ความเห็นที่ยังไม่ลงรอยกันระหว่างวิปรัฐบาลกับวิปฝ่ายค้าน เรื่องกรอบเวลาในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ-รมว.กลาโหม และ 5 รัฐมนตรี ถึงตอนนี้ก็ยังไม่มีใครมั่นใจได้ว่าหลังเสร็จสิ้นการหารือร่วมกัน 4 ฝ่าย คือ ชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร-วิปฝ่ายค้าน-วิปรัฐบาล และเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่จะหารือกันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ ที่รัฐสภา สุดท้ายแล้วจะได้ข้อสรุปในวันดังกล่าวเลยหรือไม่ หลังฝ่ายค้านออกตัวไว้ก่อนว่าขอเวลาซักฟอกบิ๊กตู่และพวกรวม 5 วัน 5 คืน ไม่นับวันลงมติ
โดยให้เหตุผลว่า ลำพังแค่ พลเอกประยุทธ์ คนเดียว ก็คาดว่าจะใช้เวลาอภิปราย หนึ่งวันครึ่ง ไม่นับรวมเวลาที่นายกฯ ชี้แจง แต่ท่าทีของรัฐบาลก็ไม่ยอมง่ายๆ เข้าทำนอง เขี้ยวเจอเขี้ยว เพราะรัฐบาลรู้ดีว่า หากเผื่อเวลาให้ฝ่ายค้านไว้มาก อาจทำให้ฝ่ายค้าน อภิปรายยืดเยื้อ เพราะไม่ต้องเร่ง ที่ตกลงกันไว้จะให้ 3 วันหรือ 4 วัน ถึงเวลา ฝ่ายค้านไม่ยอมสรุปปิดอภิปรายง่ายๆ ก็อาจกลายเป็นต้องอภิปรายกัน 5 วันขึ้นมาจริงๆ ก็ได้
คาดหมายว่ากว่าจะเคาะวันกันลงตัวเรื่องนี้ วิปรัฐบาลและวิปฝ่ายค้านคงต่อรองเจรจากันอย่างหนัก เพื่อให้ฝ่ายตัวเองได้เปรียบทางการเมืองมากที่สุด เรื่องดังกล่าวทำให้แม้ตอนนี้ศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจจะยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องกรอบเวลาการประชุมสภาฯ แต่ก็เห็นเค้าลางทางการเมืองได้ว่า ฝ่ายรัฐบาลโดยเฉพาะ พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะพรรคแกนนำรัฐบาล เริ่มขยับวางแท็กติกรุกและรับทางการเมือง ในศึกซักฟอกที่กำลังจะเกิดขึ้นแล้ว ซึ่งที่พอจับสัญญาณและเห็นการขยับเคลื่อนไหวบ้างแล้ว ก็คือแท็กติก
"ตัดเกม-ตั้งทีมกันชน-เสริมกองหนุน"
โดยการ "ตัดเกม" ก็อย่างเช่น พยายามจะให้มีการอภิปรายในช่วงใกล้ๆ กับการปิดประชุมสภาฯ 28 ก.พ. เพื่อไม่ให้เกิดการขยายวันการอภิปรายออกไปได้มากนัก จะได้บล็อกไม่ให้ฝ่ายค้านอภิปรายยืดเยื้อยาวนาน
สำหรับแท็กติกที่ 2 ที่ก็ใช้กันทุกยุคสมัย ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มไหน ขั้วใดเป็นรัฐบาล ก็ต้องทำแบบนี้ นั่นคือมี "ทีมองครักษ์” คอยทำหน้าที่กันชนให้กับนายกฯ เช่น คอยประท้วงฝ่ายค้านเวลาอภิปราย เพื่อทำลายสมาธิ-ตัดเกมของฝ่ายค้านให้เสียขบวน เช่น หากมีการอภิปรายย้อนหลังสมัยพลเอกประยุทธ์ ทำรัฐประหารในนาม คสช. คาดว่า ส.ส.พลังประชารัฐ คงหน้าด้านประท้วงว่า ฝ่ายค้านอภิปรายเรื่องเก่า ไม่เกี่ยวกับการเป็นนายกฯ ในสมัยปัจจุบัน เป็นต้น ส่วนแท็กติกที่ 3 คือ การให้มี "กองหนุน" คอยช่วยนายกฯ สู้กับฝ่ายค้านกลางสภาฯ เช่น หากมีการอภิปรายเรื่องรัฐบาลล้มเหลวในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ก็อาจได้เห็น สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯ ขอชี้แจงแทนนายกฯ แต่ฝ่ายค้านก็อาจไม่ยอม เป็นต้น
แท็กติกต่างๆ ข้างต้น ฝ่ายรัฐบาลที่เตรียมการไว้ก็ต้องระวังให้ดี เพราะหากไม่เวิร์ก-มีช่องโหว่ ก็อาจเจอเกมสวนกลับของฝ่ายค้าน จนทำเอาบิ๊กตู่และ 5 รมต.เสียขบวนกลางสภาฯ ก็ได้.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |