กฟผ.-กรอ.เล็งตั้งโรงงานต้นแบบ กำจัดซากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ และแบตเตอรี่ 


เพิ่มเพื่อน    

  

    "เซลล์แสงอาทิตย์"นับว่าเป็น"พลังงานสะอาด" ไม่ก่อมลพิษเหมือนพลังงานจากฟอสซิล แต่ทั้งแผงโซลาร์เซลล์ และแบตเตอร์รี่ ที่เป็นตัวรับและสะสมพลังงานเป็นอุปกรณืที่มีอายุการใช้งาน  หากหมดอายุแล้ว เทคโนโลยีพวกนี้ก็จะกลายเป็น"ขยะ"
    ตลอดจนรัฐเอง ก็มีนโนบายสนับสนุนให้มีการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าภายในประเทศให้ได้ 1.2 ล้านคัน ภายในปี 2579   ซึ่งหากเป็นไปตามเป้า จะทำให้เกิดซากเซลล์แสงอาทิตย์ อุปกรณ์ประกอบ และซากแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้ามีจำนวนมาก     แต่ปัญหาคือประเทศไทยยังไม่มีเทคโนโลยี และการบริหารจัดการซากเหล่านี้อย่างเป็นระบบครบวงจร และยิ่งปล่อยสะสมให้มีปริมาณมากก็จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ได้ร่วมกันลงนาม MOU ทำ “โครงการศึกษาการบริหารจัดการซากแผงเซลล์แสงอาทิตย์และแบตเตอรี่ในประเทศไทย” เพื่อหาแนวทางและเทคโนโลยีในการกำจัดซากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ (โซลาร์เซลล์) และแบตเตอรี่ตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) อีกทั้งยังศึกษาถึงความเป็นไปได้ที่จะจัดตั้งโรงงานบริหารจัดการซากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ เป็นต้นแบบของไทย  


    นายประกอบ วิวิธจินดา อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) กล่าวว่า รัฐบาลมีแผนการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ให้ได้ 15,574 เมกะวัตต์ ภายในปี 2580 และส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าภายในประเทศให้ได้ 1.2 ล้านคัน ภายในปี 2579 ซึ่งจะทำให้เกิดซากเซลล์แสงอาทิตย์ อุปกรณ์ประกอบ และซากแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้าจำนวนมาก โดยปัจจุบันไทยมียอดสะสมซากแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า 5 ปีนับตั้งแต่ปี 2558 แล้ว 1,300 ตัน ได้ส่งออกไปกำจัดต่างประเทศทั้งหมด เช่น ญี่ปุ่น เบลเยียม สิงคโปร์ 
    เนื่องจาก ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีเทคโนโลยี และการบริหารจัดการซากแผงเซลล์แสงอาทิตย์และแบตเตอรี่อย่างเป็นระบบ และครบวงจร ซึ่งอายุการใช้งานของแผงโซลาเซลล์โดยเฉลี่ยประมาณ 20 ปี คาดว่าในปี 2565 จะมีซากแผงโซลาเซลล์เกิดขึ้น 112 ตัน และจะเพิ่มเป็น 1.55 ล้านตัน ในปี 2600 ซึ่งหากไม่มีการวางแผนที่เหมาะสม นอกจากจะส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศแล้ว ยังจะเป็นปัญหาอุปสรรคต่อแผนการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ และการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทย 


    และเมื่อวันที่ 29 ก.ค. 2558 นายกรัฐมนตรีได้มีข้อสั่งการโดยได้มอบนโยบายเกี่ยวกับการจัดการขยะที่เกิดจากเซลล์แสงอาทิตย์ในการผลิตไฟฟ้า โดยกระทรวงอุตสาหกรรมได้นำเรื่องดังกล่าวเสนอเป็นกิจกรรมในแผนยุทธศาสตร์การจัดการของเสียของกระทรวงอุตสาหกรรม ในส่วนของกรอ.ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีความมุ่งมั่นในการยกระดับอุตสาหกรรมด้วยเทคโลยีและนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน จึงเกิดเป็นความร่วมมือในครั้งนี้กับกฟผ.เพื่อให้มั่นใจว่าไทยจะสามารถบริหารจัดการซากทั้งหมดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่กระทบสิ่งแวดล้อม 
    ด้านนายพัฒนา แสงศรีโรจน์ รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ กฟผ. กล่าวว่า เรากำลังเปลี่ยนยุคแห่งการใช้ไฟฟ้าจากยุคที่ 1 ไปยังยุคที่ 2 โดยยุคที่ 1 เราใช้ฟอสซิล ก๊าซ น้ำมัน ถ่านหิน เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า เป็นต้นเหตุทำให้เกิดภาวะโลกร้อน เลยมีการเปลี่ยนมาสู่ยุคที่ 2 ซึ่งคือการใช้พลังงานหมุนเวียน ไม่ว่าจะเป็นลม แดด ชีวมวล จนคิดค้นมาถึงการใช้พลังงานแสงอาทิตย์โดยใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่เรารู้จักกันดีอย่าง แผงโซลาร์เซลล์ แล้วก็มีการคิดค้นสิ่งที่ทำลายสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด อย่างรถยนต์ไฟฟ้ามีการใช้แบตเตอรี่จำนวนมากแทนน้ำมัน ซึ่งเมื่อแผงเซลล์ฯ และแบตเตอรี่หมดอายุการใช้งานก็จะเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเช่นกัน เราก็อยากจะทำให้เกิดการนำไปรีไซเคิล นำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นต่อ ก็ตั้งเป้ากันว่าโครงการนี้จะศึกษาถึงเทคโนโลยี วิธีการกำจัด ตามแนวเศรษฐกิจหมุนเวียน และดูความเป็นไปได้ถึงการตั้งเป็นโรงงานกำจัด อาจจะเป็นโรงงานขนาดเล็กในอนาคต แต่ก็ขึ้นอยู่กับผลการศึกษาโดยรวมว่าพอที่จะเป็นไปได้หรือไม่  
     สำหรับความร่วมมือ รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ กฟผ. ให้รายละเอียดว่า จะเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านเทคโนโลยี ข้อเสนอแนะและแนวทางการบริหารจัดการซากแผงเซลล์แสงอาทิตย์และแบตเตอรี่ในประเทศไทย เพื่อนำมาประกอบศึกษาความเหมาะสมในการพัฒนาโรงงานบริหารจัดการซากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ละแบตเตอรี่ต้นแบบของประเทศ โดยมีระยะเวลา 1 ปี นับตั้งแต่วันลงนาม และมีขอบเขตความร่วมมือ คือ กรอ.จะให้การสนับสนุนด้านข้อมูล ได้แก่ 1.ข้อมูลแนวโน้มซากแผงเซลล์แสงอาทิตย์และแบตเตอรี่ในประเทศไทย 2.ข้อมูลจากการพิจารณาแนวทางการเก็บรวบรวมซากแผงเซลล์แสงอาทิตย์​และแบตเตอรี่จากภาคอุตสาหกรรม 3.ข้อมูลจากการศึกษาทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมต่อการพัฒนาโรงงานบริหารจัดการซากแผงเซลล์แสงอาทิตย์และแบตเตอรี่ต้นแบบของประเทศไทย 
    ส่วนของกฟผ. คือ 1.ศึกษาเทคโนโลยีการจัดการซากแผงเซลล์แสงอาทิตย์และแบตเตอรี่ที่เหมาะสมสำหรับประยุกต์ใช้กับโรงงานบริหารจัดการซากแผงเซลล์แสงอาทิตย์และแบตเตอรี่ต้นแบบของไทย 2.ศึกษาความเป็นได้ในการพัฒนาโรงงานบริหารจัดการซากแผงเซลล์แสงอาทิตย์และแบตเตอรี่ ควบคู่กับการพิจารณาตามแนวทางการเก็บรวบรวมซากแผงเซลล์แสงอาทิตย์และแบตเตอรี่ จากภาคอุตสาหกรรมตามข้อมูล กรอ. 3.ศึกษาเทคโนโลยีและแนวทางการบริหารจัดการซากแบตเตอรี่ ที่อาจสามารถนำมาบูรณาการกับโรงงานบริหารจัดการซากแผงเซลล์แสงอาทิตย์และแบตเตอรี่ต้นแบบของประเทศไทย
    อย่างไรก็ตาม นายประกอบ วิวิธจินดา กล่าวว่า สำหรับพื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการตั้งโรงงาน จะต้องอยู่ใกล้กับแหล่งที่มีการใช้โซลาเซลล์สูง เช่น พื้นที่โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ และพื้นที่โรงงานอุตสาหกรรมที่มีการติดตั้งโซลาเซลล์เป็นจำนวนมาก เช่น เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ซึ่งจากสำรวจพบว่าในภาคกลางเป็นพื้นที่มีการตั้งโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์มากที่สุด 1,750 เมกะวัตต์  รองลงมาเป็นภาคเหนือ 626 เมกะวัตต์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 465 เมกะวัตต์ และภาคใต้ 41 เมกะวัตต์ รวม 2,882 เมกะวัตต์ 
    ส่วนเทคโนโลยีการรีไซเคิลและกำจัดซาก ในขั้นแรกคือการแยกชิ้นส่วนทางกายภาพ เช่น อลูมิเนียม กระจก ไปรีไซเคิลนำกลับมาใช้ ส่วนที่เหลือที่นำกลับมาใช้ใหม่ไม่ได้จะนำไปผังกลบ หรือเผา ส่วนแบตเตอรี่จะกำจัดยากกว่า เพราะมีอันตรายหากขนส่งหรือจัดเก็บไม่ถูกต้องอาจจะระเบิด หรือเกิดสารพิษรั่วไหลได้ จึงต้องมีโรงงานกำจัดที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง


    “แต่ทั้งนี้ก่อนจะไปสู่การตั้งโรงงาน เราต้องศึกษาก่อน ว่าควรจะกำจัดเองไหม ใช้เทคโนโลยีอะไร คุ้มค่าไหม หรือว่าการส่งออกไปกำจัดที่ต่างประเทศดีอยู่แล้ว ซึ่งถ้าจะให้เห็นภาพ เราต้องมีมาตรฐานภายในประเทศในการปลูกจิตสำนึกคนไปพร้อมกันด้วย ต้องมีกฏกติกามารยาท กับประชาชนว่าเมื่อใช้แบตเตอรี่กับแผงเซลล์แสงอาทิตย์เสร็จแล้วจะมีวิธีการจัดการยังไง ส่งที่ไหน ควรจะไปทิ้งตรงไหนอย่างไรเพราะทุกวันนี้แบตเตอรี่มือถือเราเก่าพัง เราทิ้งขยะ แล้วขยะนั้นไม่รู้ไปที่ไหนต่อ เราต้องร่วมมือกันใช้ให้เกิดคุ้มค่า แต่การศึกษาของเราเริ่มที่แผงเซลล์ และแบตเตอรี่รถยนต์ก่อนถ้าสำเร็จอาจจะขยายผลการศึกษาไปสู่แบตเตอรี่ประเภทอื่นๆ ในอนาคต” นายประกอบ กล่าวทิ้งท้าย.
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"