นายวรวิทย์ กังศศิเทียม , นายทวีเกียรติ มีนะกษิษฐ์ , นายอุดม สิทธิวิรัชธรรม ,นายจิรนิตติ หะวานนท์
12 ก.พ.63 - ความคืบหน้าหลังวุฒิสภามีการลงมติโหวตลับ เห็นชอบรายชื่อว่าที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 4 รายชื่อ ประกอบด้วยนายอุดม สิทธิวิรัชธรรม ประธานแผนกคดีคำสั่งและอนุญาตในศาลฎีกา นายวิรุฬ แสงเทียน อดีตรองประธานศาลฎีกา และผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา นายจิรนิตติ หะวานนท์ ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา และนายนภพล เทพพิทักษ์ อดีตเอกอัคราชทูตฯ
ขั้นตอนต่อจากนี้ ว่าที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 4 คน ต้องดำเนินการเรื่องต่างๆเพื่อเตรียมตัวเข้าปฏิบัติหน้าที่ เพื่อไม่ให้ขาดคุณสมบัติการเป็นตุลาการศาลรัฐมธรรมนูญ เช่นการลาออกจากราชการภายในกำหนดเวลาคือไม่เกินสิบห้าวัน
จากนั้น สำนักงานเลขาธิการศาลรัฐธรรมนูญ จะได้ประสานเป็นการภายในกับ 4 ว่าที่ตุลาการศาลรับธรรมนูญ เพื่อให้มาร่วมประชุมกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดปัจจุบันจำนวนสี่คน ที่ยังไม่พ้นวาระให้มาประชุมร่วมกันเพื่อเลือกประธานศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่แทนนายนุรักษ์ มาประณีต ประธานศาลรัฐธรรมนูญ.คนปัจจุบัน ที่กำลังจะพ้นจากตำแหน่ง โดยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้งหมด 8 คน จะต้องลงมติเลือกบุคคลที่เห็นว่าเหมาะสมมาเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญคนต่อไป จนเมื่อได้ชื่อประธานศาลรัฐธรรมนูญแล้ว จะมีการส่งชื่อประธานศาลรธน.และว่าที่ตุลาการศาลรธน.ทั้งหมด ให้นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา เพื่อนำรายชื่อทั้งหมดขึ้นทูลเกล้าฯต่อไป
ทั้งนี้มีการคาดหมายกันว่าขั้นตอนดังกล่าวน่าจะแล็วเสร็จภายในต้นเดือนมีนาคมนี้ จนเมื่อมีการโปรดเกล้าฯ แล้ว จากนั้นทั้งหมดจะเข้าปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นทางการในการวินิจฉัยเรื่องต่างๆ ที่ยื่นคำร้องมายังศาลรับธรรมนูญต่อไป
มีการจับตามองกันว่า ว่าที่ประธานศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่ ก่อนหน้านี้ มีการเก็งกันว่า อาจจะมีแคนดิเดทมาจาก 2 ทาง คือมาจาก 4 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดปัจจุบันที่จะลงชิงเป็นแคนดิเดท ที่อาจจะมีชื่อของ นายวรวิทย์ กังศศิเทียม ที่เป็นอดีตตุลาการศาลปกครองสูงสุด และ นายทวีเกียรติ มีนะกษิษฐ์ อดีตอาจารย์นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ และอีกปีกอาจมาจากสายว่าที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญใหม่ 4 คน ที่แวดวงตุลาการศาลฎีกา มีการเก็งกันว่านายอุดม และนายจิรนิติ อาจจะสนใจลงชิงแคนดิเดท เป็นประธานคนใหม่ ส่วนนายวิรุฬ แม้จะมีดีกรีเป็นอดีตรองประธานศาลฎีกา แต่แวดวงตุลาการประเมินกันว่าน่าจะไม่สนใจลงชิงเป็นแคนดิเดทด้วย
อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดยังเป็นแค่กระแสข่าวและการคาดการณ์จากบางฝ่ายเช่นวงการผู้พิพากษาศาลฎีกาเท่านั้น เพราะสุดท้าย เมื่อถึงช่วงเวลาที่จะต้องมีการประชุมเพื่อเลือกประธานศาลรธน.คนใหม่ อาจจะมีความเคลื่อนไหวใหม่เกิดขึ้นก็ได้ เช่นอาจจะมีชื่อคนอื่นสนใจเสนอตัวเป็นแคนดิเดทประธานศาลรธน.คนใหม่ นอกเหนือจากสี่ชื่อดังกล่าว
ขณะเดียวกันก็มีการวิเคราะห์กันว่า ว่าที่ตุลาการศาลรธน.ทั้งสี่คน ที่กำลังจะเข้าทำหน้าที่ สุดท้าย อาจจะไม่สนใจลงสมัครก็ได้ เพราะอาจถือว่าเพิ่งจะเข้าไปทำหน้าที่ จึงไม่ควรไปลงสมัครเป็นแคนดิเดท เพราะควรให้ตุลาการศาลรธน. ที่อยู่ในปัจจุบัน ขึ้นมาจะดีกว่า เพราะเป็นที่รู้กันว่าวงการตุลาการจะให้ความสำคัญกับเรื่องความอาวุโสค่อนข้างมาก จึงทำให้สุดท้ายการชิงประธานศาลรธน.คนใหม่ อาจจะมาจากสาย 4 ตุลาการศาลรธน.ชุดปัจจุบันที่ยังไม่หมดวาระ
ทั้งนี้ ตามพรบ.วิธีพิจารณาคดีของศาลรธน.พ.ศ. 2561 บัญญัติให้ การทำหน้าที่ของตุลาการศาลรธน.หากมีตุลาการแค่ 7 คน ก็สามารถทำหน้าที่วินิจฉัยคดีต่างๆ ได้แล้ว ไม่จำเป็นต้องครบ 9 คนแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม การที่ตุลาการศาลรธน.หลังจากนี้จะมีแค่ 8 เสียง ทำให้การลงมติต่างๆ ที่อาจต้องใช้เสียงข้างมากหากตุลาการมีความเห็นที่ต่างกันในการลงมติแล้วเสียงเสมอกันคือ 4 ต่อ 4 ก็อาจทำให้เกิดข้อถกเถียงกันหนักพอสมควรในการลงมติ เพื่อทำให้เสียงออกมาเป็นเลขคี่จนเป็นมติเสียงข้างมากต่อไป.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |