ประเทศไทยตอนบนอากาศกลับมาหนาวอีก อีสานอุณหภูมิลด 6 องศา ขณะที่ภาคกลางลด 3 องศา ส่วนภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น ปภ.เผย 22 จังหวัดประกาศเขตภัยแล้ง
ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทยตอนบน และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2563)" ฉบับที่ 3 ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2563
ในช่วงวันที่ 16-19 กุมภาพันธ์ 63 ประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศเย็นถึงหนาว กับมีลมแรง สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนืออุณหภูมิจะลดลง 4-6 องศาเซลเซียส ส่วนภาคกลาง และภาคตะวันออกอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระมัดระวังอันตรายและดูแลสุขภาพ เนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นลงไว้ด้วย
สำหรับภาคใต้จะมีฝนเพิ่มขึ้น ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไปมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ชาวเรือระมัดระวังในการเดินเรือและเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 17-20 ก.พ.63
ทั้งนี้ เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง สำหรับลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนเพิ่มขึ้น ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังแรง
พยากรณ์อากาศในรอบสัปดาห์ ภาคเหนือ ในช่วงวันที่ 16-22 ก.พ.63 อากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 10-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 3-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงวันที่ 16-22 ก.พ.63 อากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 4-6 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 12-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-13 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ภาคกลาง ในช่วงวันที่ 16-22 ก.พ.63 อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส โดยจะมีลมแรงในช่วงวันที่ 17-22 ก.พ. 63 อุณหภูมิต่ำสุด 18-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ภาคตะวันออก ในวันที่ 16 ก.พ.63 มีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 17-22 ก.พ.63 อากาศเย็นกับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) ในวันที่ 16 ก.พ.63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันออกความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 17-22 ก.พ.63 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่ฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2-3 เมตร บริเวณที่ฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) ในช่วงวันที่ 16-17 ก.พ.63 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร ในช่วงวันที่ 18-22 ก.พ.63 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในวันที่ 16 ก.พ.63 มีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 17-22 ก.พ.63 อุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
นายมณฑล สุดประเสริฐ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีจังหวัดประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) 22 จังหวัด รวม 128 อำเภอ 676 ตำบล 5,849 หมู่บ้าน/ชุมชน แยกเป็น ภาคเหนือ 6 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย พะเยา น่าน อุตรดิตถ์ สุโขทัย และเพชรบูรณ์ รวม 37 อำเภอ 169 ตำบล 1,211 หมู่บ้าน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 10 จังหวัด ได้แก่ หนองคาย บึงกาฬ นครพนม สกลนคร กาฬสินธุ์ มหาสารคาม นครราชสีมา บุรีรัมย์ ชัยภูมิ และศรีสะเกษ รวม 58 อำเภอ 343 ตำบล 3,287 หมู่บ้าน ภาคกลาง 6 จังหวัด ได้แก่ นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี สุพรรณบุรี และฉะเชิงเทรา รวม 33 อำเภอ 164 ตำบล 1,351 หมู่บ้าน
ทั้งนี้ ปภ.ได้ร่วมกับหน่วยทหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ง โดยระดมสรรพกำลัง เครื่องจักรกล ยานพาหนะ และอุปกรณ์ เพื่อแก้ไขปัญหาให้สอดคล้องกับสภาพความเสี่ยงของพื้นที่ ทั้งการสูบส่งน้ำ การขุดบ่อน้ำตื้น การขุดบ่อน้ำบาดาล การเป่าล้างบ่อบาดาล และจัดรถบรรทุกน้ำนำน้ำไปเติมยังถังน้ำกลางประจำหมู่บ้านและจุดแจกจ่ายน้ำตามวงรอบอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนมีน้ำอุปโภคบริโภคเพียงพอตลอดฤดูแล้ง ตลอดจนรณรงค์ให้ทุกภาคส่วนใช้น้ำอย่างประหยัดและเกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนเกษตรกรให้ปรับวิถีทำการเกษตรให้สอดคล้องกับสถานการณ์น้ำในพื้นที่ สำหรับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์ภัยแล้ง สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |