ผลวิจัยระบุว่า ปู่ย่าตายายที่ดูแลลูกหลานของตนเองจะทำให้เหงาน้อยลง เพราะการดูแลเด็กเล็กๆ จะยิ่งทำให้ผู้สูงอายุมีสังคมมากขึ้น
ข้อมูลได้ออกมาระบุว่า ปู่ย่าตายายที่ช่วยกันดูแลลูกหลานจะทำให้คนสูงอายุโดดเดี่ยวน้อยลง เพราะมันจะช่วยทำให้ได้มีปฏิสัมพันธ์กับลูกหลาน
ทั้งนี้ จากการสอบถามปู่ย่าตายายเกือบ 4,000 คนนั้น มีหนึ่งคำถามที่ระบุว่า พวกคุณสนิทกับคนอื่นมากแค่ไหน แต่คำตอบที่น่าสนใจมากคือ ผู้สูงวัยที่เลี้ยงหลาน มักจะรู้สึกเหงาน้อยลง เพราะมีเพื่อนวัยเด็กได้พูดคุย โดยนักวิจัยได้บอกไว้ว่า การที่เราได้นั่งมองดูลูกหลานจะทำให้เรารู้สึกมีคุณค่าในตัวเอง และยังทำให้ผู้สูงวัยรู้สึกว่าตัวเองนั้นอ่อนเยาว์ขึ้นอีกครั้ง
สำหรับผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัย ฮัมบวร์ก ประเทศเยอรมนี (Universitatsklinikum Hamburg-Eppendorf ) ใช้ข้อมูลจากการสำรวจของปู่ย่าตายาย 3,849 คน โดยผู้เข้าร่วมทั้งหมดนั้นได้รับการสำรวจข้อมูลกลับไปในช่วงปี 2014 ขณะที่พวกเขาอายุ 66 ปี พบว่า “มีปู่ย่าตายายจำนวนมาก หรือคิดเป็นอัตราส่วน 1 ใน 3 คน จากจำนวน 1,125 คนที่บอกว่าพวกเขาดูแลลูกหลานอย่างแข็งขัน และคนวัยสูงอายุจำนวนกว่าครึ่งใน 1,125 คนที่เลี้ยงดูบุตรหลานมักจะเป็นผู้หญิงคิดเป็นร้อยละ 80 เปอร์เซ็นต์ที่แต่งงานและอาศัยอยู่กับคู่สมรส ทั้งนี้ กลุ่มผู้สูงวัยที่เข้าร่วมการวิจัยนั้นถูกขอร้องให้ให้คะแนนเกี่ยวกับข้อความที่พวกเขานั้นเห็นด้วย 4 ข้อความ และไม่เห็นด้วย 4 ข้อความ ซึ่งคำตอบที่ได้มีทั้ง ฉันรู้สึกคิดถึงคนที่อยู่ด้วยแล้วทำให้รู้สึกสบายใจ, ฉันมักจะรู้สึกปฏิเสธ, ฉันรู้สึกเหมือนถูกทิ้ง และจากการวิเคราะห์คำตอบที่ได้ในผู้สูงอายุนั้น บ่งชี้ว่ามีผู้สูงวัยอีกจำนวนไม่น้อยที่มักจะรู้สึกเหงา และอยู่แบบโดดเดี่ยวในสังคมสูงขึ้น”
ข้อมูลที่น่าสนใจนั้นระบุไว้ว่า ปู่ย่าตายที่ดูแลลูกหลานของตนนั้น มักจะมีความเหงาเฉลี่ยอยู่ที่ 1.7 และมีคะแนนความโดดเดี่ยวทางสังคมเฉลี่ยอยู่ที่ 1.6 ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับปู่ย่าตายายที่ไม่ได้ดูแลลูกหลาน ก็จะมีความเหงาเฉลี่ยสูงกว่า 1.8 และมีความโดดเดี่ยวทางสังคมอยู่ที่ 1.6
ขณะที่ปู่ย่าตายายที่เลี้ยงลูกหลานได้ให้ข้อมูลว่า พวกเขาได้สื่อสารหรือมีการติดต่อพูดคุยกับบุคคลอื่นๆ อีก 6 คนโดยเฉลี่ย ซึ่งนั่นไม่เพียงช่วยลดช่องว่างระหว่างวัยลง แต่ผู้เชี่ยวชาญได้ระบุไว้ว่า การดูแลลูกหลานนั้นจะส่งผลกระทบเชิงบวก
ด้านศาสตราจารย์อีลีเนอร์ เคอร์กี กล่าวว่า “ทั้งนี้ การที่ปู่ย่าตายายให้การช่วยเหลือเกื้อกูลสมาชิกในครอบครัว เพื่อให้เกิดความสมดุลของสมาชิก ด้วยการช่วยเลี้ยงลูกหลาน นั่นจะยิ่งเพิ่มความน่านับถือให้กับผู้สูงอายุ และยังทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่เป็นได้ด้วยดี”
นอกจากนี้ การดูแลลูกหลาน ยังช่วยขยายสังคมของผู้สูงวัยให้เปิดกว้าง ทั้งในการสร้างความสัมพันธ์กับพ่อแม่ของเด็ก หรือปู่ย่าตายายที่เป็นเพื่อนบ้านอยู่ใกล้เคียงกัน ที่เกิดขึ้นนั้นอาจพอสรุปได้ว่า ผู้สูงวัยที่เลี้ยงหลานและหายเหงา ก็มีแนวโน้มว่าจะดูแลเด็กๆ ให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปกว่าเดิม
ทำไมการเลี้ยงหลานจึงดีต่อสุขภาพ?
จากการศึกษาพบว่า การดูแลลูกหลานสามารถลดความเสี่ยงของความเหงา อีกทั้งยังมีงานวิจัยอีกหลายฉบับที่ระบุไว้ว่ายังสามารถช่วยป้องกันภาวะซึมเศร้าได้
ทั้งนี้ ทฤษฎีของการยกระดับปรับปรุงบทบาทของคน ถูกนำมาใช้เพื่ออธิบายเกี่ยวกับเรื่องของสุขภาพ และผลกระทบทางจิตวิทยาด้านการดูแลผู้อื่น ซึ่งความน่าสนใจของทฤษฎีการยกระดับบทบาท แสดงให้เห็นว่าการที่คนเรามีหลายบทบาทย่อมมีประโยชน์มากกว่าโทษ เช่น ประโยชน์ในแง่ของสุขภาพนั่นคือการเห็นคุณค่าในตัวเอง
โดยเฉพาะการช่วยเหลือครอบครัว ในการสร้างความสมดุลระหว่างครอบครัว และการออกไปทำงานนอกบ้านของลูกหลาน โดยการช่วยเลี้ยงดูเจ้าตัวน้อย ซึ่งนั่นไม่เพียงทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกมั่นใจกับหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอันเกิดจากความไว้วางใจ แต่ยังทำให้ครอบครัวรักใคร่ ผูกพัน กลมเกลียวกันอีกด้วย อีกทั้งการเลี้ยงลูกหลานยังทำให้ผู้สูงอายุได้พบปะพูดคุยกันคนวัยเดียวกันที่ดูแลลูกหลาน หรือสื่อสารกับบุคคลอื่นที่เกี่ยวกับการดูแลเจ้าตัวเล็กอีกด้วย
และหากปู่ย่าตายมีภาระผูกพันที่ต้องดูแลบุตรหลานเป็นอย่างมาก อาจทำให้ยิ่งต้องโฟกัสอยู่กับการดูแลเด็กๆ ซึ่งไม่สามารถมีส่วนร่วมกับงานอื่นๆ กระทั่งไม่มีเวลาคิดกังวลเรื่องต่างๆ มากนัก จึงทำให้ใช้ชีวิตได้อย่างไม่น่าเบื่อ ในการทุ่มเทดูแลเจ้าตัวเล็ก.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |