เครื่องฟอกอากาศเคลื่อนที่


เพิ่มเพื่อน    

    
    จะเห็นได้ว่าปัจจุบันปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ยังไม่บรรเทาเบาบางลง ซึ่งสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดฝุ่นคือเกิดจากรถยนต์ถึง 70% ด้วยเหตุนี้จึงทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องลุกขึ้นมาหาแนวทางป้องกันตัดตอนต้นเหตุของฝุ่น จึงได้มีแนวคิดการทำเครื่องฟอกอากาศเคลื่อนที่ 
    “ศักดิ์สยาม ชิดชอบ” รมว.คมนาคม กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมมุ่งแก้ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ซึ่งขณะนี้ อยู่ระหว่างการศึกษาและทดลองในการทำระบบฟอกอากาศเคลื่อนที่ ซึ่งกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ได้ประสานกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยมีคณะนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เข้ามาช่วยออกแบบการทำเครื่องฟอกอากาศเคลื่อนที่ เป็นโมบาย ที่สามารถติดตั้งบนหลังคารถ โดยจะเริ่มจากรถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เส้นทางละ 3 คัน 
    คาดว่าในเร็วๆ นี้จะมีการสรุปต้นแบบของตัวอุปกรณ์ที่จะติดตั้งบนหลังคารถ และทดลองวิ่งเพื่อจับค่าของอากาศ ก่อนเข้าเครื่องกรองอากาศ และหลังออกจากเครื่องฟอกอากาศ รวมถึงความเร็วของรถ กับปริมาณลมที่เข้าเครื่อง โดยเครื่องจะรับปริมาณอากาศได้ประมาณ 1 คิว ซึ่งจะมีท่อ PVC ดูดอากาศเพื่อรวมไปยังระบบกรองอากาศ ซึ่งจากการทดลอง พบว่าขนาดประมาณ 1 คิวกับความเร็วรถที่ 20 กม./ชม. พบว่า 1 ชม.จะสามารถฟอกอากาศได้ 20,000 คิว/คัน/ชม. และให้ทดลองเพิ่มเติมว่า หากรถมีความเร็วที่มากกว่า 20 กม./ชม.  จะมีผลเป็นอย่างไร เครื่องกรองอากาศรับไหวหรือไม่
    หากวัดอัตราการหายใจของคน 1 คน ใช้อากาศบริสุทธิ์หายใจ 0.5 คิว/ชม. คาดว่ารถ 1 คัน ที่วิ่ง 1 ชม. กรองอากาศช่วยคนได้ 40,00 คน ซึ่งหากทดลองและพิสูจน์สมมุติฐานออกมาแล้วได้ผล จะขยายผลจากรถ ขสมก.ไปยังรถบรรทุก และหากหลังคารถ ขสมก.มีพื้นที่พอ ให้ติดตั้งเครื่อง 2 ชุด/1 คัน เพื่อให้มีปริมาณอากาศวิ่งเข้ามากขึ้น 
    เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นการประยุกต์ใช้ ซึ่งทางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้เสนอไอเดียเข้ามา และได้รายงานต่อนายกรัฐมนตรีแล้ว ซึ่งต้นเหตุของการเกิด PM 2.5 คือรถยนต์ ซึ่งวิ่งอยู่บนถนน หลักการคือเมื่อคันหน้าวิ่งและปล่อยอากาศไม่ดี คันหลังที่มีเครื่องฟอกอากาศ ก็ฟอกอากาศที่ปล่อยมากรองและสกัด PM 2.5 ซึ่งเชื่อว่าจะใช้เงินไม่มาก  เพราะเป็นการประยุกต์จากสิ่งที่หาได้ และไส้กรอง ขายในลาซาด้า ประมาณ 500 กว่าบาท และกรอง 1 ตัว ใช้ได้ถึง 400 ชม. เท่ากับ 2-3 สัปดาห์ จึงจะเปลี่ยน ผมให้นโยบายไป หากได้ผลดี หากประชาชนสนใจ สามารถนำแบบไปใช้งานได้ เพื่อช่วยกันฟอกอากาศ เนื่องจากต้นทุนไม่แพงมาก
    ขณะที่กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ได้รับนโยบายเรื่องนี้ว่าในการนำเครื่องฟอกอากาศเคลื่อนที่ ซึ่งจะติดบนหลังคารถ โดยนโยบายกระทรวงคมนาคมจะให้เริ่มติดตั้งกับรถโดยสารประจำทางของ ขสมก.ก่อนว่า ในเรื่องนี้ทาง ขบ.ได้มีการประสานงานร่วมกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) ในการจัดทำเครื่องฟอกอากาศเคลื่อนที่ 
    โดยเบื้องต้นจะเป็นการนำร่องติดตั้งกับรถเมล์ต้นแบบ ขสมก. ก่อน 3 คันต่อเส้นทาง ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 129 เส้นทางทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมแล้วประมาณ 387 คันก่อน ซึ่งรถที่จะนำมาติดตั้งทาง ขสมก.จะเป็นคนคัดเลือกมา ส่วน ขบ.จะมีหน้าที่ในการตรวจมาตรฐานการติดตั้ง เนื่องจากเป็นการติดตั้งจากภายนอกรถ ซึ่งการติดตั้งจะเริ่มติดตั้งเครื่องฟอกอากาศบนหลังคารถเมล์ภายในสัปดาห์นี้
    ทั้งนี้ ในการติดตั้งเครื่องฟอกอากาศเคลื่อนที่บนหลังคารถเมล์ ขสมก.นั้น ทางฝ่ายสำนักวิศวกรรมยานยนต์ ขนส่งทางบก จะเป็นผู้ควบคุมและทดลอง รวมถึงการประเมินผลที่จะได้รับ ซึ่งมั่นใจว่าประชาชนที่ใช้บริการรถเมล์ ขสมก.จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ ส่วนค่าใช้จ่ายในการติดตั้งนั้น ในส่วนนี้ทาง ขสมก.จะต้องเป็นผู้ดำเนินการ เพราะ ขบ.มีหน้าที่ในการช่วยดูคุณภาพมาตรฐานและการติดตั้ง
    ถือเป็นเรื่องราวดีๆ ที่แม้แต่เป็นแนวคิด ขณะเดียวกันจะมีการทดสอบใช้เครื่องฟอกอากาศเคลื่อนที่ในเร็วๆ นี้ จะเห็นได้ว่าเป็นการช่วยสังคมได้มากเลยทีเดียว  หากฝุ่นควันที่ปล่อยออกมาจากรถสาธารณะให้เป็นอากาศบริสุทธิ์ แน่นอนว่าจะช่วยให้ฝุ่น PM 2.5 ลดลงอย่างแน่นอน.

กัลยา ยืนยง


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"