6 ก.พ.63 - ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฏร ที่มีนายชวน หลีกภัย ประธานสภาฯ เป็นประธานการประชุม ได้เข้าสู่การพิจารณาญัตติเรื่อง ขอให้สภาฯตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ศึกษาเพื่อหาแนวทางป้องกันการรัฐประหาร ซึ่งนายปิยบุตร แสงกนกกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ และเลขาธิการพรรคอนาคต พร้อมคณะ เป็นผู้เสนอ
นายปิยบุตร กล่าวเปิดญัตติว่า ประเทศไทยเจอรัฐประหารหลายครั้ง โดยมักมีข้ออ้างที่วนเวียนอยู่ไม่กี่ข้อ อาทิ มีบุคคลเป็นบอนทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ เกิดภัยคอมมิวนิสต์ รัฐบาลทุจริตคอร์รัปชั่น เป็นต้น ซึ่งเมื่อยึดอำนาจได้สำเร็จก็จะฉีกรัฐธรรมนูญ ปกครองโดยไม่มีรัฐธรรมนูญ และสักพักก็มีรัฐธรรมนูญชั่วคราว และรัฐธรรมนูญฉบับถาวรมาตามลำดับ เมื่อดูวัฏจักรแล้ว ตั้งแต่เราเปลี่ยนแปลงการปกครองจนถึงขณะนี้ 88 ปี คนไทยมีชีวิตอยู่กับรัฐธรรมนูญชั่วคราวมากกว่ารัฐธรรมนูญฉบับถาวร
นายปิยบุตร กล่าวว่า ขณะนี้ประชาชนใช้ชีวิตเรื่อยๆจนรู้สึกว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องปกติ เป็นยาสามัญประจำบ้าน มีวิกฤตเมื่อใดก็เรียกรัฐประหารออกมา ทั้งที่เรื่องนี้เป็นวงจรอุบาทว์ และนี่คืออาการอยู่ด้วยความคุ้นชินโดยไม่รู้ตัว เป็นมายาคติและทำให้รัฐประหารเป็นเรื่องปกติ เกิดขึ้นอีกครั้งคงไม่เป็นไร ทั้งที่รัฐประหารเป็นการตัดตอนพัฒนาการประชาธิปไตย เมื่อมีรัฐประหารเกิดขึ้นเราอาจไม่รู้สึกว่าจะส่งผลร้าย แต่เอาเข้าจริงกลับส่งผลร้ายในระยะยาว รัฐประหารเป็นการสถาปนาให้ทหารเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมือง เปิดให้รัฐไทยเป็นรัฐทหาร นอกจากนี้ ยังส่งผลทางโครงสร้างเศรษฐกิจ เช่น สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เรารับทุนจำนวนมากจากสหรัฐเพื่อต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ แต่เราก็ได้สร้างความเหลื่อมล้ำมาจนถึงทุกวันนี้ อีกทั้งทำให้กลุ่มทุนขนาดใหญ่ได้รับประโยชน์ ยังไม่นับการออกกฏยกเว้นให้กับกลุ่มทุนขนาดใหญ่นี้
“เช่นเดียวกันกับข้ออ้างที่ว่ารัฐประหารเข้ามาเพื่อปราบคอร์รัปชั่น ปราบโกง แต่ในที่สุดเมื่อจากไปมีปัญหาทุจริตเสมอเชื่อเถอะว่าเมื่อเวลาผ่านไป และมองย้อนมาการยึดอำนาจไม่ใช่วิธีการปราบโกง แต่เป็นการเปิดทางให้ทหารเข้ามามีประโยชน์ ที่ว่าปราบโกง จะปราบไม่สำเร็จ และได้คอร์รัปชั่นรูปแบบใหม่ และเราไม่สามารถตรวจสอบได้ อีกทั้งยังสร้างความแตกแยกร้าวลึก เพราะรัฐประหารทำให้เกิดผู้ลี้ภัย เกิดความแตกแยก เราอาจบอกว่านี่คือความสงบ แต่ความจริงคือการซุกปัญหาไว้ใต้พรม โดยใช้กำลังเข้าปราบปรามสิทธิเสรีภรพ ไม่เปิดพื้นที่ทางการเมืองใหม่ นี่คือหนังม้วนเดิมที่วนอยู่ซ้ำแล้วซ้ำเล่าในไทย” เลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ กล่าว
นายปิยบุตร กล่าวอีกว่า จากการศึกษาวิธีป้องกันการรัฐประหารของตน พบว่า เราต้องปฏิรูปกองทัพให้สอดคล้องกับหลักประชาธิปไตย รัฐบาลพลเรือนต้องอยู่เหนือทหาร ไม่ใช่ให้ทหารขี่คอรัฐบาลพลเรือน วันไหนทำอะไรที่ไม่ถูกใจกองทัพ กองทัพก็ขู่ ตบท้าย ส่งจดหมายน้อย หากไม่ยอมทำตามก็รัฐประหารยึดอำนาจ นอกจากนี้ เราอาจมีมาตรการทางรัฐธรรมนูญและกฏหมายระดับพระราชบัญญติ โดยบัญญัติในประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญาขึ้นใหม่ เป็นมาตรา113/1 กำหนดให้ประชาชนคนไทยเป็นผู้เสียหายโดยตตรงจากรัฐประหาร เพราะที่ผ่านมาเคยมีนักการเมืองไปร้องเอาผิดกับผู้ปฏิวัติรัฐประหาร แต่ศาลไม่รับฟ้อง เพราะเห็นว่าไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง อีกทั้งให้กำหนดในรัฐธรรมนูญ ห้ามให้ตุลาการยอมรับการรัฐประหารเป็นรัฐฎาธิปัตย์ และให้ประชาชนต่อต้านการรัฐประหารทุกรูปแบบได้ ต้องเขียนล็อคไว้แบบนี้ อย่างไรก็ตาม อาจมีคนบอกว่าเขียนไว้เท่าไหร่ คณะรัฐประหารตามไปฉีกมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งตนอยากบอกว่าอย่างน้อยที่สุดเมื่อเข้าสู่ภาวะปกติ เรายังมีตัวบทกฏหมายรับรองอยู่ และค่อยหาวิธีการคนยึดอำนาจก็ยังไม่สาย
นายปิยบุตร ยังกล่าวถึงวิธีการป้องกันรัฐประหารเพิ่มเติมอีกว่า มาตรการกดดันระหว่างประเทศก็เป็นอีกทางหนึ่ง อย่างเช่นประเทศในทวีปแอฟฟริกาที่มีการรัฐประหารบ่อยครั้ง แต่พักหลังทำไม่สำเร็จ เพราะมีการตกลงกันว่าหากประเทศใดรัฐประหาร เพื่อนประเทศต่างๆจะร่วมกันบอยคอย ไม่คบค้าด้วย รวมถึงกลไกศาลอาญาระหว่างประเทศ ที่หลายประเทศรับรองอำนาจของศาลนี้ไว้ หากปราบปรามประชาชน หรือแม้แต่ออกกฏหมายนิรโทษกรรมตัวเองก็ไม่พ้นมือของศาลนี้
ทั้งนี้ มาตรการที่เสนอมา ไม่มีอะไรที่เป็นยาที่สำคัญที่สุดเท่ากับการสร้างความคิดแบบใหม่ จิตสำนึกให้กับประชาชน นักการเมือง ส.ส. ข้าราชการ สื่อ และทุกภาคส่วน ให้พร้อมใจกันต่อต้านรัฐประหาร ซึ่งเชื่อว่าคณะรัฐประหารทำไม่สำเร็จ ต้องขจัดมายาคติ ความเชื่อให้ได้ว่ารัฐประหารคือยาวิเศษและเป็นเรื่องปกติในสังคม เราต้องคิดให้ได้ว่าเรื่องนี้มันผิดและต้องออกไปต่อต้าน ถ้าไม่คิดว่าสู้เพื่อตัวเอง ก็ต้องคิดว่าสู้เพื่อลูกหลานและประเทศไทย
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |