กสทช.โกยเงินประมูลคลื่น 5G แสนล้าน


เพิ่มเพื่อน    

 

ในวันนี้ 16 ก.พ 2563  สำนักงานกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้จะประมูลคลื่น 5G และเริ่มต้นที่คลื่นความถี่ย่าน 700 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 3 ชุด ชุดละ 5 เมกะเฮิรตซ์ รวม 15 เมกะเฮิรตซ์ ราคาเริ่มต้น 8,792 ล้านบาท เคาะราคาครั้งละ 440 ล้านบาท โดยในคลื่นนี้มีผู้เข้าประมูล 3 ได้แก่ "เอไอเอส ทรูมูฟ และ แคท เทเลคอม" ซึ่งเริ่มประมูลเริ่มตั้งแต่ 9.30 น. ในรอบแรกมีการเสนอความต้องการมากถึง 6 ชุดความถี่ มากกว่าจำนวนที่มีจัดสรรถึงเท่าตัว 

ต่อมาในรอบที่ 2 มีการเสนอความต้องการลดเหลือ 4 ชุดมากกว่าจำนวนที่มีจัดสรร 1 ชุด โดยจากรอบที่ 2 เคาะราคายืนที่ 4 ชุดมาตลอด เวลาผ่านไปเกือบ 3 ชั่วโมง จนมาถึงรอบที่ 20 มีการเสนอความต้องการเท่ากับจำนวนที่จัดสรรแล้วที่ 3 ชุด  โดยราคาคลื่นมาหยุดที่ 17,153 ล้านบาท ในเวลา 11.58 น.

ทั้งนี้ ราคาคลื่น 700 ครั้งนี้ถือว่ามีราคาประมูลที่แพงขึ้นมาก ต่างจากการประมูลคลื่น 700 ที่สำนักงานกสทช.จัดประมูลไปเมื่อวันที่ 19 มิ.ย.2562 ที่ 3 ชุดใบอนุญาตๆละ 10 เมกะเฮิรตซ์ โดยครั้งนั้น เอไอเอส ทรูมูฟ และ ดีแทคได้ไปคนละ 10 เมกะเฮิรตซ์ ในราคาเท่ากันที่ 17,584 ล้านบาท แต่ครั้งนี้ การประมูลจัดสรรเพียงแค่ 5 เมกะเฮิรตซ์ แต่กลับมีราคาถึง 17,153 ล้านบาท รวมกัน 3 ใบ เท่ากับ  51,459 ล้านบาท

สำหรับการประมูลคลื่นความถี่ 2600 MHz ที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. นำออกประมูลในวันนี้ (16 ก.พ.) นั้น พบว่า การประมูลจบลงอย่างรวดเร็วในเวลา 13.30 น. ซึ่งเป็นการประมูลรอบที่ 2ทั้งนี้ มีผู้เข้าประมูล 3 ราย ได้แก่ เอดับบลิวเอ็น ในเครือเอไอเอส, ทียูซี ในเครือทรู และ กสท โทรคมนาคม (แคท) เสนอราคาประมูล โดยรอบแรกของการประมูลเริ่มขึ้นในเวลา 12.50 น. เสนอซื้อรวมกัน 25 ใบอนุญาต แต่เมื่อเข้าสู่การประมูลรอบที่สอง ที่ราคาต่อใบอนุญาต อยู่ที่ 2,048 ล้านบาท มีผู้เสนอราคารวมกันแค่ 19 ใบอนุญาต เท่ากับที่ กสทช. นำออกประมูล ทำให้การประมูลจบลงด้วยราคา 1,956 ล้านบาทต่อใบอนุญาต ที่รวมกันทั้ง 19 ใบอนุญาต ได้เงินเข้ารัฐบาลจำนวน 37,164 ล้านบาท

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เริ่มเปิดการประมูลคลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคม 26 กิกะเฮิร์ตซ (GHz) เป็นคลื่นที่ 3 จบที่การประมูลครั้งแรก เนื่องจากมีผู้เคาะความต้องการคลื่นมาจำนวน 26 ใบอนุญาต จากที่มี 27 ใบอนุญาต ที่ราคาใบละ 445 ล้านบาท รวมทั้งหมดคิดเป็นมูลค่า 11,570 ล้านบาท

สำหรับผู้เข้าประมูลคลื่นในย่านนี้ ได้แก่ "เอไอเอส , ทรูมูฟ ,ดีแทค และ ทีโอที" ทั้งนี้หลังจากเสร็จสิ้นการประมูล กสทช.จะนำเสนอที่ประชุมบอร์ดเพื่อรับรองผลการประมูล ก่อนที่จะประกาศรายชื่อผู้ชนะและจำนวนใบอนุญาตที่แต่ละรายได้รับต่อไป

สรุปยอดเงินรายได้จากการประมูลทั้ง 3 คลื่น ได้แก่ คลื่น700 MHz 3 ใบอนุญาต เป็นเงิน 51,459 ล้านบาท , คลื่น2600 MHz 19 ใบอนุญาต เป็นเงิน 37,164 ล้านบาท และ คลื่น 26 GHz 26 ใบอนุญาต เป็นเงิน 11,570 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 100,193 ล้านบาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"