อย่าปล่อยลอยนวล!เลขาฯครป.จี้ส.ส.เสียบบัตรแทนกันรับผิดชอบต่อสังคม


เพิ่มเพื่อน    

8 ก.พ.63 - นายเมธา มาสขาว เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) กล่าวว่า กรณีศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมากวินิจฉัยร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ พ.ศ.2563 ว่า "การเสียบบัตรแทน" หรือการกระทำโดยไม่สุจริตโดยใช้สิทธิออกเสียงลงมติแทนผู้ที่ไม่ได้อยู่ร่วมประชุมด้วยนั้น เป็นการละเมิดหลักการพื้นฐานของการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่ต้องปฏิบัติหน้าที่โดยไม่อยู่ในอาณัติมอบหมายของผู้ใด และต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความชื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและความผาสุกของประชาชนโดยรวม จึงทำให้ขาดความชอบธรรมในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี  ในวาระที่ 2 และวาระที่ 3 ที่มีการเสียบบัตรแทนกัน ทำให้การพิจารณากฎหมายในขั้นตอนดังกล่าวเป็นโมฆียะ ต้องให้สภาผู้แทนฯ เริ่มพิจารณาลงมติใหม่นั้น

นายเมธา กล่าวว่า ในเมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชัดเจนแล้ว ว่าการเสียบบัตรแทนกันเป็นการกระทำไม่สุจริต การออกเสียงลงคะแนนแทนกันทำไม่ได้ และละเมิดหน้าที่การเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จนต้องให้มีการประชุมสภาใหม่เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวนั้น เรื่องนี้จะต้องมีการรับผิดชอบทางการเมือง และต้องมีบทลงโทษ ส.ส.ที่ตั้งใจกระทำความผิด โดยไม่ปล่่อยเหตุการณ์ผ่านไปเหมือนไม่เกิดอะไรขึ้น จนกลายเป็นจุดด่างดำของรัฐสภาไทย

เลขาฯครป. กล่าวว่า ส.ส.ทุกคนมีหนึ่งเสียงเท่ากันในการลงคะแนนตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 120 และการออกเสียงลงคะแนนจะกระทำแทนกันมิได้ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2562 ข้อ 80 อีกด้วย ดังนั้น ส.ส.ที่ลงคะแนนแทนกันจึงทำผิดทั้งกฎหมายรัฐธรรมนูญและข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรด้วย แต่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยพฤติการณ์แห่งคดีเฉพาะกระบวนการตราร่างกฎหมายเท่านั้น ไม่ได้วินิจฉัยลงโทษบุคคลที่กระทำผิด จึงเป็นอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาต่อไป

"ผมจึงขอเรียกร้องไปยังประธานสภาผู้แทนราษฎร ขอให้กำหนดบทลงโทษที่ชัดเจนแก่สมาชิกผู้กระทำผิดร้ายแรง แม้รู้ว่าผิดหลักการมีตัวอย่างในอดีตแต่ก็ยังช่วยเหลือกันลงคะแนนโดยมิชอบ ไม่เฉพาะกรณีของนายฉลอง เทอดวีระพงศ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคภูมิใจไทยเท่านั้น ที่ทำให้ประเทศเสียหาย กรณีการเสียบบัตรแทนกันตามที่เป็นข่าวถึง 8 คน จากพรรคภูมิใจไทย พรรคพลังประชารัฐ พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคพลังท้องถิ่นไทย จะต้องมีการสอบสวนโดยสภาและพิจารณาบทลงโทษความผิดเพื่อสร้างบรรทัดฐานต่อไป ไม่ใช่โยนความบกพร่องเหล่านี้้ให้ประชาชนรับกรรมโดยไม่มีอะไรเกิดขึ้น"

เรามีพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ.2562 ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 76 ที่รัฐบาล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และเจ้าหน้าที่รัฐทุกคนจะต้องตระหนักและสร้างมาตรฐานทางคุณธรรม จริยธรรมให้เกิดขึ้น มีธรรมาภิบาล และบริหารราชการแผ่นดินด้วยความโปร่งใส ซื่อสัตย์สุจริต แต่สมาชิกสภากลับเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีเสียเอง ดังนั้นผมเห็นว่าทางที่ดีที่สุด ส.ส.ทั้ง 8 คน ควรแสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออก เป็นการขอโทษประชาชนที่เหมาะสมที่สุด

นอกจากนี้รัฐธรรมนูญมาตรา 258 ยังกำหนดให้มีการดำเนินการปฏิรูปประเทศ โดยให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและรับผิดชอบต่อประชาชนในการปฏิบัติหน้าที่ของตน และกำหนดให้พรรคการเมืองมีกลไกความรับผิดชอบภายในของพรรคการเมืองด้วยเช่นกัน ดังนั้น พรรคการเมืองที่มีสมาชิกเสียบบัตรแทนกันทั้ง 4 พรรค ต้องแสดงความรับผิดชอบในเรื่องนี้ ต่อสาธารณะ ไม่ใช่ทำเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นคิดว่าเป็นเด็กประถม หรือคิดว่าประชาชนเป็นเด็กอมมืออยู่ในอำนาจไม่มีปากเสียง.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"