เก็บตกจากห้องเรียน


เพิ่มเพื่อน    

 

เมื่อไม่นานมานี้ผู้เขียนได้มีโอกาสได้เรียนวิชาปรับพฤติกรรมและนำมาใช้กับลูกชายวัยพรีทีนหรือช่วงก่อนวัยรุ่น จึงนำมาแชร์ เผื่อจะเป็นแนวทางให้เห็นมุมมองใหม่ๆ ในการเลี้ยงลูกยุค 4.0 เรื่องของเรื่องคือ มรสุมการทำการบ้าน ซึ่งหลายๆ บ้านคงมีปัญหาคล้ายกันคือ (ลูก)ลืมเวลาทำการบ้าน ไม่ได้เอาการบ้านกลับมา เล่นเพลินจนเลยเวลา ถ้าทำก็มีอาการน้ำหูน้ำตาไหล มีสนามรบย่อมๆ ระหว่างพ่อหรือแม่และลูก (เจ้าของการบ้าน) มีเสียตะโกนดังคับบ้านของสมาชิกที่ถึงขีดสุด และอื่นๆ อีกมากมายขึ้นอยู่กับสไตล์ของแต่ละบ้าน ที่บ้านผู้เขียนเน้นเสียงและจะตามมาด้วยเหงื่อและน้ำตาทุกครั้งที่มีการทำการบ้าน ซึ่งก็เกือบจะทุกวัน หนังม้วนเดินก็จะฉายซ้ำแล้วซ้ำเล่า ประหนึ่งเป็นผังรายการที่ได้วางเอาไว้ทุกเย็นก่อนและหลังอาหาร และผู้แสดงนำแต่ละคนก็เหนื่อยมากที่ต้องเล่นบทเดิมๆ แต่ต่างวิชาทุกๆ เย็น พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถเช็ดฟีดแบคจากลูกๆ ได้ เพราะเด็กสมัยนี้ก็จะเล่าแบบตรงๆ ว่ารู้สึกอย่างไรกับเวลาทำการบ้านแบบนี้

 

ความรู้ที่ได้จากการเรียนวิชาการปรับพฤติกรรมคือ เทคนิคต่างๆ ในการจูงใจให้ผู้อื่นทำพฤติกรรมที่ต้องการ หรือลดละเลิกพฤติกรรมที่ไม่ต้องการ เทคนิคหนึ่งที่ผู้เขียนลองใช้คือ เทคนิคการใช้สัญญาเงื่อนไข (contingency contract) หรือสัญญาพฤติกรรม ฟังดูเป็นวิชาการและมีความเป็นวิชาการจริงตอนเรียนเพราะ สัญญาพฤติกรรมมีที่มาที่ไปจากการใช้ความรู้และทักษะหลายแขนง ไม่ว่าจะเป็นจิตวิทยา พฤติกรรมมนุษย์ มนุษย์ศาสตร์ การสื่อสาร ธุรกิจ และอื่นๆ และเจ้าสัญญาพฤติกรรมเป็นยังไง ทำยังไงและได้ผลไหม

 

เริ่มจากวิธีทำสัญญาพฤติกรรม ในกรณีนี้คือ การปรับพฤติกรรมการทำการบ้านของลูกชาย ทำให้เวลาทำการบ้านเป็นเวลาที่อาจจะไม่ต้องถึงกับสงบสุข แต่ต้องไม่ใช่เวลาเลือดและน้ำตาทุกครั้ง โดยการนั่งคุยกันแบบแฟร์ๆ ว่าแต่ละฝ่ายต้องการอะไร ฝ่ายพ่อแม่และลูกต้องการอะไร และเมื่อตกลงกันได้แล้ว ก็คุยกันต่อว่ากติกาในการทำให้ได้ตามที่ตกลงมีอะไรบ้าง ลูกจะได้รับอะไรตอบแทนที่สามารถทำได้ตามข้อตกลง ควรมีการให้โบนัสด้วย เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในดีกรีที่เพิ่มขึ้น และต้องมีการลงโทษ เมื่อไม่สามารถทำได้ตามข้อตกลง เพราะทุกๆ การกระทำยอมมีผลกรรมที่ตามมา(สาธุ) ในการเขียนรายละเอียดสัญญาพฤติกรรม พ่อแม่ผู้ปกครอง ถ้าต้องการให้ประสบความสำเร็จ ควรที่จะเปิดใจให้กว้างและยอมรับความคิดเห็นของลูกๆ หรือเด็กๆ เพราะเมื่อเด็กๆ รู้สึกว่าความคิดของเค้าได้รับการยอมรับ เค้าก็จะเรียนรู้ที่จะยอมรับความคิดของผู้อื่น และห้ามลืมว่าสัญญาต้องมีวันเริ่มต้นและสิ้นสุดสัญญา หลังจากเขียนสัญญาเป็นลายหลักอักษรก็ต้องมีการเซ็นสัญญา เอาให้เหมือนสัญญาทางธุรกิจเลย อาจจะมีสักขีพยาน เพื่อความขลังด้วยก็ได้ จากนั้นทุกฝ่ายก็แยกย้ายกันไปทำตามที่ตกลงเอาไว้

 

ในช่วงแยกย้ายกันไปทำตามสัญญาพ่อแม่ผู้ปกครองต้องดูอย่างใกล้ชิดว่าเด็กๆ หรือลูกๆ ทำตามที่ตกลงหรือไม่ ถ้าทำตามที่ตกลงได้ก็ต้องให้สิ่งตอบแทนหรือโบนัสตามสัญญา แต่ถ้าทำไม่ได้ก็ต้องมีการลงโทษ สิ่งที่ทำให้สัญญาพฤติกรรมได้ผลดีทำให้เกิดพฤติกรรมที่ต้องการคือ พ่อแม่ผู้ปกครองให้ความเชื่อมั่นในตัวลูกๆ ว่าสามารถที่จะทำตามเงื่อนไขในสัญญา โดยไม่บ่นว่าหรือพูดเยอะในการเตือนให้ทำพฤติกรรมที่ต้องการ หรือกังวลแทนลูกๆ ว่าจะถูกลงโทษ และพูดเตือนเรื่องถูกลงโทษบ่อยเกิน จนกลายเป็นการข่มขู่ และถ้าลองทำตามสัญญาแล้วมีอะไรที่ไม่ลงตัว ทั้งสองฝ่ายพ่อแม่ผู้ปกครองและลูกๆ ก็สามารถปรับแก้ได้ตามความเหมาะสม และความต้องการหรือการยอมรับของทุกฝ่ายได้

การใช้สัญญาพฤติกรรมเป็นการเลื่อนตำแหน่งลูกๆ และเด็กๆ จากการเป็นผู้ถูกสั่งให้ทำตามกฎของพ่อแม่ผู้ปกครอง มาเป็นหุ้นส่วนในการวางแผนการทำงานร่วมกันกับพ่อแม่ผู้ปกครอง แน่นอนว่าพ่อแม่ผู้ปกครองยังต้องชี้แนะและบางเวลายังต้องชี้แนวทางที่เหมาะสม ไม่ใช่การวางมือจากการเลี้ยงดูลูก แต่เป็นการเลี้ยงดูแบบวางกรอบให้ลูกๆ ได้สามารถบริหารตนเองได้ในขอบเขตที่เหมาะสม

                                                                                 

 

เขียนโดย Mayochili อีเมล์ [email protected]


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"