'แม้ว'วิพากษ์ยับเศรษฐกิจไทยถดถอยหนัก รัฐบาลไม่เป็นประชาธิปไตยเอื้อประโยชน์คนรวย!


เพิ่มเพื่อน    

5 ก.พ.63 - นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้เขียนบทความเผยแพร่ผ่านหนังสือพิมพ์ออนไลน์ Thai Enquirer มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยในส่วนของภาษาไทยมีเนื้อหาดังนี้

หนังสือพิมพ์ออนไลน์ Thai Enquirer ได้ขอให้ผมเขียนบทความด้านเศรษฐกิจของประเทศเรา แต่ก่อนอื่น อนุญาตให้ผมแสดงความยินดีกับทีมงาน Thai Enquirer ที่ผลิตเนื้อหา ประเด็นข่าวที่สังคมต้องการมากในวันนี้และยุคนี้ ซึ่งข้อมูลสารสนเทศเป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาด้านสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ

ขอย้ำว่า การเคลื่อนไหวของข่าวสารข้อมูลสำคัญอย่างยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบันของประเทศเรา ในเมื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งต่อการขับเคลื่อนประเทศ

เศรษฐกิจไทย ซึ่งเคยเป็นที่อิจฉาของประเทศอื่นในภูมิภาคนี้ แต่ไม่นานมานี้ การเติบโตอย่างเข้มแข็ง ได้ถดถอยลงเรื่อยมา จนวันนี้ที่เศรษฐกิจไทยถูกจัดว่าเป็นเศรษฐกิจที่ตามหลังประเทศอื่นในภูมิภาค

การเติบโตทางเศรษฐกิจขอประเทศไทยจากที่เคยเป็นแรงขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจอาเซียน 10 ประเทศ ตอนนี้เศรษฐกิจไทยกลายเป็นหนึ่งในแย่ที่สุดและมีแนวโน้มจะแย่ลง ไม่มีท่าว่าจะดีขึ้นอย่างเร็ววัน

แต่ท่ามกลางหลายๆปัญหาทางเศรษฐกิจ แน่นอนว่า ยังมีบางภาคส่วนในสังคมยังคงเจริญรุ่งเรือง และจุดนี้กลายเป็นช่องว่างที่ขยายขึ้นเรื่อยๆระหว่างกลุ่มชนชั้นที่มีโอกาสและกลุ่มชนที่ด้อยโอกาส

สภาวะเช่นนี้สะท้อนให้เห็นถึงสภาวะที่คนชนชั้นบนของสังคมยังคงได้รับประโยชน์ ขณะที่คนส่วนใหญ่ในสังคมต้องทนทุกข์ต่อไป ไม่เคยมีมาก่อนที่คนที่ด้อยโอกาสของประเทศของเราประสบความยากลำบากอย่างวันนี้ ซึ่งสภาวะเช่นนี้ได้ถูกปฏิเสธมาตลอดจากรัฐบาลนี้

ขณะที่เศรษฐกิจโลกประสบวิบากกรรมของเศรษฐกิจผ่านความโกลาหลมาหลายครั้งหลายครา แต่ผ่านพ้นมาได้ทุกครั้ง บทเรียนที่ประเทศไทยเรียนรู้จากเศรษฐกิจปี 2540 เป็นที่เรื่องที่ร้ายแรง อย่างไรก็ตาม วิกฤติเศรษฐกิจเป็นสิ่งที่เลวร้ายที่สุดตั้งแต่ปี 2540

วิกฤติการณ์วันนี้พอที่ทำให้เราเปรียบเทียบกับสถานการณ์การเงินในปี 2540 หรือที่เรียกว่า วิกฤติต้มยำกุ้ง

เหตุผลที่ทำให้สภาพเศรษฐกิจปัจจุบันสิ้นหวังไม่ได้มีสาเหตุมาจากระบบการเงินของประเทศไทยในสถานะย่ำแย่เหมือนปี 2540 แต่เป็นเพราะระบบการเงินไทยแข็งแรงเกินไปและไม่ได้สนับสนุนพอให้พยุงภาคธุรกิจเนื่องจากความหวาดระแวงว่า สถานภาพทางการเงินของภาคธุรกิจอาจได้รับผลกระทบ ถ้าเศรษฐกิจแย่ลง

ความหวาดกลัวนี้ประกอบกับการใช้วิถีความคิดของพวกคนรวยสร้างวงจรที่บั่นทอนประเทศของเรา สถาบันธนาคารในประเทศของเราก็มีส่วนทำให้คนรวยร่ำรวยขึ้น ขณะที่กำลังปล่อยให้คนจนจนมากขึ้น

เป็นที่รู้กันดีว่า คนรวย รวยขึ้น ถ้ารัฐบาลที่ไม่ได้เป็นรัฐบาลประชาธิปไตยอยู่ในอำนาจ เราสามารถสังเกตได้ชัดจากกระแสโลก เมื่อรัฐบาลประชาธิปไตยอยู่ในอำนาจ คนที่มีโอกาสน้อยจะเป็นกลุ่มได้ประโยชน์มากที่สุด

ประเทศไทยในปัจจุบันนี้ สิ่งที่ประจักษ์ดี คือ สถาบันธนาคารสนับสนุนแต่ธุรกิจยักษ์ที่มีแต่จะโตขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่คนทั่วไป ยังคงต้องตะเกียกตะกาย เวลาที่จะขอการสนับสนุนให้ได้เงินทุนหมุนเวียนจากสถาบันการเงิน

นอกเหนือจากประเด็นนี้ คือ ความจริงที่ว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่ได้ทำตัวเป็นองค์กรอิสระอย่างที่ควรจะเป็น แทนที่จะขอให้ธนาคารต่างๆช่วยสภาพคล่องให้ธุรกิจคนทั่วไป เหมือนว่าธนาคารแห่งประเทศไทย กำหนดแนวทางให้ธนาคารต่างๆทางเดียวกันให้ช่วยคนรวยและธุรกิจยักษ์ใหญ่เท่านั้น

นอกจากนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยกำลังดำเนินนโยบายที่ไม่เหมาะสมกับประเทศของเรา การใช้นโยบายการเงินใต้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ(Inflation Targeting) เป็นนโยบายที่เหมาะกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ไม่ใช่ประเทศกำลังพัฒนาอย่างประเทศไทย ธนาคารแห่งประเทศไทยควรใช้นโยบายการดำเนินนโยบายภายใต้กรอบเป้าหมายการแลกเปลี่ยนเงินตรา(Exchange Rate Targeting)
การใช้แต่นโยบายทางการเงินเพียงอย่างเดียว ไม่สนใจนโยบายการคลังมากนักนำไปสู่สถานการณ์ ซึ่งทำให้เงินบาทแข็งค่ากว่าสกุลเงินอื่นในภูมิภาคนี้ ส่งผลต่อภาคอุตสาหกรรมที่แข็งแกร่งของประเทศ 2 ภาค คือ ภาคส่งออกและท่องเที่ยว

ที่เราเห็นได้วันนี้ คือ ภาคอุตสาหกรรมทั้งสองที่เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศเราเริ่มประสบปัญหาและผลลัพธ์ที่กู่ไม่กลับ ถ้าสาเหตุที่แท้จริงไม่ได้รับการแก้ไข

สำหรับภาคส่งออกในตลาด 5 เดือนที่ผ่านมา หดตัวและตามที่มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยได้คาดการณ์ว่า ส่งออกไทยในปี 2563 จะหดตัว 0.9-2.4% จากตัวเลขส่งออกปี 2562

นอกจากนี้ ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของสภาวะการไหลออกของเงินทุน ผมขอเน้นอีกครั้งว่า ภาวะเช่นนี้เป็นประโยชน์ต่อกลุ่มคนรวย

สิ่งที่รัฐบาลและหน่วยงานต่างๆกำลังทำอยู่ในขณะนี้ ดูเหมือนว่า พวกเขายังเดินสายพานประกอบความคิดอยู่ ขณะที่ความเป็นจริงที่ถูกต้องคือ วิถีความคิดแบบองค์รวม (Holistic Approach) แต่รัฐบาลชุดนี้และองค์กรอิสระกำลังทำให้ประเทศไทย”ตกขบวน” รถไฟ”

ในปัจจุบัน วิธีการคิดของประเทศอื่นในโลกเป็นการหันหน้าเข้าหากัน หรือการเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกัน ขณะที่ประเทศของเรายังคงคิดแบบฉายเดี่ยว ประเทศไทยในฐานะประเทศหนึ่งในโลกควรมีความคิดแบบ”หันหน้าเข้าหากัน”เพื่อช่วยเหลือประชาชนทั่วไปในประเทศ

โลกของเราวันนี้แตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากที่รัฐบาลชุดนี้คิดว่า เป็นเรื่องสำคัญที่เราทุกคนสามารถปรับตัวให้เข้ากับกระแสโลกที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ประเทศไทยวันนี้ต้องการผู้นำที่มีความคิดและทำตัวให้เหมาะสมกับภูมิทัศน์ของโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ประเทศไทยไม่สามารถบรรลุเป้าหมายภายใต้การอยู่ในอำนาจของรัฐบาลชุดปัจจุบัน

ปัญหาของเรา คือ ทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดนี้เป็นพวกที่สนใจแต่เฉพาะมุมมองด้านการตลาดมากกว่าการมองว่า นโยบายต่างๆที่ออกมานำไปใช้ได้จริงหรือไม่

ถ้ามองไปที่นโยบาย ชิม ช้อป ใช้ ออกมาโดยรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา คุณจะเห็นได้ว่า นโยบายนี้เป็นนโยบายทางการตลาดอย่างสิ้นเชิง การใช้เงิน 300,000 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนนโยบายหรือมาตรการนี้ เป็นเงื่อนไขที่จะนำประเทศไปสู่การล้มละลาย

สิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยผลักดันเงินเข้าสู่กระเป๋าของผู้คน คือ แผนกระตุ้นเศรษฐกิจที่ช่วยกระตุ้นให้ผู้คนสามารถออกมาจับจ่ายใช้สอยและเกิด Trickle down effect หรือเงินไปถึงประชาชนรากหญ้า เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเติบโต

สิ่งที่ธนาคารในประเทศไทยกำลังทำอยู่ คือ ยื่นร่มให้คนในสภาวะฝนตกหนัก เมื่อสิ่งที่ต้องทำ คือ หาร่มเป็นจำนวนหลักพันให้ผู้คน ในขณะเดียวกัน การยื่นร่มจำนวนเป็นพันคันในสภาวะวันฟ้าใสแดดออกเป็นสิ่งที่ไม่มีความจำเป็นเลย

ในสภาวะปัจจุบันนี้ คนที่มีโอกาสน้อยของประเทศเรากำลังเผชิญสถานการณ์ที่ตัวเองมีกำลังซื้อหดตัวอย่างมาก นี่คือเหตุผลที่ทำให้การบริโภคต่ำลง อัตราการบริโภคเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ กลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจนี้เป็นตัวพยุงประเทศในเวลาที่การส่งออกชะงักงัน เนื่องจากปัจจัยภายนอก

ความเคราะห์ร้ายที่ตามมาซ้ำสอง คือ การส่งออกของไทยที่ชะงักงัน ค่าเงินบาทที่แข็งตัวขึ้นและการหดตัวของการบริโภค

ปิดท้ายจุดนี้ คือ การลงทุนภาคเอกชนที่ชะงักงัน ซึ่งเป็นสัญญาณว่า นักลงทุนขาดความเชื่อมั่นในทิศทางเศรษฐกิจในอนาคตของประเทศเรา

การขาดความเชื่อมั่นและความมั่นใจไม่เคยเป็นสัญญาณบ่งบอกที่ดีต่อเศรษฐกิจในรูปแบบใดๆ

ระบบทุนนิยมมี 3 องค์ประกอบสำคัญ คือ ความเชื่อมั่น(Trust) ความมั่นใจ(Confident)และทฤษฎีการเก็งกำไร (Arbitrage)

ในสภาวะที่เกิดความเชื่อมั่น ความไว้เนื้อเชื่อใจ ย่อมทำให้เกิดการไหลเข้าของการลงทุนทำให้สภาวะเศรษฐกิจเป็นไปด้วยดี แต่ถ้าองค์ประกอบ 2 ข้อนี้ขาดไป จะเกิดสภาวะ”การเก็งกำไร”มากขึ้นและเป็นเครื่องชี้วัดที่ชัดเจนว่า สภาวะประเทศจะเป็นไปอย่างไรในอนาคต

ในสภาวะที่ดูเหมือนว่า การขาดความเชื่อมั่นในอนาคตของประเทศไทยและกลุ่มธุรกิจยักษ์ใหญ่ที่มีเพียงหยิบมือเดียวเป็นกลุ่มที่หยิบฉวยผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นเรื่องที่น่าเศร้าใจ เพราะความมั่งคั่งของประเทศไม่ควรอยู่ในมือ.ของกลุ่มธุรกิจหรือกลุ่มทุนที่มีเพียงหยิบมือเดียว

คนกลุ่มนี้โชคดีอย่างยิ่งที่ประเทศเรามีรัฐบาลแบบนี้อยู่ในอำนาจ แต่ในความสุขของคนพวกนี้ที่มีเพียงหยิบมือเดียว คือ ความทุกข์ทรมานของคนไทยมากกว่า 65 ล้านคน

สิ่งที่ควรจะเป็นและเกิดขึ้น คือ ทุกภาคทุกส่วนของสังคมไทย ไม่ว่าจะมาจากภาวะเศรษฐกิจใด มีความสุขกับนโยบายเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพในการบริหารเศรษฐกิจ

ถ้ารัฐบาลสามารถทำให้เกิดภาวะเช่นนี้ได้จะทำให้ประเทศเกิดภาวะที่เติบโตและรุ่งเรืองได้


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"