กรมสุขภาพจิตเผย มี108 คนที่ได้รับผลกระทบ จากเหตุกราดยิงที่โคราช มีอาการเครียดสุด คาดจะส่งผลจิตใจในระยะยาว 


เพิ่มเพื่อน    


12 ก.พ.63-จากเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นที่นครราชสีมา  กรมสุขภาพจิตโดยทีมเอ็มแคท (Mental Health Crisis Assessment and Treatment Team : MCATT) ยังให้การดูแลผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ได้แบ่งกลุ่มเป้าหมาย ที่อาจเกิดผลกระทบทางจิตใจตามระดับความเสี่ยงในการประสบเหตุการณ์วิกฤต (Proximity) ดังนี้ กลุ่ม A ญาติผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บ ญาติผู้บาดเจ็บ ตัวประกัน กลุ่ม B ผู้อยู่ในเหตุการณ์  ผู้เห็นเหตุการณ์  เช่น   ผู้ค้าขาย / ผู้ประกอบการ ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ ผู้ที่ติดค้างอยู่ในสถานที่เกิดเหตุ   เจ้าหน้าที่ที่ลงปฏิบัติงานในหน้างานทุกหน่วยงาน และกลุ่ม C ประชาชนทั่วไปผู้ได้รับข้อมูลข่าวสารความรุนแรงฯตามช่องทางต่าง ๆ ผู้ที่อาจมีผลกระทบทางจิตใจจากการได้รับข้อมูลข่าวสาร  สื่อโซเชียล
การรายงานความก้าวหน้าในการปฏิบัติการจากทีมวิกฤตสุขภาพจิต ในระหว่างวันที่ 8 - 11 กุมภาพันธ์ 2563  พบว่า ผู้ได้รับผลกระทบ กลุ่ม A มีผู้เข้ารับการประเมิน 280 คน จากจำนวนผู้ประสบเหตุทั้งหมด 310 คน คิดเป็นร้อยละ 90.32  พบว่า เป็นผู้มีภาวะเครียดจากเหตุการณ์ในระดับมากถึงมากที่สุดจำนวน 108 คน  คิดเป็นร้อยละ  38.6 ซึ่งกลุ่มนี้ถือว่าเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดปฏิกิริยาทางจิตใจที่มีความรุนแรงได้ในระยะยาว และผู้เข้ารับการประเมินกลุ่ม B จำนวน 269 คน  พบว่า เป็นผู้มีภาวะเครียดจากเหตุการณ์ในระดับที่ต้องติดตามต่อเนื่อง จำนวน 38 คน คิดเป็นร้อยละ 14.1 ในขณะนี้ยังวางแผนในการดูแลกลุ่ม C ในระยะถัดไป


หากพบเห็นคนในครอบครัว ญาติ และคนใกล้ชิด ที่ประสบเหตุการณ์รุนแรงหรือเสพข่าวสื่อต่าง ๆ และมีอาการกลัว เครียด วิตกกังวล นอนไม่หลับ หวาดผวา กรีดร้อง พูดถึงเหตุการณ์ซ้ำ ๆ สามารถเข้ารับบริการได้ที่ รพ.จิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ โทร 044-233-999 หรือปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิต 1323 รับคำปรึกษาได้ฟรี ตลอด 24 ชั่วโม


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"