออกมา แต่มาตรการดังกล่าวเป็นเพียงการแก้ปัญหาระยะสั้น ไม่ได้แก้ปัญหาที่โครงสร้าง การกระจายรายได้และความเหลื่อมล้ำในธุรกิจก็ยังไม่ได้ถูกแก้ไข ตลอดจนปัญหาสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐ โดยจีนได้มีการลดค่าเงินหยวนลง ส่วนภาวะค่าเงินบาทของไทยแข็งค่า จึงกระทบการภาคส่งออกส่งผลให้ส่งออกติดลบประมาณ 5% เพราะจีนถือเป็นคู่แข่งที่สำคัญของไทย ซึ่งเมื่อค่าเงินดังกล่าวผันผวนส่งผลให้สินค้าไทยแพงกว่าจีนถึง 20 เท่า
ภาคการเกษตรเองก็มีปัญหาราคาตกต่ำมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งยาง ข้าว ดังนั้นสิ่งสำคัญที่ช่วยได้คือ Value Added หรือการเพิ่มมูลค่าของสินค้า เช่น การพัฒนาสินค้าเกษตรแปรรูป ในส่วนของภาคธุรกิจเอสเอ็มอีก็ต้องมีการปรับตัวเข้าสู่ดิจิทัลอีโคโนมี ใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ อาทิ ร้านอาหารที่ขายเฉพาะหน้าร้าน ต้องปรับไปใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ควบคู่กันไปด้วย ไม่ว่าจะเป็น Foodpanda LINE MAN Grab โดยข้อมูลของร้านที่ปรับตัวมาใช้บริการเดลิเวอรีมีรายได้เพิ่มขึ้น 7-8 เท่า ธุรกิจใดที่สามารถปรับตัวตามได้ก็จะสามารถอยู่รอด
ค้าปลีกยุคใหม่มีคำศัพท์มาจากอาลีบาบา ก็คือการทำธุรกิจในรูปแบบ OMNI-Channel การขายออนไลน์อย่างเดียวคือ Single Channel การขายออนไลน์และค้าปลีกคือ Multi-Channel หากต้องการให้ธุรกิจเป็น OMNI-Channel ต้อง Seamless Operation and Data หมายความว่าเมื่อลูกค้าซื้อของผ่านออนไลน์ แต่ไปติดต่อข้อมูลที่หน้าร้าน ผู้ขายต้องให้ข้อมูลและบริการได้โดยต้องมีฐานข้อมูลร่วมกัน
แต่การทำธุรกิจค้าปลีกให้เป็นรูปแบบออมนิชาแนลยังทำได้ยาก ธุรกิจที่ทำแล้วประสบความสำเร็จคืออาลีบาบาและอเมซอน เพราะสิ่งสำคัญที่ธุรกิจยังขาดคือดาต้าเบส ซึ่งฝั่งธุรกิจออนไลน์ทำง่ายกว่า เนื่องจากมีฐานข้อมูลและชำนาญในการสร้างคอนเทนต์ แต่มองว่าค้าปลีกยุคใหม่หรือออมนิชาแนลของธุรกิจค้าปลีกในไทยเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
ธุรกิจของออฟฟิศเมทมีการปรับตัวล่วงหน้ามาหลายปี ซึ่งต่อจากนี้การทำธุรกิจจะไม่มีการเปิดสาขาเอง แต่จะขยายสาขาโดยสร้างแฟรนไชส์ในแบบออมนิชาแนล ด้านบีทูเอสก็พัฒนาโซน Think Space เน้นให้ผู้บริโภคได้ทำกิจกรรมร่วมกันขึ้นเมื่อ 4-5 ปีที่ผ่านมา เพราะต้องปรับตัวจากการขายหนังสือ แมกกาซีน ซีดี ดีวีดี หนังหรือเพลง ที่รับความนิยมลดน้อยลง ทำให้มีการเติบโตประมาณ 10% ท่ามกลางธุรกิจสิ่งพิมพ์ที่หดตัว.
รุ่งนภา สารพิน
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |