นายกีรพัฒน์ เจียมเศรษฐ์ ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง หรือ MEA และคณะผู้บริหาร MEA พร้อมด้วยผู้แทนจาก สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) สมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม ร่วมประชุมติดตามความคืบหน้าการจัดระเบียบสายสื่อสารเมืองมหานคร Smart Metro พื้นที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) นนทบุรี และสมุทรปราการ เร่งแก้ไขปัญหาสายสื่อสารรกรุงรัง สร้างความปลอดภัยแก่ประชาชน ตามนโยบายของรัฐบาล ณ อาคารวัฒนวิภาส การไฟฟ้านครหลวง สำนักงานใหญ่ คลองเตย
ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง กล่าวว่า MEA ในฐานะหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทย พร้อมเร่งดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลอย่างเต็มที่ ในการแก้ไขปัญหาสายสื่อสารรกรุงรัง และห้อยต่ำ ซึ่งส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุ ความปลอดภัยของประชาชน และอาจส่งผลกระทบต่ออุปกรณ์ระบบจำหน่ายไฟฟ้าของ MEA โดยรัฐบาลกำหนดรื้อถอนสายสื่อสารที่ไม่ใช้งาน (สายตาย) ให้แล้วเสร็จภายใน มิถุนายน 2563 จึงได้ร่วมมือกับภาคีเครือข่ายดำเนินการจัดระเบียบสายสื่อสารมาอย่างต่อเนื่อง ในครั้งนี้ จึงเชิญหน่วยงานเกี่ยวข้องมาประชุมติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานจัดระเบียบสายสื่อสาร รวมถึงสรุปประเด็นปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นเพื่อปรับแผนปฏิบัติงานเชิงรุกมากขึ้นให้สำเร็จตามแผนงาน เนื่องจากการจัดระเบียบสายสื่อสารรูปแบบใหม่ตามขั้นตอนที่ MEA กำหนดไว้จะมีมาตรฐานที่สูงขึ้น เพื่อให้การดำเนินงานแก้ไขปัญหาสายสื่อสารที่รกรุงรังและสายสื่อสารที่ม้วนขดห้อยทิ้งไว้ไม่ได้ใช้งาน ให้มีความเรียบร้อยเป็นระบบที่ชัดเจนตรวจสอบได้และยั่งยืน สำหรับพื้นที่ที่ MEA รับผิดชอบ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ ครอบคลุมทั้ง 18 ที่ทำการเขต มีทั้งสิ้น 318 เส้นทาง รวมระยะทางกว่า 2,200 กิโลเมตร นั้น จากการประชุมติดตามงานในวันนี้พบว่าผู้ประกอบการสามารถดำเนินงานได้ตามแผนที่กำหนดไว้ ซึ่ง MEA มีแผนการดำเนินงานแบ่งเป็น 2 เฟส ได้แก่ เฟสที่ 1 ระยะทาง 211.8 กิโลเมตร ได้ดำเนินการรื้อถอนสายสื่อสารที่ไม่ใช้งานออกหรือสายตาย และจัดระเบียบสายสื่อสารเสร็จสิ้นแล้วในเดือนมกราคม 2563 ที่ผ่านมา และเฟสที่ 2 ระยะทางกว่า 2,000 กิโลเมตร อยู่ในระหว่างดำเนินการจัดระเบียบสายสื่อสารในเส้นทางที่เหลืออยู่ตามแผนงาน ทั้งนี้ MEA มีการจัดระเบียบสายสื่อสารรูปแบบใหม่ โดยมีขั้นตอนดำเนินการ ดังนี้
1.ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมต่างๆ สำรวจสายสื่อสารของตนเอง พร้อมติดแท็กระบุชื่อบริษัทผู้รับผิดชอบสาย ที่ต้องใช้งาน
2.รื้อถอนสายสื่อสารที่ไม่มีเจ้าของ ไม่ถูกใช้งาน หรือสายตาย ออกจากเสาไฟฟ้า
3.ติดตั้งคอนสำหรับสายสื่อสารบนเสาไฟฟ้าเพื่อรองรับการพาดสายสื่อสารที่ได้รับอนุญาตจาก MEA พร้อมให้ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมพาดสายของตนเองให้เป็นระเบียบภายและติดตั้งสายในช่องที่ได้รับอนุญาต
และ 4. MEA บันทึกข้อมูลสายสื่อสารในแต่ละเส้นทางในระบบข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System : GIS) เพื่อเก็บเป็นฐานข้อมูล ป้องกันการละเมิดในภายหลัง ซึ่งจากรูปแบบดังกล่าวจะทำให้ลดจำนวนการใช้สายสื่อสารลงโดยที่ไม่กระทบต่อลูกค้าผู้ใช้งานเครือข่าย สายสื่อสารมีความเป็นระเบียบ ตลอดจนการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการแต่ละรายสามารถสอดส่องดูแลไม่ให้มีผู้ลักลอบมาพาดสายโดยไม่ได้รับอนุญาตได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ช่วยให้ภูมิทัศน์สวยงาม ทำให้ระบบไฟฟ้ามีความมั่นคง มีความปลอดภัยแก่ประชาชนในระยะยาวต่อไป
สำหรับประชาชนที่พบเห็นปัญหาสายสื่อสารรกรุงรัง สายสื่อสารหลุดห้อยไม่ปลอดภัย สามารถแจ้งได้ที่สายด่วน กสทช. โทร. 1200 หรือ LINE@ : @nbtc1200
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |