ผ้าปักควิลท์ 54 ผืน สะท้อนสิทธิ เสรีภาพ สตรีนักปกป้องสิทธิ


เพิ่มเพื่อน    

ปักผ้าควิลท์ บอกเรื่องราวมี่อยู่ในใจ

 

    ผ้าควิลท์ หรือการนำเศษผ้ามาเย็บต่อกันทำให้เกิดเป็นสีสันต่างๆ ลวดลาย และ"เรื่องราว"  อย่างในสมัยสงครามโลกครั้งที่1และ2 ผู้หญิงจะปักผ้าควิลท์ ให้ชายคนรักใส่สวมทับกับเกาะกันความหนาว  หรือการปักที่มีนัยยะทางการต่อสู้เรื่องสิทธิสำหรับผู้หญิงเป็นอย่างมาก อย่างในประเทศชิลี ในช่วงเผด็จการ  ผู้หญิงได้ปักผ้าควิลท์เพื่อบอกเล่าเรื่องราวการต่อสู้ กับรัฐบาลเผด็จการหรืออำนาจนิยม หรือในอเมริกา ยุคที่มีการใช้แรงงานทาส ทาสผู้หญิงได้ปักผ้าควิลท์เพื่อแสดงให้เห็นถึงการกดขี่ข่มเหง ผ่านสัญลักษณ์กระท่อมหลังเล็กๆ เป็นเหตุให้ทางองค์กร Protection International โดยการสนับสนุนจากสถานฑูตแคนนาดา ทำโครงการ ปักผ้าควิลท์ จากการได้เดินทางไปพูดคุยและแชร์ประสบการณ์กว่า 20 คนทั่วประเทศ เพื่อให้กลุ่มผู้หญิงนักสู้ได้ออกมาบอกเล่าเรื่องราวผ่านผืนผ้า 

ผลงานร้านหนังสือ


    สำหรับผ้าควิลท์ที่ได้รับการปักจากผู้หญิงนักปกป้องสิทธิ ได้ถูกนำมาจัดนิทรรศการ “ผ้าปักควิลท์ จากเส้นด้ายและปลายเข็ม สู่ศิลปะแห่งการต่อสู้ของผู้หญิงนักปกป้องสิทธิ  #ArtForResistance” จำนวน 54 ผืน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการบอกเล่าเรื่องราวชีวิตอุปสรรคและผลกระทบของผู้หญิงนักปกป้องสิทธิ ที่เมื่อลุกขึ้นมาสู้เมื่อไหร่ก็โดนคุกคาม ฟ้องร้องทางคดี ทำร้าย ให้ร้าย ตีตรา ข่มขู่ และโจมตีต่างๆนานา จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากแต่การรับรู้ของสังคมให้ความตระหนักถึงความสำคัญในการปกป้องสิทธิมนุษยชนของกลุ่มผู้หญิงเหล่านี้   และแสดงถึงจุดยืนในข้อเรียกร้องในการแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกับข้อเสนอของคณะกรรมการว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีทุกรูปแบบของสหประชาติ ( คณะกรรมการซีดอ CEDAW) โดยนิทรรศกาลจัดแสดงตั้งแต่วันนี้ -7 กุมภาพันธ์ 2563 ที่โถงหน้าห้องสมุด ชั้น L หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพฯ 


               Dr.Sarah Taylor เอกอัครทูตแคนาดาประจำประเทศไทย กล่าวว่า การปกป้องสตรีนักเรียกร้องสิทธิ เป็นเรื่องที่ให้ความสนใจมานาน และรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้ทำงานปกป้องสิทธิมนุษยชน และความเท่าเทียมกัน ในการสนับสนุนโครงการนี้ ไม่ใช่เพราะอยากไปชี้นิ้วว่าไทยยังทำไม่ดี หรือสังคมไทยต้องปฏิบัติอย่างไร  แต่เพียงทำด้วยความสมานฉันท์ และเป็นมิตรกับประเทศไทย สำหรับในประเทศแคนนาดาเรื่องสิทธิมนุษยชนมีความสำคัญมาก และในประเทศก็ยังมีปัญหาในเรื่องนี้  ซึ่งเราก็กำลังแก้ปัญหาเรื่องผู้หญิงชนพื้นเมืองที่หายตัวไป สะท้อนให้เห็นว่าหนทางในเรื่องสิทธิมนุษยชนก็ของประเทศแคนาดาก็ยังอีกยาวไกล  ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการแลกเปลี่ยนการทำงานร่วมกับนักสิทธิมนุษยชนอื่นๆ นำไปสู่ความร่วมมือในการหาแนวทางในการปกป้องสิทธิมนุษยชน บนสังคมที่มีความหลากหลาย มุมมองที่แตกต่างกัน ในแคนนาดาจึงได้ส่งเสริมให้สังคมไม่กีดกันและให้พื้นที่สำหรับทุกคนในการแสดงออกเพื่อทำให้สังคมดีขึ้น สำหรับศิลปะผ้าปักควิลท์นั้น นับว่าเป็นการเปิดให้เห็นถึงการต่อสู้ปกป้องของนักสิทธิมนุษยชน ซึ่งสิ่งสำคัญ คือการเล่าเรื่อง เพราะเป็นเรื่องที่ต้องเจอกันทั่วโลก สำหรับการอยากให้คนอื่นเข้าใจ และให้คนอื่นมามีส่วนร่วมในการต่อสู้

ผลงานอุปสรรค


               ภายในงานมีการเปิดเวทีพูดคุยสถานการณ์ผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ภายใต้ประชาธิปไตยไม่เต็มใบในประเทศไทย  นำทัพโดย ปรานม สมวงศ์ ตัวแทนจากองค์กร Protection International บอกว่า ที่ผ่านมาเป็นที่น่าตกใจว่าสถิติการคุกคามผู้หญิงนักปกป้องสิทธิเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยในช่วง 3 ปีแรกหลังรัฐประหาร 2557-2560 มีผู้หญิงนักปกป้องสิทธิจากชุมชนถูกคุกคามด้วยกระบวนการยุติธรรม 179 คน แต่ในปัจจุบัน 6 ปีผ่านไปเพิ่มขึ้นเป็น 440 คน ซึ่งสถิติแต่ละภูมิภาคจะพบว่าผู้หญิงนักปกป้องสิทธิจากกรุงเทพฯและปริมณฑล ถูกฟ้องร้องดำเนินคดีมากที่สุดถึง 235 คน รองลงมาคือภาคอีสาน 129 คน  ภาคเหนือ 44 คน และภาคใต้ 32 คน แม้ว่าก่อนหน้านี้ในปี พ.ศ. 2560 คณะกรรมการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรี หรือ CEDAW มีข้อเรียกร้องให้รัฐบาลไทยยุติการคุกคามผู้หญิงนักปกป้องสิทธิ ซึ่งแทนที่ตัวเลขจะลดลง ปรากฏว่าสถิติกลับพุ่งสูงขึ้น  และพบว่ามีผู้หญิงนักปกป้องสิทธิฯเพียง 25 คนจากทั่วประเทศเท่านั้นที่เข้าถึงกองทุนยุติธรรม

ผลงานฟุตบอลสร้างความฝัน  ไม่ว่าเพศไหน วัยใด ก็สามารถเตะฟุตบอลได้


               “เป็นเหตุผลให้เราได้จัดกิจกรรมเกี่ยวกับผู้หญิงมาอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งในปีนี้มีความสนใจในการนำงานศิลปะมาเชื่อมโยงบอกเล่าเรื่องราวของผู้หญิง โดยใช้การปักผ้า ที่ตั้งแต่โบราณตามจารีตประเพณีไทย ผู้หญิงคือต้องปักผ้าเป็น แต่ในงานนี้เราได้เลือกผ้าปักควิลท์ เพื่อเป็นเครื่องมือในการต่อสู้ และการปกป้องสิทธิ ซึ่งเราได้มีโอกาสทำงานพูดคุยกับผู้หญิงนักปกป้องสิทธิ 20 คนในไทย ในหลากหลายประเด็น ทำให้รู้ว่าผู้หญิงกลุ่มนี้ได้สร้างประโยชน์มากมาย ในด้านสิทธิมนุษยชนในชุมชน

 

ผลงานความเหลื่อมล้ำ เมืองใหญ่และรูปเกษตรกรที่ดินตกอยู่ในมือนายทุน

จึงได้ทำให้การเกิดกิจกรรมปักผ้าควิลท์ขึ้น ซึ่งได้รับความสนใจเพราะทุกคนไม่เคยทำมาก่อนจึงเป็นที่ชื่นชอบอย่างมากที่ได้แสดงออกเรื่องราวในมิติที่หลากหลาย ทั้งสิทธิของผู้หญิงในฐานะที่เป็นแม่ ความเท่าเทียมในกลุ่มผู้หญิงที่มีความหลากหลายทางเพศ ที่อยู่อาศัย ผู้ลี้ภัย และอีกหลายเรื่อง ดังนั้นหวังว่านิทรรศการจะทำให้สังคมได้สนใจและเรียนรู้เรื่องราวของผู้หญิงผ่านศิลปะได้มากยิ่งขึ้น” ปรานม กล่าว 

ผู้หญิงกับการปกป้องสิทธิชุมชน


               ด้านอังคณา นีละไพจิตร อดีตคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้ทำผ้าปักควิลท์ ในชื่อ อุปสรรค ที่ต้องการสะท้อนให้เห็นว่า เสรีภาพและความเท่าเทียมเป็นสิ่งที่มีความหมายสำหรับผู้หญิง หากปราศจากเสรีภาพและความยุติธรรม ก็เป็นชีวิตที่ปราศจากความหมาย การต่อต้าน ความไม่ชอบธรรมจึงเป็นเหตุผลของการมีชีวิตอยู่ที่งดงาม เพื่อคนรุ่นต่อไป เธอยังบอกว่า ในสถานการณ์ผู้หญิงนักปกป้องสิทธิอยู่ภายใต้ประชาธิปไตยไม่เต็มใบนี้  เพราะผู้หญิงมักเป็นแกนนำในการปกป้องทรัพยากร สิทธิชุมชน หรือแม้แต่สิทธิเสรีภาพในการมีส่วนร่วมและการแสดงความคิดเห็น ซึ่งเมื่อเดือนปลายปี 2562 ที่ผ่านมา รัฐบาลได้รับรองแผนปฏิบัติการชาติ เรื่องธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน โดยกระทรวงยุติธรรมจะได้ดำเนินมาตรการคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน และหามาตรการยุติการคุกคามโดยกฎหมาย (judicial harassment) ในการฟ้องร้องเพื่อปิดปาก หรือเพื่อยุติการมีส่วนร่วมสาธารณะของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ต่อมาสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ปรับปรุงกฎหมาย มาตรา 161/1 เพื่อให้ศาลสามารถใช้ดุลยพินิจไม่ฟ้องคดีที่จะไม่เกิดประโยชน์ต่อสาธารณะได้ อย่างไรก็ดี พบว่าที่ผ่านมาศาลยังไม่ได้นำมาตรามาใช้นี้เพื่อป้องกันการฟ้องเพื่อกลั่นแกล้งนักสิทธิมนุษยชน

บ้านในฝัน


              ในชุมชนเมืองที่เจริญนับว่าเกิดความเหลื่อมล้ำมากที่สุด ได้สะท้อนผ่านผลงานผ้าปักควิลท์ วินมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ของสมบุญ คงคา ประธานเครือข่ายสลัมสี่ภาค  ได้บอกว่า กว่า 2 ปี วินมอเตอร์ไซค์รับจ้างคืออาชีพที่ตนทำแล้วมีความสุข จึงอยากสะท้อนผ่านผ้าปักให้เห็นว่า แม้รายได้จากอาชีพนี้จะไม่เยอะ แต่ทำให้ตนสามารถมีอิสระในการทำงานเพื่อสังคมได้อย่างที่ต้องการ เพราะชาวบ้านในชุมชนที่มีฐานะยากจนต้องการความช่วยเหลือในเรื่องของที่อยู่อาศัย จึงอยากให้รัฐพิจารณาจัดสรรที่ดินว่างเปล่าของรัฐให้กับคนจนเมือง อาจจะมีค่าเช่าเป็นรายเดือน แต่อยู่ในราคาที่เหมาะสมกับรายได้ของคนจนเมือง 

ผลงานพวกเราไม่ใช่อาชญากร


               อีกปัญหาที่พบก็คือ ผู้ลี้ภัยในเมือง พุทธณี  กางกั้น ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชน องค์กร Fortify Rights กล่าวว่า ปัจจุบันมีพ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 เพียงฉบับเดียวที่นำมาใช้บังคับกับผู้ลี้ภัย แต่เนื่องจากผู้ลี้ภัยส่วนหนึ่งไม่มีเอกสารประจำตัวหรือเอกสารการเข้าเมือง และส่วนมากต้องใช้ระยะเวลารอคอยอย่างยาวนานก่อนเดินทางไปประเทศที่สาม เกือบทั้งหมดจึงผิดกฎหมายคนเข้าเมือง ซึ่งปัญหาที่พบคือผู้ลี้ภัยไม่ได้รับสิทธิในการประกอบอาชีพ แต่ต้องเลี้ยงดูครอบครัว ทำให้ต้องแอบไปรับจ้างทำงานในราคาที่ต่ำกว่าทั่วไป ไม่สามารถต่อรองกับนายจ้าง และผู้ลี้ภัยผู้หญิงมีความเสี่ยงต่อการถูกคุกคามซึ่งจะไม่มีการแจ้งความเอาผิดเพราะตัวเองเป็นผู้ลี้ภัยที่ผิดกฎหมายคนเข้าเมือง และหากมีกรณีสามีถูกจับกักอยู่ในห้องกักสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ผู้หญิงก็ต้องรับภาระดูแลลูกตามลำพัง อย่างผลงาน บ้านในฝัน ที่ผู้ลี้ภัยหญิงได้เล่าให้เห็นถึงครอบครัวที่ลำบาก ไม่เคยได้อยู่ดีกินดี บ้านจึงเป็นสิ่งที่อยากมีมากที่สุดในอนาคต หรือผลงานโลกที่เต็มไปด้วยน้ำตา ที่บ้านได้ถูกทำลายโดยเจ้าหน้าที่ สามี เธอ และลูกๆมีความหวาดกลัว จนต้องย้ายที่อยู่เพื่อความปลอดภัย 


    ในมุมของนักปกป้องสิทธิผู้หญิงพิการ  ดวงเดือน แสนค้า สมาคมวัฒนธรรมความพิการเชียงใหม่ เจ้าของผลงานผ้าปักควิลท์ ชีวิตอิสระผู้หญิงพิการ บอกว่า แรงบันดาลใจในการปักผ้าออกมาเป็นตัวเองท่ามกลางแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ ที่มีความฝันอยากจะไปเที่ยวกับครอบครัวอย่างอิสระและในทางเดียวกันก็สามารถช่วยเหลือตนเองได้ไม่เป็นภาระผู้อื่น เพราะตั้งแต่ตนประสบอุบัติเหตุเป็นส่วนให้ไม่สามารถเดินได้ จึงต้องนั่งรถเข็นตลอดชีวิต ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ก็ได้รับความช่วยเหลือจากสามี หลังจากสามีเสียชีวิตก็ได้ลูกช่วยดูแลต่อ ซึ่งความลำบากของผู้หญิงพิการในฐานะแม่นอกจากตอนอุ้มท้อง ก็ยังมีภาระในการหาเงินส่งเสียลูกเรียน แต่ดีที่ยังรายได้จากการทำงานในสมาคมวัฒนธรรมความพิการเชียงใหม่ประมาณเดือนละ 9,000 กว่าบาท  และส่วนที่สำคัญสำหรับผู้หญิงพิการหรือคนพิการทุกคนคือสิ่งอำนวยความสะดวกในการเดินทาง อย่าง เส้นทางสำหรับผู้พิการรถเข็น ที่สำคัญอย่างมาก 

ผู้พิการสร้างสรรค์ผลงานผ้าปักควิลท์


    ผู้สนใจสามารถเข้าชมผลงานผ้าปักควิลท์ ได้ตั้งแต่วันนี้ -7 กุมภาพันธ์ 2563 ที่โถงหน้าห้องสมุด ชั้น L เวลา 10.00-21.00 น. ในวันอังคาร-อาทิตย์(หยุดวันจันทร์) ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพฯ 

ดวงเดือน แสนค้า 


    


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"