ถอดบทเรียนกราดยิง โคราช เป็นเรื่องของ"คนมองโลกในแง่ร้าย"คิดวางแผนเรื่องนี้ไว้แล้วก่อนลงมือ แนะสังคมอย่าให้ราคา เพื่อไม่ให้เกิดเหตุซ้ำอีก


เพิ่มเพื่อน    

 
18 ก.พ. 63 - ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในงานเสวนาวิชาการ ถอดบทเรียนทางจิตวิทยา "เหตุกราดยิง : ที่มา ทางแก้ และป้องกัน" โดยคณะจิตวิทยา รศ.ดร.สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต นักจิตวิทยาการปรับพฤติกรรม อดีตคณบดีคณะจิตวิทยา กล่าวว่า จากเหตุกราดยิงที่จ.นครราชสีมา กล่าวได้ว่าพฤติกรรมความรุนแรงมีอยู่ในตัวของทุกคน ทุกคนมีโอกาสจะกระทำความรุนแรงได้ ไม่ว่าจะด้วยคำพูด หรือการกระทำรูปแบบต่างๆ ก็ตาม เพียงแต่ว่าจะแสดงออกมาเมื่อไหร่ คนส่วนมากยังควบคุมตัวเองได้ แต่ปัจจุบันก็ค่อนข้างเสี่ยง เพราะเราอยู่ในสังคมที่ไฮเทคโนโลยี หรือมีการใช้เทคโนโลยีสูง ทำให้ทุกอย่างรวดเร็วไปหมด จากอดีตที่เคยฝึกให้พูด ให้ทำอะไรแบบค่อยเป็นค่อยไป กลับกลายเป็นว่าต้องทำอะไรให้เร็วกว่าเดิม โดยที่เราไม่ได้คำนึงว่าถูกหรือผิด ไม่มีการไตร่ตรอง ยิ่งตอนนี้สังคมเราไม่ได้สอนเด็กให้รู้จักควบคุมตนเอง ทำให้เด็กควบคุมตนเองไม่ได้  คนไทยมักเลี้ยงลูกให้สบายเกินไป จนไม่รู้จักกฏระเบียบของสังคม

รศ.ดร.สมโภชน์ กล่าวอีกว่า คนที่มีแนวโน้มแสดงพฤติกรรมความรุนแรง ก้าวร้าว มักเป็นคนมองโลกในแง่ร้าย คิดว่าตัวเองถูกกระทำ ชอบโทษคนอื่น โดยไม่มองดูตัวเอง คิดแต่ว่าคนอื่นทำร้ายตัวเอง โทษสังคมหมด แล้วก็มีบางคนที่คิดว่าตัวเองไม่มีตัวตนในสังคม เลยพยายามจะทำให้ตัวเองมีตัวตน ทำอย่างไรก็ได้ที่จะได้รับความสนใจ หรือคนที่ไม่มีใครอยู่ข้างๆ บางคนแยกตัวออกจากสังคม อย่างไรก็ตาม  สังคมเราปล่อยให้เด็กเรียนเยอะ แทนที่จะพาทำกิจกรรมร่วมกันสนุกๆ ก็เลยทำให้เด็กบางคนเกิดปัญหาขึ้นมาตอนที่เติบโต


ในส่วนของความเห็นที่ว่า ความรุนแรงเกิดจากพฤติกรรมเลียนแบบจากข่าวสาร สื่อต่างๆ ตนคิดว่าไม่ใช่ มันคือความเข้าใจผิด แต่คิดว่ามันคือการเรียนรู้มากกว่า รู้ว่าปืนใช้อย่างไร จะวางแผนอย่างไร ก่ออาชญากรรมอย่างไร ทำระเบิดอย่างไร จะขโมยของอย่างไร พอเรียนรู้แล้วจะทำตามหรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง สิ่งที่จะทำให้เขาก่อเหตุจริงๆ คือต้องมีเหตุกระตุ้นก่อน ทั้งนี้ทั้งนั้นการไม่รู้นั้นดีกว่ารู้ แต่ก็หนีไม่ได้เพราะทุกวันนี้เปิดสื่อกว้างทุกอย่าง

“กรณีโคราช จากการวิเคราะห์คิดว่าเป็นกรณีที่วางแผน แต่ตั้งใจหรือไม่เป็นอีกเรื่อง เพราะเขาวางแผนเป็นเสต็ปๆ เขาวางแผนไว้แล้ว ทุกขั้นตอนแต่ไม่ได้ทำกระทันหันเลย จนกระทั่งเกิดแรงกระตุ้นจึงก่อเหตุ คนแบบนี้มีเยอะในสังคมไทย แต่ขึ้นอยู่กับปัจจัยกระตุ้นของแต่ละบุคคล ฉะนั้นถ้าหากสื่อให้ความสนใจ ให้เขาเป็นฮีโร่เมื่อไหร่ คนที่คิดว่าตัวเองไร้ตัวตนในบ้านเรามีมาก วันหนึ่งจะกลายเป็นภัย อย่างนิวซีแลนด์ ไม่เกิดเหตุการณ์ลักษณะนี้ซ้ำ เพราะเขาไม่ให้ตัวตนผู้กระทำ คนที่จะทำก็รู้สึกว่าทำแล้วก็ไม่มีตัวตนก็เลยไม่ทำ เราต้องหาทางป้องกันไม่ให้เกิด เช่น ป้องกันไม่ให้เข้าถึงอาวุธ ไม่ให้เกิดความขัดแย้ง ปัญหาก็จะไม่เกิดขึ้น ถึงเกิดก็อาจจะไม่รุนแรงถ้าป้องกันดี” รศ.ดร.สมโภชน์ กล่าว

อดีตคณบดีคณะจิตวิทยา สรุปด้วยว่า ถ้าไม่อยากให้สิ่งนี้เกิดขึ้นในสังคมไทย เราควรให้ความสำคัญเรื่องครอบครัวจริงจัง ว่าจะเลี้ยงลูก ดูแลลูกอย่างไรให้รู้จักควบคุมตนเองได้ เราไม่มีทางจัดการอย่างอื่นได้ เราควบคุมสื่อไม่ได้ ควบคุมสภาพแวดล้อมได้ยาก แต่จะทำอย่างไรให้เด็กเรามีภูมิคุ้มกัน ไม่ต้องพึ่งโรงเรียน จุดเริ่มต้นต้องมาจากที่บ้าน ควรทำตั้งแต่ตอนนี้ แล้วปัญหาในอนาคตจะลดลง

ด้าน ดร.นัทธี จิตสว่าง นักอาชญาวิทยา อดีตอธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าวว่า จากการศึกษาศาสตร์ด้านต่างๆ ทั้งจิตวิทยา มนุษยวิทยา อาชญาวิทยาแล้ว ปัญหาความรุนแรง ประสงค์ร้าย จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมี 2 ตัวแปรสำคัญคือ มูลเหตุจูงใจ และโอกาส ถึงจะเกิดเหตุความรุนแรงขึ้น ซึ่งมูลเหตุจูงใจ คือจิตใจ ของคน พฤติกรรม ส่วนโอกาสคือ ช่วงจังหวะเวลา สถานที่ การเข้าถึงอาวุธ ฯลฯ ถ้าไม่มีสองตัวแปรนี้ก็ไม่เกิด 


จากการศึกษากรณีของต่างประเทศเรื่องมูลเหตุจูงใจ มีนักวิชาการหลายท่านได้อธิบายเรื่องกราดยิงเอาไว้โดยส่วนใหญ่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส รัสเซีย ฯลฯ ลักษณะของผู้ทำความผิดมักมีปัจจัยมาจาก 4-5 ประการ คือ 1.ส่วนใหญ่เป็นคนเก็บตัว โดดเดี่ยว ไม่สุงสิงกับใคร ไม่มีเพื่อน เก็บกด ยกตัวอย่างสหรัฐอเมริกาใน 10 ปี เกิดเหตุการณ์กราดยิงไปแล้ว 200 ครั้ง ประมาณปีละ 20 กว่าครั้ง คนทำมักจะมีลักษณะนี้  อยู่คนเดียว เวลามีปัญหามักจะไม่มีคนให้คำปรึกษา 2.เป็นผู้ถูกกระทำมาจากวัยเด็ก เช่น ครอบครัวแตกแยก พ่อแม่ เสียชีวิต โดนพ่อเลี้ยง แม่เลี้ยงทำร้าย หรือถูกกระทำจากโรงเรียน สถานที่ทำงาน ทำให้เกลียดสถานที่ทำงาน เกลียดโรงเรียน 3.เป็นผู้นิยมความรุนแรงหรือคลุกคลีกับความรุนแรงมาตลอด เช่น ฆ่าสัตว์ เพราะสัตว์ไม่ได้ดั่งใจ 4.นิยมหรือศึกษาเกี่ยวกับปืน ชอบยิงปืน เช่น บางรายพ่อซื้อปืนให้ตั้งแต่อายุ 16 ปี เป็นของขวัญวันเกิด 5.มีการรับรู้หรือเรียนรู้จากเหตุการณ์ความรุนแรง เช่น กราดยิงในคอนเสิร์ตในเมืองหนึ่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งทั้งหมดนี้ไม่ได้เกิดขึ้นจากปัจจัยเดียว แต่อาจมาจากหลายปัจจัยรวมๆ กัน ในประเทศไทยอัตราการเสียชีวิตจากปืนถือเป็นอันดับต้นๆ ของโลก เพราะเป็นประเทศเข้าถึงปืนง่าย แม้แต่ขับรถบนท้องถนนไม่พอใจกันก็ใช้ปืนยิง หรือวัยรุ่นทะเลาะกันก็ใช้ปืนยิง ขณะที่ญี่ปุ่น ไต้หวัน เข้าถึงปืนยากกว่าเรา แต่เหตุกราดยิงถือเป็นครั้งแรก

"ซึ่งโดยสรุปแล้ว สาเหตุของความรุนแรงก็เป็นเรื่องเหตุจูงใจ โอกาส ที่จะนำไปสู่ความผิด สิ่งที่เราควรแก้ต่อไปนี้คือ ควบคุมโอกาส ตัดมูลเหตุจูงใจ ขณะนี้ไทยเราเริ่มรณรงค์ครอบครองอาวุธปืนบ้างแล้ว แต่ต้องคุยกับกลุ่มบริษัทปืน สนามยิงปืนต่างๆ อีกครั้งว่าจะร่วมกันอย่างไร ต้องอาศัยพลังคนช่วยเรียกร้องเรื่องการครอบครองอาวุธปืนด้วย เพราะบางกลุ่มเข้าถึงไม่ได้ก็ผลิตเองได้ สิ่งที่สำคัญอีกอย่างคือ สังคมควรเปิดโอกาสให้คนมีความเท่าเทียมกัน ไม่ทำให้ใครรู้สึกโดนเอาเปรียบ"
     ดร.นัทธี กล่าวอีกว่า ในทางอาชญาวิทยา การก่อเหตุความรุนแรงแนวอาชญากรรมมีหลายกรณี อาจจะเกิดจากการวางแผนมาก่อนหรืออาจจะเพราะอารมณ์ชั่ววูบที่มาจากการโกรธแค้น มีอีกประเภทคือการอาชญากรรมต่อเนื่อง เช่นกรณีนายสมคิด พุ่มพวง มาจากการวางแผนเพราะเขาเลือกกระทำเหยื่อ และทำในสถานที่ที่เลือกเอง อีกประเภทคือ อาชญากรรมต่อเนื่องด้วยอารมณ์พาไป เช่นยิงปืนใส่คนแรกแล้ว คนต่อไปเริ่มยิงด้วยอารมณ์ ส่วนการกราดยิง ส่วนใหญ่เกือบทุกกรณีมีการวางแผนทั้งนั้น เพราะการที่จะทำแบบนี้ได้ต้องอาศัยปัจจัยหลายย่าง โดยกรณีโคราช ผู้กระทำมีการโพสในเฟซบุ๊คก่อนด้วย และหลายรายในสหรัฐอเมริกาที่ได้ศึกษามาก็พบว่ามีการโพสต์ เขียนบันทึกไว้ก่อนทำนองที่ว่าจะสร้างประวัติศาสตร์ให้คนจดจำ

ขณะที่ ผศ.ดร.วัชราภรณ์ บุญญศิริวัฒน์ นักจิตวิทยาสังคม รองคณบดีคณะจิตวิทยา จุฬาฯ กล่าว สรุปถึงมุมมองการนำเสนอของสื่อว่า สื่อคือผู้มีอิทธิพลต่อการนำเสนอเรื่องราวอันดับต้นๆ และมีความเสี่ยงใกล้เคียงกับเจ้าหน้าที่ที่ทำงาน จากบทเรียนครั้งนี้หากไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์ระบาดซ้ำๆ เราไม่ควรให้ความสนใจกับผู้กระทำ ไม่นำเสนอปมของผู้กระทำ หรือให้พื้นที่ข่าวของเขามากเกินไป ยกตัวอย่างสหรัฐอเมริกา ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งมีการนำเสนอข่าวที่เป็นสถิติเทียบกันแต่ละครั้งๆ นั่นอาจเป็นเหตุจูงใจให้คนอยากจะทำลายสถิติเดิม อันนี้ต้องหลีกเลี่ยง เราควรทำให้คนเห็นว่าสิ่งที่เขาทำ เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องมากกว่า


 ส่วน ผศ.ดร.ณัฐสุดา เต้พันธ์ นักจิตวิทยาการปรึกษา หัวหน้าศูนย์สุขภาวะทางจิต กล่าวว่า กรณีนี้ทำให้หลายคนเริ่มเกิดความกลัววิตกกังวลในการใช้ชีวิตมากขึ้น ติดตามเหตุการณ์มากเกินไป บางคนไม่กล้าออกไปเดินห้างสรรพสินค้า สิ่งที่ควรทำคือเราควรต้องตระหนักและยอมรับอารมณ์ที่เกิดขึ้นให้ได้ เมื่อไรที่เรายอมรับได้แล้ว ก็ควรสื่อสารออกมาว่ารู้สึกอย่างไรต่อเหตุการณ์ และตนเองเป็นอย่างไร การได้พูดอารมณ์ที่เรารู้สึกออกมาจะทำให้เราบรรเทาความเข้มของอารมณ์ให้เจือจางลง ให้เราพูดกับคนที่เราไว้ใจ บางทีเหตุการณ์นี้ทำให้เกิดความรู้สึกอื่นๆ อีกว่าโลกน่ากลัว ชีวิตหมดหวัง สังคมไม่น่าอยู่ ให้คิดใหม่ว่ายังมีอะไรสำคัญในชีวิตของเรา เราควรผันเปลี่ยนให้กลายเป็นพลังว่าเรานี่แหละที่จะทำการเปลี่ยนแปลง สร้างสังคมให้ดีขึ้น ลงมือทำอะไรที่เกิดประโยชน์ ซึ่งจะนำมาสู่ความคิดที่ว่าเราสามารถบริหารจัดการชีวิตตนเองได้ ถ้าหากอยู่ในความกลัวมันอาจจะขยายความกลัวไปเรื่อยๆ จนไม่สามารถควบคุมได้

...


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"