พาณิชย์แจงผลศึกษาเข้าร่วม CPTPP มาแล้ว มีทั้งดี ทั้งเสีย ส่วนประเด็น สิทธิบัตรยา ถูกถอนออกไปแล้ว


เพิ่มเพื่อน    

 

14 ก.พ. 2563 นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) ที่มีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้รับทราบผลการศึกษาการเข้าร่วมความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) ผลการลงพื้นที่ และรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน ผลดี ข้อเสีย ผลประโยชน์ รวมถึงข้อกังวล และมีมติให้กระทรวงพาณิชย์สรุปผลทั้งหมดเพื่อนำเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาตัดสินใจภายในเดือนเม.ย.2563 นี้

ทั้งนี้ กรมฯ ได้นำเสนอผลการศึกษาการเข้าร่วม CPTPP จะทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ของไทยเพิ่มขึ้น 0.12% คิดเป็นมูลค่า 13,323 ล้านบาท การลงทุนเพิ่ม 5.14% มูลค่า 148,240 ล้านบาท การส่งออก เพิ่ม 3.47% มูลค่า 271,340 ล้านบาท และเกิดการจ้างงาน 73,370 ล้านบาท แต่ถ้าไม่เข้าร่วม จะทำให้จีดีพีลดลง 0.25% มูลค่า 26,629 ล้านบาท และยังจะช่วยในเรื่องการเปิดตลาด เพราะสมาชิกมีการลดภาษีเป็น 0% ตั้งแต่ 95-99% และยังจะมีโอกาสในการเข้าสู่ตลาดแคนาดา และเม็กซิโก ที่ไทยไม่มีความตกลงการค้าเสรี (FTA) ด้วย

ส่วนข้อกังวลเรื่องสิทธิบัตร จะไม่สามารถบังคับใช้สิทธิในสิทธิบัตรยา (CL) ได้นั้น ในความตกลง CPTPP ไม่ได้มีเรื่องนี้แล้ว ถูกถอนออกไปตั้งแต่สหรัฐฯ ออกจากการเจรจา , เรื่องการคุ้มครองพันธุ์พืช ก็มีเงื่อนไขผ่อนปรนให้และมีข้อยกเว้นไม่ต้องทำตามข้อตกลง , การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ มีการกำหนดมูลค่าขั้นต่ำ ถ้าต่ำกว่าไม่ต้องเปิดให้เข้ามาแข่งขัน และมีระยะเวลาปรับตัว และเรื่องการปรับตัว จะมีการตั้งกองทุน เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งขณะนี้ กำลังอยู่ระหว่างการหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

“ตามเป้าหมาย จะเสนอให้ ครม. พิจารณาภายในเดือนเม.ย.2563 หากเห็นชอบให้ไทยเข้าร่วม ก็จะได้มีเวลาเตรียมตัว เพราะสมาชิก CPTPP ที่ได้ให้สัตยาบันความตกลงแล้ว 7 ประเทศ ได้แก่ เม็กซิโก ญี่ปุ่น สิงคโปร์ นิวซีแลนด์ แคนาดา ออสเตรเลียและเวียดนาม จะนัดประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งแรกเดือนส.ค.2563 ซึ่งหนึ่งในเรื่องที่จะคุยกัน ก็เป็นเรื่องของการรับสมาชิกใหม่ ไทยก็จะยื่นสมัครได้ทัน และถ้ารับไทยเป็นสมาชิก ก็จะเป็นเรื่องของการเจรจา โดยมีหลัก คือ ยึดผลประโยชน์ของประเทศเป็นที่ตั้ง ยิ่งถ้าเข้าเร็ว ก็จะจ่ายค่าผ่านประตูน้อย ถ้ารอให้มีสมาชิกให้สัตยาบันเพิ่มขึ้น หรือมีสมาชิกรายใหม่ๆ เพิ่ม ตอนนั้น อาจต้องเสียค่าผ่านประตูมากกว่า”นางอรมนกล่าว

นางอรมนกล่าวว่า สำหรับการเตรียมการเรื่องการทำ FTA ไทย-สหภาพยุโรป (อียู) ขณะนี้อยู่ระหว่างการรอผลการศึกษาขั้นสุดท้าย คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในสิ้นเดือนก.พ. หรือต้นมี.ค.2563 จากนั้นจะนำเสนอผลการศึกษา ผลดี ผลเสีย ข้อกังวล ข้อเสนอแนะ ให้ กนศ. พิจารณา ถ้าเห็นควรทำ FTA ก็จะเสนอ ครม. เพื่อขออนุมัติทำ FTA กับอียูต่อไป คาดว่าน่าจะได้ข้อสรุปประมาณช่วงกลางปีนี้


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"