หลายปีที่ผ่านมาผลิตภัณฑ์จากบนดอยได้ถูกพัฒนาให้เป็นที่รู้จัก และมีการสร้างแบรนด์ให้เทียบชั้นกับหลายๆ ผลิตภัณฑ์ได้ดีอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะอัตลักษณ์ของสินค้าที่มีความชัดเจน การนำเสนอสตอรี่ต่างๆ ที่เป็นตัวชูโรงให้สินค้ามีความน่าสนใจ รวมทั้งความมุ่งมั่นในการพัฒนาธุรกิจของเหล่าผู้ประกอบการที่อยู่ตามรายภูมิภาค ที่มีทั้งความพยามในการทำตลาด การผลักดันสินค้าสู่ไฮเปอร์มาร์เก็ต รวมถึงการส่งออก ทำให้สินค้าจากบนดอยถูกสร้างสรรค์และนำไปต่อยอดได้อย่างไม่รู้จบ
โครงการพัฒนาผู้ส่งออกรุ่นใหม่ : Young Exporter from local to Global (YELG) เป็นหนึ่งในโครงการของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ภายใต้การดำเนินงานของสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ ได้มีการจัดกิจกรรมขึ้นใน จ.เชียงราย รวมถึงการแบ่งปันประสบการณ์และการแชร์เทคนิคจากผู้ประกอบการในแวดวงธุรกิจต่างๆ ที่พัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยอาศัยเรื่องราวจากชาวดอยจนประสบความสำเร็จ และนำพาธุรกิจไปไกลสู่ระดับโลกได้เลยทีเดียว
ไม่หยุดคิด ไม่หยุดพัฒนา ก็จะสามารถไปได้ไกล เส้นทางแบรนด์เฟอร์นิเจอร์สัญชาติไทยอย่าง “kenkoon” กับความสำเร็จที่เต็มเปี่ยมไปด้วยคุณภาพและความตั้งใจ ทำให้ บริษัท เคนคูน เอ็กซ์ จำกัด เป็นที่จับตามองอย่างมาก โดย แมนรัตน์ สวนศิลป์พงศ์ ผู้ดำเนินกิจการผลิตเฟอร์นิเจอร์ให้กับประเทศในแถบสแกนดิเนเวีย เฟอร์นิเจอร์สำหรับเรือเดินทะเล และเฟอร์นิเจอร์กลางแจ้ง จากองค์ความรู้ที่มีได้ถูกนำมาผสมผสานกับความคิดสร้างสรรค์ที่พร้อมไปด้วยการออกแบบ และต่อยอดพัฒนารูปแบบงานดีไซน์เฟอร์นิเจอร์เอาต์ดอร์ลิฟวิ่ง ด้วยความแตกต่างของรูปแบบ และวัสดุที่เลือกใช้ จึงก่อให้เกิดกระแสนิยมตามมาจนถึงปัจจุบัน เพราะสิ่งที่สำคัญในการส่งออกนั้น ผู้ประกอบการจะต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน และสร้างความแตกต่างให้กับสินค้า รวมไปถึงการปรับปรุงสินค้าและบริการของตน และกล้าที่จะลงมือทำอย่างจริงจัง เช่นเดียวกัน บริษัท เคนคูนเอ็กซ์ จำกัด ทำให้ "การมีเฟอร์นิเจอร์ในแบบของบริษัทเป็นสิ่งที่แสดงตัวตนของตัวเองได้อย่างชัดเจน
คิดแล้วต้องลงมือทำ ถึงจุดเริ่มต้นจะยังไม่สำเร็จ แต่อนาคตจะแสดงให้เห็นถึงสิ่งที่เราทำว่ามีค่าแค่ไหน การเริ่มต้นของแบรนด์สมุนไพรภูตะวัน จากการเรียนรู้ในวัยเรียนที่อายุเพียง 16 ปี ของ ฉัตรชัย วงศ์มานะโรจน์ศรี สู่ธุรกิจที่มั่นคงในปัจจุบัน จากการทดลองทำสบู่ในวัยเรียนและลองนำสินค้าไปขายกับแม่ที่งาน OTOP อาจจะขายไม่ได้มาก แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการพัฒนาสินค้าไปสู่เวทีในระดับสากลได้อย่างมีคุณภาพ เพราะทำให้เกิดการมุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ รวมถึงพัฒนากระบวนการผลิตให้ได้มาตรฐานสากลระดับโลก ยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์และบริการปรับเปลี่ยนตามความพึงพอใจของลูกค้า
ความใส่ใจและพัฒนาสินค้าอยู่เสมอ ทำให้สินค้าไทยบินไกลสู่ตลาดโลกได้อย่างมีคุณภาพ ตํานานกาแฟดอยช้าง เอกลักษณ์กาแฟไทย สุดยอดกาแฟโลก โดยมีทั้งความแตกต่างของเรื่องราว ทำให้กลายเป็นกาแฟดอยช้างบินไกลสู่ตลาดโลกได้อย่างมีคุณภาพ โดย บริษัท ดอยช้าง คอฟฟี่ ออริจินอล จำกัด เป็นผู้ผลิตแปรรูปและจัดจำหน่ายกาแฟดอยช้าง โดยนำกาแฟอราบิก้าชนิดพิเศษคุณภาพสูงจากแหล่งผลิตเฉพาะบริเวณดอยช้าง ที่อยู่หมู่บ้านดอยช้าง ต.วาวี อ.แม่สรวย จ.เชียงราย ให้ผู้บริโภคได้ดื่มกาแฟหลายปีที่ผ่านมา กาแฟดอยช้างมีช่องทางการขายทั้งตลาดในประเทศ 30% และต่างประเทศ 70% ในประเทศ 30% และต่างประเทศ 70% และยังมีระบบแฟรนไชส์และร้านกาแฟพันธมิตรและอีกกว่า 50 สาขาในต่างประเทศ อาทิเช่น แคนาดา อังกฤษ เกาหลีใต้ สิงคโปร์ มาเลเซีย ลาว กัมพูชา และเมียนมา เป็นต้น
แม้ปี 2563 จะเริ่มต้นได้เพียงแค่ 2 เดือนแรกเท่านั้น แต่ก็มีหลายปัจจัยลบที่มีผลต่อกำลังซื้อและภาคธุรกิจไม่ใช่น้อย แต่หากมองในเชิงบวกอาจจะเป็นช่วงที่ผู้ประกอบการหลายรายบริหารงานและปรับโครงสร้างหลังบ้าน เพื่อเตรียมความพร้อมในยามที่เศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวอีกครั้งในอนาคต รวมถึงกลยุทธ์ในการสร้างแบรนด์เองก็มีส่วนสำคัญต่อสินค้า จาก 3 แบรนด์ข้างต้นจะเห็นได้ว่าการใส่ใจ ไม่หยุดคิด และลงมือทำ นับว่าเป็นกุญแจสำคัญที่จะสร้างธุรกิจให้ไปได้ไกล.
รุ่งนภา สารพิน
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |