5 ก.พ.63- นพ.อัษฎางค์ รวยอาจิณ รองอธิบดีและโฆษกกรมควบคุมโรค กล่าวถึงกรณีที่มีกระแสข่าวในโลกออนไลน์ถึงการมีเพศสัมพันธ์กับผู้มีเชื้อเอชไอวีโดยไม่ป้องกัน นั้น กรมควบคุมโรค ขอให้ข้อมูลว่าการมีเพศสัมพันธ์กับผู้มีเชื้อเอชไอวี (ที่กินยาต้านไวรัสจนสามารถกดเชื้อได้แล้วและตรวจไม่พบเชื้อ) โดยไม่ป้องกันแต่ไม่มีการถ่ายทอดเชื้อไปยังคู่นอน หรือเรียกว่า U=U (Undetectable=Untransmittable) หมายถึง ไม่เจอ=ไม่ถ่ายทอดเชื้อ ซึ่งเป็นการวิจัยและศึกษาในคู่รักที่มีผลเลือดต่างกว่า 1,000 คู่จากหลายประเทศทั่วโลก แล้วผลสรุปออกมาว่าไม่มีใครติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งคนที่มีเชื้อเอชไอวีต้องตระหนักและมีความรับผิดชอบกินยาต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงต้องตรวจวัดปริมาณไวรัสในเลือดเป็นประจำด้วย อย่างไรก็ตาม การป้องกันที่ดียิ่งขึ้นและมีประสิทธิภาพดีที่สุด ควรใช้ถุงยางอนามัยด้วยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ เพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ รวมทั้งไวรัสตับอักเสบบีและซี ด้วย
โดยข้อมูลจากกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค พบว่าสถานการณ์โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ประเทศไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ ปี 2558 และในปี 2562 อัตราป่วยด้วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 5 โรคสำคัญ ได้แก่ หนองใน ซิฟิลิส หนองในเทียม แผลริมอ่อน และกามโรคของต่อมและท่อน้ำเหลือง สูงขึ้น ซึ่งอัตราป่วยในทุกกลุ่มอายุเท่ากับ 33.9 ต่อประชากรแสนคน โรคที่มีอัตราป่วยสูงที่สุดได้แก่ หนองใน รองลงมาได้แก่ ซิฟิลิส และกลุ่มเยาวชนอายุ 15-24 ปี มีอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 5 โรคสำคัญสูงสุด ถึง 124.6 ต่อประชากรแสนคน
นพ.อัษฎางค์ กล่าวต่อไปว่า การมีเพศสัมพันธ์ถือเป็นเรื่องใกล้ตัว และต้องรู้จักป้องกันอย่างถูกวิธี ทั้งการป้องกันเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ รวมถึงไวรัสตับอักเสบบีและซี เป็นต้น ด้วยการใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ ถือเป็นการรับผิดชอบต่อคู่รักและตัวเราเองให้ปลอดภัยจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยจากข้อมูลพบว่าการใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกวิธีมีประสิทธิภาพป้องกันได้ถึง 98% อีกทั้งเทคโนโลยีมีการพัฒนาถุงยางอนามัยขึ้นมาหลายขนาด พร้อมทั้งเพิ่มฟังก์ชันต่างๆ เช่น กลิ่น สี เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของคู่รักให้เลือกใช้งานได้อย่างสะดวก
สำหรับการใช้ถุงยางอนามัย ควรใช้ให้ถูกต้องและปลอดภัยด้วย 4 ขั้นตอนง่ายๆ คือ “เลือก เก็บ ใช้ ทิ้ง” 1.เลือก ให้ถูกไซส์ หากเลือกผิดอาจจะทำให้ถุงยางอนามัยฉีกขาดหรือหลุดได้ง่าย ตรวจดูวันผลิตหรือวันหมดอายุก่อนทุกครั้ง และมีเครื่องหมายมาตรฐาน อย. 2.เก็บ ให้ถูกวิธี ไม่ควรเก็บถุงยางอนามัยในที่มีความชื้นสูง อากาศร้อน เพราะอาจเสื่อมคุณภาพ ไม่ควรไว้ในกระเป๋าสตางค์หรือกระเป๋ากางเกงด้านหลัง เพราะอาจฉีกขาดได้ง่าย ควรเก็บในจุดที่สามารถหยิบใช้งานได้ง่ายและสะดวก 3.ใช้ ให้ถูกวิธี เมื่อมีเพศสัมพันธ์ทุกครั้ง ทุกคน ทุกช่องทาง โดยระมัดระวังการฉีกซองอย่าให้เล็บสะกิดถุงยางอนามัย เพราะอาจฉีกขาด จากนั้นให้บีบปลายถุงไล่ลมก่อนใส่เสมอ และสวมถุงยางอนามัยขณะที่อวัยวะเพศแข็งตัว บีบปลายถุงขณะสวมแล้วรูดให้สุดโคน และ 4.ทิ้ง ให้ปลอดภัย ซึ่งสำคัญที่สุด เมื่อเสร็จกิจให้รีบถอดถุงยางอนามัยออก โดยใช้นิ้วสอดเข้าในขอบถุงหรือใช้กระดาษทิชชู่ห่อแล้วรูดออก จากนั้นทิ้งลงถังขยะให้มิดชิด ไม่ควรทิ้งลงชักโครกหรือในแม่น้ำ ลำคลอง เด็ดขาด
“การป้องกันเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ให้มีประสิทธิภาพที่สุด คือการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ นับเป็นวิธีที่ทำได้ง่ายและมีความรับผิดชอบต่อคู่รักและตัวเราเองได้ง่ายที่สุดและปลอดภัยจากโรคต่างๆ อีกด้วย สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร.1422” นายแพทย์อัษฎางค์ กล่าวทิ้งท้าย
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |