สำรวจผืนป่าห้วยขาแข้งที่งานออกแบบกรุงเทพฯ 


เพิ่มเพื่อน    

ชวนชมสำรวจนิทรรศการ“Tiger City”

     ใน“เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ2563 (Bangkok Design Week 2020)” จัดขึ้นโดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์(องค์การมหาชน) หรือ(CEA) ที่ยกทัพดีไซน์เนอร์กว่า 1,000 รายมาเนรมิตกรุงเทพฯให้กลายเป็นเมืองสร้างสรรค์และนำแนวทางการออกแบบมาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาจากเมืองไปถึงผืนป่า

     อย่างนิทรรศการ” Tiger City: A Story from Huai Kha Khaeng “ โดยการสนับสนุนจากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย(UNDP Thailand) นำเสนอเรื่องราวของการรักษาความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าและการอาศัยอยู่ร่วมกันของคนและสัตว์ป่าในบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งผ่านการออกแบบข้อมูล(Information Design) และวิธีการเชิงVisualisation รวมถึงสารคดีสั้น“Tiger Eyes” จากมุมมองและประสบการณ์ของสตูดิโอออกแบบกราฟิกStudio 150 และcollaborators ที่ได้สัมผัสกับแนวคิดวิถีชีวิตและกระบวนการทำงานของผู้คนในบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง โดยเฉพาะผลงานบุกเบิกของสืบ นาคะเสถียร อดีตหัวหน้าเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง นิทรรศการเปิดให้ชมตั้งแต่วันนี้ถึง9 ก.พ. เวลา11.00 - 19.00 น. ณ O.P. Place ห้อง2ND-33 ซอยเจริญกรุง36 

    นอกจากโชว์ข้อมูลป่ามรดกโลกด้วยงานดีไซน์ ยังมีกิจกรรมเสวนาบอกเล่าเรื่องราวของผืนป่ามรดกโลก“ห้วยขาแข้ง” ถกประเด็น“เสือโคร่งสายพันธุ์อินโดจีน” ดัชนีชี้วัดสำคัญที่สะท้อนให้เห็นความอุดมสมบูรณ์ของป่าและแรงบันดาลใจในการนำผืนป่าห้วยขาแข้งเข้ามาสู่เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ2563

ยกผืนป่าห้วยขาแข้งเข้ามาสู่เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ2563

    ดร. ศักดิ์สิทธิ์ ซิ้มเจริญ ผู้เปิดโลกงานวิจัยเสือโคร่งที่ได้รับการยอมรับระดับสากลมากว่า 25 ปี ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นเสือๆรอบด้าน กล่าวว่า ผืนป่าห้วยขาแข้งมีพื้นที่ 2,700 กว่าตารางกิโลเมตร ป่าแห่งนี้มีระบบนิเวศที่หลากหลาย เสือโคร่งเป็นสมาชิกป่าห้วยขาแข้ง  เป็นสัตว์ผู้ล่าที่อยู่บนห่วงโซ่อาหาร การศึกษาวิจัยจะศึกษานิเวศเชิงลึก เรื่องความสัมพันธ์กับครอบครัว การกินอาหาร เราทำความเข้าใจเสือโคร่งเพื่อวางแผนดูแลคุ้มครอง อีกงานวิจัยเป็นการติดตามประชากร เสือโคร่งเป็นสัตว์อ่อนไหวง่าย การเพิ่มประชากรไม่ง่าย เสือที่เกิดและเติบโตระดับ 1-2 ปี ต้องออกจากบ้านแม่ เพื่อหาบ้านของตัวเอง เป็นช่วงวิกฤตสุด ต้องเป็นพื้นที่ว่าง มีเหยื่อ จากการวิจัย มีข้อมูลเสือห้วยขาแข้งเดินทางไปถึงรัฐฉาน พม่า หรือลำปาง บางตัวไปอยู่ป่าแม่วงก์ จ.นครสวรรค์ บางตัวไปอยู่อุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี หากมีพื้นที่ป่ารองรับก็สามารถสืบพันธ์ุ เพิ่มประชากรได้

ดร. ศักดิ์สิทธิ์ ซิ้มเจริญ ผู้เปิดโลกงานวิจัยเสือโคร่ง

     “ อดีตไทยไม่มีองค์ความรู้และเทคโนโลยี  เราเริ่มจากรอยตีน แต่ยังไม่สามารถแยกเสือโคร่งกับเสือดาวได้ เพราะรอยตีนเหมือนกัน นำมาสู่การตั้งกล้องดักถ่ายภาพ ทำให้ทั้งจำนวนประชากรและรู้ว่าลวดลายบนตัวเสือแต่ละตัว ไม่ซ้ำกัน รวมถึงเสือโคร่งจะมีรอยตีนใหญ่กว่า แล้วไปเชื่อมโยงกับอาหารจาก กองมูลเสือจะล้างให้เหลือเฉพาะขนนำมาจำแนกเหยื่อ ที่กิน พบว่า เสือโคร่งกินสัตว์ใหญ่ วัวแดง เก้ง กวาง พื้นที่อนุรักษ์ไทยมีสัตว์ใหญ่น้อยมาก เหลือพื้นที่ป่าใหญ่ที่สุดเป็นผืนป่าตะวันตก ทุ่งใหญ่ห้วยขาแข้ง ส่วนภาคใต้ ป่าฮาราบาลาไม่มีเลย โอกาสที่เราจะรักษาเสือโคร่งไม่ง่าย ตน รวมถึงเจ้าหน้าที่และทีมงานต้องทำงานเพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาติ   เพราะแหล่งที่อยู่อาศัยถูกคุกคามตลอดเวลา ต้องสร้างความรู้ความเข้าใจให้คนไทยอนุรักษ์เสือ “ ดร.ศักดิ์สิทธิ์ กล่าว

     ดร.ศักดิ์สิทธิ์ กล่าวด้วยว่า การอยู่รอดของเสือโคร่งเป็นความท้าทาย การรักษาเสือ คือ การรักษาทรัพยากรผืนป่าขนาดใหญ่ ถือเป็นธนาคารพันธุกรรมขนาดใหญ่ที่สามารถนำมาใช้ได้ในอนาคต หากทำลายไปแล้วไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้ อยากพูดถึงผูกพันกับเสือโคร่งชื่อ”บุปผา” เสือตัวแรกที่รู้จักมีลูกชื่อ”เอื้อง”เป็นรุ่นที่4 อีกตัวเสือโคร่งชื่อ“พิไล” ตั้งชื่อเป็นเกียรติประวัติให้ดร.พิไล พูลสวัสดิ์ ซึ่งมาตั้งแคมป์ศึกษาวิจัยนกเงือกที่ห้วยขาแข้ง อีกตัว”รตยา”มาจากรตยา จันทรเทียร มูลนิธิสืบนาคะเสถียร  เป็นบุคคลที่เรารักเคารพ

 

    สนใจมาสำรวจโมเดลการอนุรักษ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งแวะมาชมนิทรรศการ“Tiger City” ได้งานนี้ชวนร่วมแสดงการสนับสนุนและให้กำลังใจเจ้าหน้าที่และทีมงานที่มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ห้วยขาแข้งโดยเขียนข้อความในไปรษณียบัตรของทางการนิทรรศการเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาจัดแสดงจะรวบรวมไปรษณียบัตรทั้งหมดจากคนเมืองส่งไปยังห้วยขาแข้งต่อไป

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"