7ก.พ.63-ที่รัฐสภา นายไพบูลย์ นิติตะวัน รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหา หลักเกณฑ์ และแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ในฐานะประธานคณะอนุกรรมาธิการศึกษาวิเคราะห์บทบัญญัติรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ และกฎหมายอื่น ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุม ว่า ที่ผ่านมาคณะกรรมาธิการวิสามัญฯได้มีการพิจารณาบทบัญญัติเกี่ยวกับมาตรา 256 ว่าด้วยการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ แต่ยังไม่สามารถพิจารณาได้แล้วเสร็จ เนื่องจากมีความเห็นออกเป็นสองทาง ได้แก่ 1.ฝ่ายที่สนับสนุนให้แก้ไขมาตรา 256 ที่ได้ยกเหตุผลว่าสมควรให้มีการแก้ไขได้ง่ายขึ้นกว่าบทบัญญัติที่กำหนดไว้ในปัจจุบัน และ2.ฝ่ายที่คัดค้านการแก้ไขมาตรา 256 เพราะเห็นว่าเมื่อมีการแก้ไขจะต้องมีการทำประชามติ อันเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณถึงประมาณ 3 พันล้านบาท
นายไพบูลย์ กล่าวว่า โดยส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขมาตรา 256 แม้ในที่ประชุมจะมีกรรมาธิการวิสามัญเสนอว่าจำเป็นที่ต้องแก้ไขให้เป็นสากล แต่จากการสืบค้นข้อมูลทางวิชาการพบว่าในหลายประเทศก็ได้กำหนดขั้นตอนของการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญยากกว่ากรณีของประเทศไทย เช่น ประเทศญี่ปุ่นที่กำหนดให้เสียงข้างมาก 2ใน3 หรือบางประเทศต้องผ่านการลงมติให้ความเห็นชอบจากทีละสภา
"ที่สำคัญมาตรา 256 มีเจตนารมณ์ต้องการแก้ไขปัญหาเสียงข้างมากลากไปที่เกิดขึ้นกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญพ.ศ.2550 จนถึงขั้นมีการเสนอเรื่องนี้ให้ศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งบุคคลที่ยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญเวลานั้น ปัจจุบันกำลังดำรงตำแหน่งส.ว.ตามบทเฉพาะกาลในปัจจุบัน จึงมีความเป็นไปได้ที่ส.ว.ย่อมจะไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขมาตรา 256" นายไพบูลย์ กล่าว
นายไพบูลย์ กล่าวว่า ด้วยเหตุนี้ทำให้การพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯในมาตรา 256 จำเป็นต้องชะลอการพิจารณาไปก่อน เพื่อให้คณะกรรมาธิการวิสามัญฯได้เดินหน้าพิจารณาเรื่องอื่นๆต่อไป โดยในวันนี้จะเป็นการพิจารณารายงานเกี่ยวกับการศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญในหมวดสิทธิเสรีภาพ ซึ่งมีจำนวน 7-8 มาตรา โดยคิดว่ากลุ่มมาตราเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพ จะสามารถนำไปสู่การเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในอนาคตได้ตามกลไกมาตรา 256 ของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน และมั่นใจรัฐสภาจะให้ความเห็นชอบด้วย
"การศึกษาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้แบ่งกลุ่มการพิจารณาออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มมาตราที่น่าจะสามารถแก้ไขได้ทันที โดยไม่ต้องแก้ไขมาตรา 256 โดยเชื่อว่าหลังจากที่คณะกรรมาธิการวิสามัญฯมีข้อเสนอออกมาแล้วจะสามารถนำไปสู่การแก้ไขได้ 2.กลุ่มมาตราที่อาจต้องใช้เวลาพิจารณาประมาณ 1 -2 ปี เพื่อรอให้ส.ว.ชุดใหม่ เช่น ระบบการเลือกตั้งส.ส.และประเด็นที่เป็นความได้เปรียบเสียเปรียบทางการเมือง ซึ่งไม่สามารถหาความเห็นร่วมกันในช่วงเวลาการทำงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญ และ กลุ่มที่ 3 เป็นเรื่องที่ไม่สามารถกระทำได้ เพราะจะไม่ได้รับความเห็นชอบจากส.ว.ตามบทเฉพาะกาล เช่น มาตรา 256 ซึ่งเชื่อว่าวุฒิสภาจะไม่เห็นด้วย รวมไปถึงการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญและการแก้ไขบทเฉพาะกาล โดยคิดว่าอาจต้องรอให้พ้นระยะเวลา 5 ปีเพื่อให้ส.ว.ชุดใหม่ที่มาจากการเลือกกันเองของกลุ่มวิชาชีพมาดำเนินการแทน" นายไพบูลย์ กล่าว
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |