สสส.ปั้นนักนวัตกรสร้างเสริมสุขภาพรุ่นใหม่จากเยาวชน THAIHEALTH INNO Awards ครั้งที่ 2 TOGETHER WE CAN


เพิ่มเพื่อน    

 

 

สสส.ประกาศผลรางวัลนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ THAIHEALTH INNO Awards ครั้งที่ 2 ปั้นนักนวัตกรรุ่นใหม่จากเยาวชนระดับมัธยมและอาชีวศึกษา TOGETHER WE CAN ร่วมกัน เราทำได้ พร้อมจับมือทุกภาคส่วนใช้นวัตกรรมขับเคลื่อนและสร้างเสริมสุขภาพให้สังคมไทยยั่งยืน ผจก.สสส.เดินหน้าบ่มเพาะแนวคิดของการเป็นนักนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการต่อยอดผลงานให้สามารถขยายผลในวงกว้างเพื่อสร้างเสริมสุขภาพให้กับทุกคนในสังคมไทย

                ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เปิดเผยว่า สสส.ดำเนินงานด้นการสร้างเสริมสุขภาพ มุ่งแก้ไขต้นเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพของคนไทย โดยเฉพาะการสร้างนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านนโยบาย สิ่งแวดล้อม เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน การปรับเปลี่ยนระบบบริการสุขภาพ การสร้างทักษะและพฤติกรรมส่วนบุคคลให้มีสุขภาพครบ 4 มิติ สุขภาพกาย สุขภาพจิตใจ สุขภาพทางสังคม สุขภาพทางปัญญา “นวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ” ในมุมมองของ สสส. เป็นได้ทั้งแนวคิดหรือสิ่งประดิษฐ์ที่เกิดขึ้นจากการผสมผสานความคิดริเริ่มสร้างสรรค์บนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ ให้เกิดเป็นผลงานที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพทั้ง 4 มิติ”

                “สสส.มีความเชื่อมั่นในพลังของคนรุ่นใหม่ที่จะสร้างสรรค์สิ่งใหม่เพื่อเปลี่ยนสุขภาวะของคนในสังคมให้ดียิ่งขึ้น โครงการประกวดนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ : THAIHEALTH INNO AWARDS ครั้งที่ 2 จากโจทย์หลักคือความอยากที่จะเปลี่ยนสังคมรอบตัวด้วยแนวคิดนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อแก้ปัญหาหรือส่งเสริมสุขภาพของชุมชน หรือประเด็นทางสังคมที่ขยายผลในวงกว้างได้ แบ่งการประกวดเป็น 2 ระดับ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย  ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.หรือเทียบเท่า) มีผลงานจากนักเรียนระดับมัธยมและอาชีวศึกษาส่งผลงาน 132 ทีม ทีมทีผ่านเข้ารอบสุดท้าย 18 ทีม สสส.ไม่ได้มุ่งหวังเพียงการประกวดเพื่อให้ได้ชิ้นงานนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ แต่มุ่งหวังที่จะสร้างเมล็ดพันธุ์นักนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพที่เกิดขึ้นทั้งลูกศิษย์และครู เพื่อบ่มเพาะแนวคิดของการเป็นนักนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการต่อยอดผลงานให้สามารถขยายผลในวงกว้างเพื่อสร้างเสริมสุขภาพให้กับทุกคนในสังคมไทย”

                เราต้องการนวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพมากขึ้นเรื่อยๆ การเปลี่ยนแปลงหลายอย่างทำลายสุขภาพ ไวรัสโคโรนาอยู่ในค้างคาวเคลื่อนย้ายเข้ามาสู่ร่างกายมนุษย์ ปรับตัวอยู่และเผยแพร่เชื้อโรค นวัตกรรมแพร่เชื้อโรค ไวรัสนี้นั่งเครื่องบินแพร่ไปแล้วทั่วโลก ข้ามทวีป นวัตกรรมทำลายสุขภาพ เราพัฒนามีส่วนทำลายสุขภาพอุตสาหกรรมบุหรี่ ทุกวันนี้บุหรี่รุ่นใหม่ๆ สูบแล้วติดเร็ว เลิกยาก นักวิทยาศาสตร์ต้องทำงานอย่างขะมักเขม้น คนเราทำงานอยู่หน้าจอวันละ 12 ชั่วโมง บวกลบเกินครึ่ง

                ทุกวันนี้เราไม่ได้อยู่กับคนแบบ face to face เราอยู่กับ digital ยุคนี้มีการ Bully กัน เมื่อไม่ออกกำลังกาย โรคร้ายก็ตามมามากมาย E-Sport คนไทยได้แชมป์โลกโดยไม่ต้องเสียเหงื่อสักหยด เราต้องหานวัตกรรมสุขภาพเพื่อทำให้พวกเรามีสุขภาพที่ดีในการประชุม PMAC ระดับโลก มีการพัฒนาเครื่องมือในการทำงาน ขณะนี้ไม่ต้องนั่งทำงานตลอดเวลา สามารถยืนทำงานโดยมีเครื่องมือพร้อม สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ มาทรงเปิดงาน มีการถวายโต๊ะทรงงานสามารถปั่นจักรยาน ขณะเดียวกันสายตาก็อ่านจากจอคอมพิวเตอร์ได้เป็นที่พอพระทัย รับสั่งว่า “ฉันจะหาทางไปใช้ อยากใช้ตอนมอบปริญญาบัตร” อยากปั่นจักรยานในขณะมอบปริญญาบัตร ดังนั้นนวัตกรรมเป็นเรื่องจำเป็น คนรุ่นใหม่เข้าใจวิถีชีวิตสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ในการตัดสินงานนวัตกรรมครั้งนี้มีผลงานที่น่าพอใจ ภาครัฐ ภาคเอกชนสานต่อ

                ผลงานนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพที่ได้รับ รางวัลชนะเลิศระดับมัธยมศึกษา ได้แก่ ผลงาน D&C Air pollution ทีม Safe Zone ไอเดียของ ศรันย์รักษ์ ฐิติกุลนิธิ, นพกฤษฏิ์ นิธิชัยสถิต และพันธบัตร ใบบุตร จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ธนบุรี กรุงเทพฯ ที่นำเอาปัญหาเรื่องฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM 2.5 มาพัฒนาเป็นเครื่องมือตรวจวัดและแจ้งเตือน โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนบางขุนเทียน โดยติดตั้งอุปกรณ์บนหมวกกันน็อกของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้าง มีการทำแผนที่อากาศผ่านเว็บไซต์ที่แสดงผลแบบเรียลไทม์ตามช่วงเวลา พร้อมกับคำแนะนำเพื่อเตรียมอุปกรณ์ป้องกัน ซึ่งจะทำให้ทุกคนตระหนักถึงปัญหาและช่วยกันลดกิจกรรมที่ก่อให้เกิดฝุ่นละออง

                รางวัลรองชนะเลิศระดับมัธยมศึกษา ลำดับที่ 1 ได้แก่ ผลงาน Easy Elastic Exercise ทีม Companion Tiger จากโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี ที่พัฒนาเครื่องออกกำลังกายอย่างง่าย เพื่อช่วยแก้ปัญหาสำหรับผู้ที่ต้องนั่งทำงานอยู่กับที่เป็นเวลานาน หรือผู้ที่ปวดเมื่อยจากโรคออฟฟิศซินโดรม

                รางวัลรองชนะเลิศระดับมัธยมศึกษาลำดับที่ 2 ผลงาน ฝาครอบถังน้ำหมักชีวภาพจากขยะในครัวเรือนแบบมองไม่เห็นเศษอาหารในถังหมัก ทีมสามสาวสวยจากโรงเรียนปลาปากวิทยาคม ที่นำปัญหาขยะล้นเมืองด้วยการพัฒนาออกแบบฝาของถังหมักเศษอาหารเพื่อทำปุ๋ยอินทรีย์ โดยฝาครอบถังมี 4 ชั้น ช่วยดักกลิ่น มีระบบกวนเศษอาหารใช้งานง่าย

                รางวัลชมเชย ผลงาน Food tech for life ทีม Elderly Health Food จากโรงเรียนธิดาแม่พระ ที่ออกแบบและคิดค้นพัฒนาสูตรอาหารสำหรับผู้สูงอายุที่สามารถรับประทานได้ง่าย มีคุณค่าและสารอาหารที่เพียงพอ โดยประยุกต์จากเมนูอาหารพื้นถิ่นเพื่อให้มีรสชาติถูกปากผู้บริโภค

                “รางวัลชนะเลิศระดับอาชีวศึกษา ได้แก่ เครื่องสลัดน้ำมันจากการทอด ทีม ต้นยางสารภี ซึ่งเป็นผลงานของ จอมขวัญ ลุงต๋า และเทพพิทักษ์ อินคำ จากวิทยาลัยเทคนิคสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ด้วยพฤติกรรมนิยมอาหารทอดของคนไทย จึงออกแบบเครื่องสลัดน้ำมัน โดยใช้หลักการปั่นผ้าแห้งของเครื่องซักผ้า ใช้แรงเหวี่ยงหมุนสะบัดเพื่อให้เหลือน้ำมันตกค้างในอาหารน้อยที่สุด มีขนาดเล็ก ราคาถูก สามารถใช้ได้ในครัวเรือน หรือพัฒนาให้เหมาะสมกับเชิงพาณิชย์ได้ สิ่งที่สำคัญก็คือสามารถกระตุ้นให้ผู้บริโภคตระนักถึงการดูแลรักษาสุขภาพ จากการได้มองเห็นถึงความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากน้ำมันปริมาณจำนวนมากที่ต้องรับประทานเข้าไปในแต่ละเมนู

                รางวัลรองชนะเลิศระดับอาชีวศึกษา ลำดับที่ 1 ผลงาน Care Share Team สุขภาพสู่ชุมชน ทีม CMVC Healthy Plus จากวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ ที่พัฒนากระบวนการทำงานเพื่อบริการสังคม โดยเชื่อมโยงกับภาคีเครือข่ายต่างๆ ในพื้นที่อย่างเป็นระบบ เพื่อร่วมกันดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน

                รางวัลรองชนะเลิศระดับอาชีวศึกษา ลำดับที่ 2 มีจำนวน 2 ผลงานที่ได้รับคะแนนจากคณะกรรมการเท่ากันคือ เครื่องล้างไข่เค็มระบบรีไซเคิลน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ ทีมนักประดิษฐ์ วก.ไชยา จากวิทยาลัยการอาชีพไชยา ที่พัฒนาเครื่องล้างไข่เค็มที่ลดปริมาณการใช้น้ำด้วยการนำกลับมาใช้ซ้ำ ลดปริมาณน้ำเสียลงสู่สิ่งแวดล้อม สามารถล้างไข่เค็มได้เร็วกว่าการใช้คนล้างถึง 7 เท่า และ อุปกรณ์ช่วยผู้สูงอายุฝึกขึ้นบันได ทีม EP SKTC จากวิทยาลัยเทคนิคสระแก้ว ที่ออกแบบและพัฒนาเครื่องมือเพื่อช่วยพยุงตัวสำหรับผู้สูงอายุที่ต้องการเดินขึ้นบัน ได้สามารถเดินขึ้นบันไดได้อย่างสะดวกปลอดภัย และยังสามารถนำมาใช้เป็นไม้เท้าช่วยพยุงเดินได้ในเวลาเดียวกัน

                ดร.ณัฐพันธุ์ ศุภกา ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ และรักษาการ ผอ.สำนักวิชาการและนวัตกรรม สสส. กล่าวว่า สิ่งประดิษฐ์ในปีที่ 2 ขยายผลไปสู่กลุ่มเป้าหมายได้อย่างดี กระบวนการทำงาน 9 เดือน เปลี่ยนมุมมอง workshop พัฒนาผลงานได้อย่างรวดเร็ว นำต้นแบบมาพัฒนางานใช้ได้จริง ปรับบางส่วนเพื่อลดต้นทุนในการผลิต ต่อยอดเพื่อนำมาเป็นผลิตภัณฑ์จำหน่ายได้ อาทิ เครื่องสลัดน้ำมันจากการทอดโดยใช้ร้านอาหาร Street food จะทำให้ผู้บริโภคได้รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น

                ฝาครอบถังหมักชีวภาพจากขยะในครัวเรือนแบบมองไม่เห็นเศษอาหารในถังหมัก ด้วยการออกแบบฝาถังสองชั้น เทเศษอาหารโดยการเลื่อนฝากวาดเศษลงถังน้ำหมัก โดยฝาอีกชั้นจะปิดปากถังทำให้มองไม่เห็นเศษอาหารในถัง การมีฝาสองชั้นช่วยลดกลิ่นฟุ้งกระจาย เปิดฝาด้วยการหมุนใช้หลักสมดุลของมือสองข้าง เปิดได้ง่ายขึ้น มีระบบการกวนเศษอาหารภายในภาชนะทุกครั้งที่หมุนปิดฝาถัง ทั้งสามารถล้างบริเวณที่วางเศษอาหาร ซึ่งเป็นการเติมน้ำในถังหมัก มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจากฝากสองชั้นเป็นสี่ชั้น ช่วยในการกวาดเศษอาหารได้ดีขึ้น และทำให้การฟุ้งกระจายของกลิ่นลดลงมากกว่าเดิม.                                

             

 

รางวัลรองชนะเลิศ Care Share Team สุขภาพสู่ชุมชน ทีม CMVC Healthy Plus วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่

                ปัจจุบันประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่มีปัญหาสุขภาพด้วยโรค NCDs กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ต้องการพัฒนานวัตกรรมการทำงานเป็นทีมจิตอาสา ภายใต้แนวคิด “Care Share Team ดูแลห่วงใย หัวใจแบ่งปัน ทำงานเป็นทีม” นำองค์ความรู้มาจัดทำโครงการนวัตกรรมสุขภาพร่วมกับภูมิปัญญาของผู้สูงอายุในชุมชน ภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ ร่วมคิด ร่วมสร้าง ร่วมใช้นวัตกรรมเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ และลดความเสี่ยงจากการเกิดโรค เพื่อให้ผู้สูงอายุมีศักยภาพในการดูแลตัวเองอย่างยั่งยืน อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ช่วยลดภาระครอบครัว หน่วยงานและสถานพยาบาล              

                ครูนฤมล อัคคพงศ์พันธุ์ อาจารย์วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ พร้อมด้วยลูกศิษย์, พรรณิภา เบเซกู่ชนเผ่าอาข่า, อรณิช ลุงจ๋าม ชาติพันธุ์ไทยใหญ่, อร ลุงหวิ่ง นักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ เล่าว่า เป็นคนโคราช เรียนจบปริญญาตรีด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยราชมงคลคลอง 6 และปริญญาโทด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยรามคำแหง รับราชการเป็นข้าราชการ ก.พ. ต่อมาเป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุข บรรจุเป็นอาจารย์ที่วิทยาลัยอาชีวศึกษาเลย 14 ปี อยู่บุรีรัมย์ 3 ปี ย้ายไปเป็นอาจารย์วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่

                ครูทำหน้าที่เป็นโค้ชให้นักศึกษา เปลี่ยนวิธีการเรียนการสอน จากเดิมที่นักศึกษาจะต้องเขียนโครงการก่อนจบการศึกษาแล้วนำโครงการไปเก็บไว้ในห้องสมุด แต่โครงการนี้ให้นักศึกษาเข้าไปศึกษาถึงความต้องการในชุมชน ร่วมคิด ร่วมสร้างผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นสำหรับชุมชน ให้เป็นนวัตกรรมของชุมชน เมื่อเข้าร่วมอบรมกับ สสส.ให้เกิดเป็น Design Thinking พัฒนาผลงานเป็นกลุ่ม เป็นประโยชน์ต่อชุมชน

                พรรณิภา เบเซกู่ ชนเผ่าอาข่า, อรณิช ลุงจ๋าม ชาติพันธุ์ไทยใหญ่ นักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ กล่าวว่า เราช่วยกันต่อยอดชุมชน ผู้เฒ่าผู้แก่ที่อยู่บนดอยประสบปัญหายุงเยอะในขณะที่ยังต้องมีอาชีพทำไร่ไถนา บางครั้งจำเป็นต้องออกกำลังกาย ยืดแข้งยืดขา หรือบางครั้งก็ต้องนั่งผิงไฟเพื่อจิบชาในหน้าหนาว จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการดูแลตัวเองให้มีสุขภาพที่ดี ลดการใช้ยาจากสถานพยาบาล เป็นการพัฒนาโครงการด้วยตัวเองและมีครูเป็นโค้ชให้คำปรึกษา

                ด้วยงบประมาณ 1 หมื่นบาท นักศึกษา 123 คน สร้างผลงาน 23 ชิ้น ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 เป็นการส่งผลงานครั้งแรกได้รับรางวัล เป็นกำลังใจให้กับทุกคน เป็นจิตอาสาเข้าไปในชุมชน ด้วยการสำรวจผู้สูงอายุที่อยู่ในบ้าน ส่วนลูกๆ ออกไปทำงาน บางครั้งผู้สูงวัยกินอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย พฤติกรรมที่เสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCDs โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มะเร็ง ฯลฯ ด้วยการเรียนรู้วิธีการป้องกันตนเอง พัฒนากิจกรรมสร้างเพจในชุมชน

                ที่ชุมชนวัดล่ามช้างเป็นชุมชนที่มีขนาดเล็กใจกลางเมืองเชียงใหม่ มีวัดล่ามช้าง ประชาชนในชุมชนทำธุรกิจส่วนตัว เปิดร้านนวดเพื่อสุขภาพ ร้านอาหารไทย ร้านพิซซ่า ร้านน้ำผลไม้ บริเวณชุมชนล่ามช้างมีจุดอับของท่อระบายน้ำทิ้งหรือท่ออุดตันเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย เป็นเหตุให้เกิดโรคไข้เลือดออก จึงได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ไล่ยุงจากเปลือกส้ม ด้วยการนำเปลือกส้มมาตากให้แห้ง เตรียมอุปกรณ์ต้มเทียน นำแผ่นขึ้ผึ้งมาต้ม นำเชือกมาชุบขี้ผึ้งแล้วไปผึ่งให้แข็งตัว นำใส้เทียนมาวางตรงกลาง นำขึ้ผึ้งมาเติมให้เต็มตกแต่งให้สวยงาม ผลิตภัณฑ์เทียนหอมไล่ยุงจากเปลือกส้มมาจุดในกิจกรรมสวดมนต์ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็นของชุมชน สร้างบรรยากาศที่ดีในการสวดมนต์ เพราะเทียนมีกลิ่นหอม

                กิจกรรมนี้ทำร่วมกันระหว่างคนต่างวัย สร้างความสัมพันธ์ระหว่างชุมชน บ้าน วัด วิทยาลัยสร้างสำนึกจิตอาสา เป็นทีมจิตอาสาสร้างความต่อเนื่องและยั่งยืน นำนวัตกรรมสุขภาพมาช่วยการผ่อนคลาย ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ และบริหารสบายกาย สบายใจ รวมถึงการดื่มชาเพื่อสุขภาพ กิจกรรมตรวจสุขภาพร่วมกับพยาบาลจิตอาสาประจำชุมชน ลดพฤติกรรมความเสี่ยง

                โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์เจลประคบเย็น : ปวันรัตน์ รมณี, ปวีณ์ธิดา สุวรรณ์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ ปัจจุบันการประคบเย็นเป็นการปฐมพยาบาลเพื่อช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดได้ บรรเทาอาการปวดบวมที่เกิดจากอาการบาดเจ็บแบบเฉียบพลันเพราะความเย็น จะช่วยทำให้เส้นเลือดหดตัวและเลือดออกมีความสำคัญในการบรรเทาความเจ็บปวด เพิ่มความสุขสบายให้ผู้ป่วย ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ประคบเย็นในท้องตลาดมีราคาสูงชิ้นละ 150 บาท ทั้งยังมีขนาดไม่เหมาะกับตำแหน่งที่ประคบ มีขนาดใหญ่และเล็กจนเกินไป ดังนั้นจึงได้พัฒนาเจลประคบเย็นตามตำแหน่งที่ต้องการประคบ ซึ่งมีสนนราคาถูกกว่าท้องตลาด

                โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์เทียนนวดจากดอกกาสะลอง จัดทำโดย เจนจิรา ชูจันทร์, กัญญาณัฐ สุยะโมงค์ ผู้สูงอายุประสบปัญหาปวดเมื่อยร่างกายเมื่อมีการนั่งหรือทำอะไรนานๆ เมื่อปวดนวดเบาๆ ตรงบริเวณที่ปวด ด้วยการทำเทียนนวดจากกดอกกาสะลอง หรือSoy Wax แล้วนำมาผสมกับน้ำมันหอมระเหยจากดอกกาสะลอง ซึ่งมีกลิ่นหอมอ่อนๆ การพัฒนาเทียนนวดจากดอกกาสะลองนำไปใช้ได้จริง ช่วยผ่อนคลายในการนวด มีกลิ่นหอมอ่อนๆ จากดอกกาสะลอง ใช้งานได้นาน จุดได้ 3-4 ชั่วโมง นำไปจำหน่ายให้แก่นักท่องเที่ยวที่สนใจ เกิดเป็นรายได้.

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"